fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: ผู้สวมหน้ากากต้องสูดดมของเสียจากปอด จริงหรือ?

27 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: หน้ากากอนามัยกรองได้แต่อนุภาคของเชื้อโรค ไม่สามารถกรองมวลที่มีขนาดเล็กเช่นแก๊สได้ ดังนั้นหน้ากากจึงไม่ทำให้ผู้สวมต้องส่งสูดดมคาร์บอนไดออกไซด์ของตนเอง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสเปน โดยอ้างว่าผู้ที่สวมหน้ากากอนามัยต้องสูดดมของเสียที่ออกจากปอดกลับเข้าสู่ร่างกาย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: มาเรีย เอลิซ่า คัลเล ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Complutense University of Madrid อธิบายว่าการสวมหน้ากากอนามัยไม่ทำให้เราสูดดมเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนสู่ร่างกาย เนื่องจากหน้ากากถูกออกแบบมาเพื่อกรองอนุภาคของเชื้อโรค แต่ไม่สามารถกรองมวลที่มีขนาดเล็กเช่นแก๊สได้ ส่วนที่เป็นทิชชูของหน้ากากจะปล่อยให้แก๊สผ่านเข้าออกได้ ซึ่งออกซิเจนที่มนุษย์หายใจเข้าและคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์เราหายใจออกล้วนเป็นแก๊ส หากหน้ากากกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ในหน้ากาก ศัลยแพทย์ที่ต้องสวมหน้ากากวันละหลายชั่วโมงคงจะต้องเสียชีวิตแน่นอน ส่วนข้ออ้างที่ว่าการสวมหน้ากากเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา, แบคทีเรีย, ปรสิต และไวรัส ที่ทำให้ป่วยเป็นปอดอักเสบก็ไม่เป็นความจริง มิเกล บาร์รูโก แฟร์แรโร ผู้อำนวยการศูนย์โรคปอด โรงพยาบาล Clínico de Salamanca ยืนยันว่าการสวมหน้ากากอย่างถูกวิธีไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรค เพื่อเลี่ยงการติดเชื้อทางอ้อม ผู้สวมหน้ากากควรเลี่ยงการเอามือไปสัมผัสที่ตัวกรองของหน้ากาก, ไม่ควรสวมหน้ากากนานเกิน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: หน้ากากอนามัยฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide ที่ก่อมะเร็ง จริงหรือ?

26 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: Ethylene Oxide ใช้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่ไม่ได้ใช้ฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยทุกชนิดอย่างที่กล่าวอ้าง ไม่พบหลักฐานว่าการใช้สิ่งของที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสเปน โดยอ้างว่าหน้ากากอนามัยถูกฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide ที่เป็นสารก่อมะเร็งและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Ethylene Oxide เป็นก๊าซไม่มีสี ใช้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วโลก การตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย Fullfact ยืนยันว่า แม้การสัมผัส Ethylene Oxide ในปริมาณมากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เป็นมะเร็งได้ แต่ไม่พบหลักฐานว่าการใช้สิ่งของที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศสเปนยืนยันผ่านเว็บไซต์ Maldita ว่า ไม่ใช่หน้ากากอนามัยทุกชนิดจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide อย่างที่กล่าวอ้าง และย้ำว่าหน้ากากอนามัยที่จำหน่ายในประเทศได้รับการตรวจสอบมาตรฐานแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่ เช่นเดียวกับสำนักงานกำกับดูแลด้านการแพทย์และสาธารณสุขของอังกฤษ (MHRA) ที่อธิบายว่ากระบวนการฆ่าเชื้อด้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การบังคับฉีดวัคซีนคือการสร้างกำไรแก่ผู้ผลิตวัคซีน จริงหรือ?

24 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัตถุประสงค์ของการฉีดวัคซีนคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน แต่ละประเทศมีนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนแตกต่างกันไป และไม่ใช่ทุกประเทศที่บังคับให้ประชาชนทุกคนต้องฉีดวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านอินโฟกราฟฟิคในประเทศยูเครน โดยเนื้อหาอ้างว่าเหตุผลที่แต่ละประเทศบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีน เพื่อสร้างกำไรให้กับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนและผู้ที่เกี่ยวข้อง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้ว่าการผลิตวัคซีนจะสร้างรายได้มหาศาล ทั้งจากผู้เข้ารับการวัคซีนหรือผ่านทางเงินภาษีที่จ่ายโดยรัฐบาล แต่วัตถุประสงค์หลักของการรณรงค์ฉีดวัคซีน คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน และไม่ใช่ทุกประเทศที่มีนโยบายบังคับให้ประชาชนต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนทุกคน ในแต่ละประเทศจะมีนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนแตกต่างกันไป รายงานของสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) ระบุว่า ทุกรัฐในสหรัฐฯ และบางรัฐในประเทศแคนาดามีข้อกำหนดให้เด็กทุกคนต้องเข้ารับวัคซีนก่อนเข้าเรียน ในหลายรัฐมีการอนุโลมให้สามารถปฎิเสธวัคซีนด้วยเหตุผลทางการแพทย์หรือเหตุผลทางศาสนาและความเชื่ออื่นๆ มีเพียงรัฐมิสซิสซิปปีและเวสต์ เวอร์จิเนียเท่านั้น ที่การปฎิเสธวัคซีนต้องเป็นไปตามเหตุผลทางการแพทย์เท่านั้น แม้เด็กอเมริกันส่วนใหญ่จะได้รับวัคซีน แต่มีเยาวชนสหรัฐฯ ถึง 10% ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลต่างๆ ประเทศออสเตรเลียไม่มีนโยบายบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีน แต่มีนโยบายช่วยเหลือการเงินแก่ประชาชนที่ฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศ โดยผู้ปกครองจะได้รับเงินช่วยเหลือโดยไม่หักภาษีจำนวน 129 ดอลลาร์ออสเตรเลีย เมื่อลูกๆ ของพวกเขาเข้ารับวัคซีนในช่วงวัย 18 ถึง 24 เดือน และจะได้รับเงินช่วยเหลืออีกครั้งเมื่อเด็กเข้ารับวัคซีนอีกครั้งในช่วงวัย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้รับวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

23 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นระบุให้ผู้รับวัคซีนโควิด 19 ควรเว้นจากบริจาคโลหิตเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบอาการข้างเคียงและยืนยันความพร้อมก่อนการบริจาคโลหิต ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าประเทศญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ฮิโตชิ ฮัตตะ โฆษกสถานทูตญี่ปุ่นประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อธิบายต่อ Factcheck ว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ปฎิเสธการรับบริจาคโลดหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 แต่ขอให้ระงับการบริจาคเลือดในระหว่างที่รัฐบาลกำลังสรุปแนวทางการบริจาคโลหิตสำหรับผู้รับวัคซีนโควิด 19 ข้อเสมอแนะจากกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นระบุว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ไม่ควรบริจาคโลหิตเป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยฮิโตชิ ฮัตตะย้ำว่ามาตรการดังกล่าวไม่ใช่เพราะสงสัยความปลอดภัยของวัคซีน แต่ต้องการให้ผู้รับวัคซีนตรวจสอบอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเช่นอาการปวดหัวหรือเป็นไข้ เพื่อยืนยันความพร้อมก่อนการบริจาคโลหิต ดร.จูลี แคทซ์ คาร์ป ผู้อำนวยการแผนกเวชศาสตร์บริการโลหิต โรงพยาบาล Thomas Jefferson […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผู้ว่าฯบราซิลเลี่ยงฉีดวัคซีน Sinovac เพื่อรอ Pfizer จริงหรือ?

22 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Aos Fatos (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: สาเหตุที่ผู้ว่าการรัฐเซา เปาโลไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ก่อนที่วัคซีน Pfizer จะนำเข้าในประเทศ เนื่องจากเพิ่งเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และต้องรอเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนจะฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ มีภาพถ่ายยืนยันว่าผู้ว่าการรัฐเซา เปาโลเข้ารับการฉีดวัคซีน Sinovac มาแล้วจริงๆ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook ในประเทศบราซิล โดยอ้างว่า ชูเอา โดเรีย ผู้ว่าการรัฐเซา เปาโล ไปรอต่อคิวเพื่อฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer ทั้งๆ ที่เคยบอกว่าจะไปฉีดวัคซีนของ Sinovac จนมีผู้นำข้อความดังกล่าวไปแชร์กว่าพันครั้ง ก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอมในเวลาต่อมา FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ประเทศบราซิลอนุมัติวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐมีวัคซีนโควิดเหลือใช้ จนต้องฉีดให้สัตว์เลี้ยง จริงหรือ?

22 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำภาพกิจกรรมฉีดวัคซีนของคลินิกสำหรับสัตว์เลี้ยงมาบิดเบือนว่าเป็นการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้สุนัขและแมว ปัจจุบันกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ยังไม่อนุมัติการใช้วัคซีนโควิด 19 กับสัตว์ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลภาพและข้อความเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน โดยอ้างว่าสหรัฐอเมริกามีวัคซีนโควิด 19 เหลือใช้ จนต้องประกาศรับฉีดวัคซีนให้กับสุนัขและแมว ทั้งๆ ที่หลายประเทศทั่วโลกยังเผชิญการขาดแคลนวัคซีน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck Center ได้สืบค้นที่มาของภาพที่กล่าวอ้าง พบว่าภาพต้นฉบับนำมาจากเว็บไซต์ของ The Pet Stop Clinic ผู้ให้บริการด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยง, รับฝากดูแล, ตรวจโรค และฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยง ซึ่งภาพที่นำมากล่าวอ้างเป็นภาพที่ The Pet Stop Clinic ใช้โปรโมทกิจกรรมในรัฐฟลอริดาและจอร์เจีย ซึ่งเนื้อหาในภาพไม่มีการกล่าวถึงการฉีดวัคซีนโควิด 19 แก่สัตว์เลี้ยงแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ระบุเป็นอักษรจีนว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สัตว์เลี้ยงป่วยโควิด 19 เหมือนคน และแพร่สู่คนเลี้ยงได้ จริงหรือ?

21 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน บทสรุป: OIE ระบุว่าสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อโควิด 19 จะแสดงอาการป่วยคล้ายมนุษย์แต่อาการจะไม่รุนแรง ปัจจุบันยังไม่พบการแพร่เชื้อโควิด 19 จากสัตว์เลี้ยงสู่คน แต่มนุษย์สามารถแพร่เชื้อโควิด 19 สู่สัตว์เลี้ยงได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน โดยอ้างว่า โควิด 19 สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่สัตว์และสัตว์สู่คน อย่าปล่อยให้สัตว์เลี้ยงนำเชื้อกลับมาบ้าน พร้อมชี้แจงว่าอาการของสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อโควิด 19 ไม่แตกต่างจากที่เกิดกับมนุษย์ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อมูลล่าสุดขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ยืนยันรายชื่อสัตว์ 10 ชนิดที่มีรายงานว่าติดเชื้อโควิด 19 ประกอบไปด้วย แมว, สุนัข, เสือภูเขา, มิงค์, เฟอร์เรทท์, เสือดาวหิมะ, เสือโคร่ง, สิงโต, กอลิลา, และนาก โดยงานวิจัยพบว่าสัตว์ตระกูลสัตว์ปีกและโคกระบือไม่มีแนวโน้มติดเชื้อโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: คริสเตียน อีริคเซน หัวใจวายกลางสนาม เพราะวัคซีน Pfizer จริงหรือ?

21 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ผอ. สโมสร Inter Milan ต้นสังกัดของ คริสเตียน อีริคเซน ยืนยันว่านักฟุตบอลคนดังยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด 19 สาเหตุอาการหัวใจอักเสบในกลุ่มคนอายุน้อยที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ไปทั่วโลก เมื่อ ลูบอส โมเทิล แพทย์และบล็อกเกอร์ชาวเชค กล่าวอ้างผ่าน Twitter ส่วนตัวว่า สาเหตุที่ทำให้ คริสเตียน อีริคเซน นักฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์กวัย 29 ปี มีอาการหัวใจวายและล้มหมดสติระหว่างการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 เป็นเพราะอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer ที่ฉีดก่อนเดินทางมาร่วมการแข่งขันเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยอ้างว่าเป็นข้อมูลที่ยืนยันโดยหัวหน้าทีมแพทย์และแพทย์โรคหัวใจประจำทีม Inter Milan สโมสรต้นสังกัดของ คริสเตียน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ทีมชาติเยอรมันไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เพราะเป็นอันตราย จริงหรือ?

20 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Dogruluk Payi (ตุรกี)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ดร.ทิม เมเยอร์ แพทย์ทีมชาติเยอรมนีย้ำว่านักฟุตบอลในทีมบางคนได้รับวัคซีนโควิด 19 แล้ว 1 เข็ม แต่จะไม่มีใครฉีดวัคซีนระหว่างทัวร์นาเมนต์เพื่อเลี่ยงอาการข้างเคียง ดร.ทิม เมเยอร์หวังว่านักฟุตบอลจะไดฉีดวัคซีนโควิด 19 มากขึ้นในอนาคต ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านทาง Twitter ในประเทศตุรกี โดยอ้างว่าแพทย์ประจำทีมฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ไม่ยอมให้นักกีฬาเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ก่อนร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เนื่องจากคิดว่าวัคซีนโควิด 19 เป็นอันตรายต่อนักกีฬา ซึ่งเป็นข้อความที่มีการรีทวิตกว่า 200 ครั้งและมียอดไลท์ 350 ครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Dogruluk Payi พบว่า ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง ดร.ทิม เมเยอร์ แพทย์ประจำทีมชาติเยอรมนีกล่าวถึงการฉีดวัคซีนของนักกีฬาทีมชาติระหว่างการแถลงข่าว โดยยืนยันมีนักฟุตบอลบางคนที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มแรกไปแล้ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac มีประสิทธิผลแค่ 3% จริงหรือ?

20 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Estadão Verifica (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ประสิทธิผล 3% วัดจากการฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรก เมื่อฉีดครบ 2 เข็มประสิทธิผลจะเพิ่มเป็น 56.6% ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ผ่านทาง WhatsApp ในประเทศบราซิล โดยผู้โพสต์อ้างผลวิจัยว่า วัคซีนโควิด 19 มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคในผู้สูงอายุเพียงแค่ 3% และจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 โดสแล้ว ควรรับวัคซีนโดสที่ 3 เพิ่มเติ่ม โดยเฉพาะวัคซีนที่มาจากบริษัทอื่นๆ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ที่มาของข้ออ้างที่ระบุว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac มีประสิทธิผลเพียง 3% นำมาจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัย Universidad de Chile แต่ตัวเลขดังกล่าวเป็นการวัดประสิทธิผลจากการฉีดวัคซีนโดสแรกเท่านั้น ส่วนประสิทธิผลหลังจากฉีดวัคซีนครบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac ฉีดแล้วภูมิไม่ขึ้น จริงหรือ?

19 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Estadão Verifica (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: การตรวจหาแอนติบอดี้ไม่อาจวัดประสิทธิผลของวัคซีน เพราะปัจจุบันยังไม่รู้ว่าค่าแอนติบอดี้เท่าใดจึงจะป้องกันโควิด 19 ได้ ถึงแอนติบอดี้หลังฉีดวัคซีนจะมีไม่มาก แต่เซลล์ความจำจะกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้อีกครั้งเมื่อร่างกายติดเชื้อภายหลัง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 จากบริษัท Sinovac เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศบราซิล โดยชายผู้หนึ่งโชว์ผลการตรวจแอนตีบอดี้ในเลือด (Serology Test) หลังจากฉีดวัคซีน Sinovac เข็มที่ 2 ไปแล้ว 30 วัน ซึ่งผลปรากฏว่าพบค่าแอนติบอดี้แค่ 28% นำไปสู่การกล่าวอ้างว่าวัคซีน Sinovac ไม่ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Serology Test คือหนึ่งในวิธีตรวจหาเชื้อโควิด 19 โดยการนำตัวอย่างเลือดมาตรวจหาแอนติบอดี้ของผู้ที่มีความเสี่ยงรับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 แม้องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) จะยอมรับว่าการตรวจหาแอนติบอดี้ คือวิธีตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 […]

1 18 19 20 21 22 23
...