fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐเลิกใช้ชุดตรวจ PCR เพราะแยกโควิด-ไข้หวัดใหญ่ไม่ได้ จริงหรือ?

ไวรัสโควิด 19 และไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นไวรัสต่างสายพันธุ์กัน จึงใช้ชุดตรวจ COVID-19 PCR ตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ไม่ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มยังเสี่ยงตายจากโควิด จริงหรือ?

ผู้เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มจำนวนไม่น้อยที่ติดเชื้อหลังฉีดเข็มที่ 2 ไม่ถึง 15 วัน และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว

ชัวร์ก่อนแชร์: เชื้อเดลต้าลงปอดทันที ตรวจ PCR จึงไม่เจอเชื้อ จริงหรือ?

ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าลักษณะการติดเชื้อของไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า ไม่แตกต่างจากไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์อื่นๆ และสามารถตรวจหาเชื้อด้วยวิธี PCR หรือ Swab ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: ตุรกียกเลิกการใช้วัคซีน Sinovac จริงหรือ?

1. ตุรกีระงับการใช้วัคซีน Sinovac เฉพาะล็อตที่ B18880035A เป็นการชั่วคราว เพราะปัญหาตัวเลขบนขวดและหีบห่อไม่ตรงกัน
2. ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในตุรกีพบว่าวัคซีน Sinovac มีประสิทธิผล 83.5%

ชัวร์ก่อนแชร์: 17 ชาติในยุโรปยกเลิกการใช้วัคซีน AstraZeneca จริงหรือ?

1. หลายชาติในยุโรปเคยออกคำสั่งระงับการใช้วัคซีน AstraZeneca เป็นการชั่วคราว หลังพบการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากการใช้วัคซีน
2. แต่เมื่อ WHO และ EMA ยืนยันว่าวัคซีนมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง หลายชาติในยุโรปจึงนำวัคซีน AstraZeneca กลับมาใช้อีกครั้ง

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนเจือปนอลูมิเนียม เป็นสาเหตุของอัลไซเมอร์ จริงหรือ?

1. วัคซีนหลายชนิดมีเกลืออลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ เพื่อช่วยชะลอการทำงานของสารออกฤทธิ์และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อวัคซีนได้ดียิ่งขึ้น

2. ผู้เชี่ยวชาญต่างยืนยันไม่พบหลักฐานว่าสารอลูมิเนียมก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Moderna มี Luciferin เจือจางกับสารละลาย 66.6 ml จริงหรือ?

1. Luciferin คือสารสร้างการเรืองแสงทางชีวภาพในหิ่งห้อย
2. FDA ยืนยันว่าไม่มี Luciferin อยู่ในวัคซีนโควิด 19 ของ Moderna
3. มีแค่การใช้เอนไซม์ Luciferase ในการวิจัยไวรัสโควิด 19 เท่านั้น

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนมี “สารฆ่าเชื้ออสุจิ” ทำให้เป็นหมัน จริงหรือ?

1. โพลีซอร์เบต 80 และ ออกโทซินอล 10 เป็นสารที่ใช้ในวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อเพิ่มความคงตัวในวัคซีนและขัดขวางการออกฤทธิ์ของไวรัสเชื้อตายในวัคซีน
2. ใช้ในปริมาณน้อยและไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนเป็นหมัน

ชัวร์ก่อนแชร์: ใบพลูช่วยป้องกันโควิด 19 ได้ จริงหรือ?

แม้สรรพคุณของใบพลูจะช่วยบรรเทาปวดและช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน แต่ WHO ยืนยันว่าการบริโภคใบพลูต้มสุกไม่สามารถรักษาการป่วยจากโควิด 19 ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Pfizer ทำให้เต้านมผู้หญิงใหญ่ขึ้น จริงหรือ?

1. เต้านมของผู้หญิงจะขยายตัวตามการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายหรือจากการใช้ยาบางชนิด
2. วัคซีนโควิด 19 ไม่มีฮอร์โมนกระตุ้นการขยายเต้านมเป็นส่วนประกอบของวัคซีนแต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: สุราสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโควิด 19 จริงหรือ?

1. WHO ยืนยันว่าสุราไม่ช่วยป้องกันโควิด 19 และยังทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
2. การดื่มสุราไม่ว่าจะในปริมาณเท่าไหร่ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

1 15 16 17 18 19 23
...