
ชัวร์ก่อนแชร์: หน้ากากอนามัยฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide ที่ก่อมะเร็ง จริงหรือ?
26 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: Ethylene Oxide ใช้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่ไม่ได้ใช้ฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยทุกชนิดอย่างที่กล่าวอ้าง ไม่พบหลักฐานว่าการใช้สิ่งของที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสเปน โดยอ้างว่าหน้ากากอนามัยถูกฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide ที่เป็นสารก่อมะเร็งและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Ethylene Oxide เป็นก๊าซไม่มีสี ใช้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วโลก การตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย Fullfact ยืนยันว่า แม้การสัมผัส Ethylene Oxide ในปริมาณมากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เป็นมะเร็งได้ แต่ไม่พบหลักฐานว่าการใช้สิ่งของที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศสเปนยืนยันผ่านเว็บไซต์ Maldita ว่า ไม่ใช่หน้ากากอนามัยทุกชนิดจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide อย่างที่กล่าวอ้าง และย้ำว่าหน้ากากอนามัยที่จำหน่ายในประเทศได้รับการตรวจสอบมาตรฐานแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่ เช่นเดียวกับสำนักงานกำกับดูแลด้านการแพทย์และสาธารณสุขของอังกฤษ (MHRA) ที่อธิบายว่ากระบวนการฆ่าเชื้อด้วย […]