เมียนมาประกาศโต้กลับกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐฉาน

ย่างกุ้ง 3 พ.ย.- ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาเผยว่า กองทัพจะโต้กลับกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธที่บุกโจมตีในรัฐฉาน ทางเหนือของประเทศ ยึดเมือง และปิดเส้นทางการค้ากับจีน หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมารายงานวันนี้ว่า พล.อ. อาวุโสมิน อ่อง หล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ ซึ่งเป็นชื่อของรัฐบาลทหารเมียนมาที่ตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารปี 2564 กล่าวต่อสมาชิกสภาบริหารแห่งรัฐว่า รัฐบาลจะรุกโต้กลับกลุ่มติดอาวุธ หลังจากสมาชิกของกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) และกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอางหรือปะหล่อง (TNLA) โจมตีค่ายความมั่นคงท้องถิ่นและสำนักงานระดับจังหวัดในเขตปกครองตนเองโกก้างในรัฐฉานที่มีพรมแดนติดกับจีน ผู้นำเมียนมายังได้กล่าวหากองทัพเอกราชคะฉิ่น (KIA) ในรัฐคะฉิ่นที่อยู่ถัดขึ้นไปทางเหนือของรัฐฉานว่า โจมตีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและฐานทัพ พร้อมกับเตือนว่ากองทัพจะตอบโต้คืน กองทัพเมียนมาสู้รบกับกลุ่มชาติพันธุ์ในหลายพื้นที่ของในรัฐฉานมาตั้งแต่วันที่ 27 ตุาคม นักวิเคราะห์มองว่า เป็นการท้าทายกองทัพครั้งใหญ่ที่สุดนับจากการรัฐประหารครั้งล่าสุด โฆษกรัฐบาลทหารเผยเมื่อวันพุธว่า กองทัพได้สูญเสียการควบคุมเมืองชินฉ่วยฮ่อ (Chinshwehaw) ของรัฐฉาน เมืองนี้มีพรมแดนติดกับมณฑลยูนนานหรืออวิ๋นหนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ขณะที่จีนเรียกร้องเมื่อวันพฤหัสบดีให้หยุดยิงทันทีในรัฐฉาน ซึ่งมีโครงการสร้างรางรถไฟเชื่อมในข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางหรือบีอาร์ไอ (BRI) ของจีน.-สำนักข่าวไทย

เมียนมาจับอดีต รมว.สารสนเทศ

กรุงเทพฯ 29 ต.ค.- รัฐบาลทหารเมียนมาแจ้งวันนี้ว่า ได้จับกุมอดีตรัฐมนตรีสารสนเทศและตั้งข้อหาส่งเสริมให้มีคนไม่เห็นด้วยกับกองทัพ นับเป็นบุคคลสาธารณะที่ถูกจับกุมเป็นรายล่าสุด รัฐบาลทหารเมียนมาแถลงว่า นายเย ทุต วัย 64 ปี อดีตรัฐมนตรีสารสนเทศและโฆษกประธานาธิบดีสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีเต็ง เส่งที่ปกครองเมียนมาระหว่างปี 2554-2559 ถูกควบคุมตัวเมื่อค่ำวันเสาร์เนื่องจากพัวพันกับการแพร่กระจายข้อมูลผิด ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์ แหล่งข่าวเผยว่า เขาถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 505 ที่ห้ามการกระทำใด ๆ ก็ตามที่ถือว่าสั่นคลอนกองทัพ มีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี ก่อนหน้านี้หนึ่งสัปดาห์ช่องเทเลแกรมที่สนับสนุนรัฐบาลเมียนมากล่าวหาเขาว่า นำที่อยู่ของนายทหารเกษียณราชการไปเปิดเผยในสื่อสังคมออนไลน์ นายเย ทุตได้รับฉายาในช่วงที่ดำรงตำแหน่งว่า รัฐมนตรีเฟซบุ๊ก เพราะมักโพสต์ข้อความต่าง ๆ ผ่านเฟซบุ๊กที่ช่วงนั้นเป็นสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมที่สุดในประเทศ และหลังจากที่เกษียณราชการแล้ว เขายังคงโพสต์อย่างสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องท่องเที่ยว ล่าสุดเขาโพสต์เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมเป็นเรื่องไปเที่ยวทะเลสาบอินเล แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของเมียนมา กองทัพเมียนมาเผชิญการใช้กำลังต่อต้านตั้งแต่รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลนางออง ซาน ซู จีในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และในช่วงหลายเดือนมานี้ได้จับกุมเจ้าหน้าที่การค้าและพาณิชย์หลายคน ในขณะที่ความไม่สงบในประเทศได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้ว.-สำนักข่าวไทย

กบฏคะฉิ่นอ้างกองทัพเมียนมาถล่มค่ายผู้พลัดถิ่นฐาน

โฆษกกลุ่มกบฏที่ปกครองรัฐคะฉิ่น ทางเหนือของเมียนมาเผยว่า มีคนเสียชีวิต 29 คน บาดเจ็บสิบกว่าคน จากการที่กองทัพโจมตีค่ายผู้พลัดถิ่นฐานทางตอนเหนือของเมียนมาเมื่อกลางดึกวันจันทร์

ฝรั่งเศสจะถอนทูตและทหารออกจากไนเจอร์

ปารีส 25 ก.ย.- ผู้นำฝรั่งเศสประกาศจะถอนทูตและทหารออกจากไนเจอร์เร็ว ๆ นี้ สร้างความยินดีให้กับรัฐบาลทหารไนเจอร์และประชาชนที่เคยเรียกร้องมาก่อน ประธานาธิบดีเอมานูว์แอล มาครง ของฝรั่งเศสให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ว่า ฝรั่งเศสตัดสินใจถอนทูตออกจากไนเจอร์ โดยเอกอัครราชทูตและนักการทูตอีกหลายคนจะเดินทางกลับฝรั่งเศสในอีกไม่กี่ชั่วโมง แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเรื่องวันเวลาที่ชัดเจน  พร้อมกับเผยว่า ขณะนี้ความร่วมมือทางทหารระหว่างฝรั่งเศสกับไนเจอร์ได้สิ้นสุดลงแล้ว ฝรั่งเศสจะเริ่มถอนทหารออกจากไนเจอร์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าและจะดำเนินการถอนทหารได้ทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ปัจจุบันมีทหารฝรั่งเศสประจำการอยู่ในไนเจอร์ราว 1,500 คนเพื่อช่วยปราบปรามกลุ่มหัวรุนแรงและการก่อการร้าย ด้านรัฐบาลทหารของไนเจอร์ออกแถลงการณ์ตอบรับอย่างทันควันว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่จะนำไปสู่ความเป็นอธิปไตยของไนเจอร์ ซึ่งเป็นไปตามความมุ่งมั่นและความตั้งใจของชาวไนเจอร์ที่เคยเรียกร้องให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกไป ก่อนหน้านี้ผู้นำทหารของไนเจอร์เคยแจ้งให้เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเดินทางออกนอกประเทศ หลังจากที่มีการทำรัฐประหารโค่นล้มประธานาธิบดีโมฮัมหมัด บาซูม เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ต่อมาในเดือนสิงหาคมไนเจอร์ได้ยื่นคำขาดให้ทูตฝรั่งเศสเดินทางออกไปภายใน 48 ชั่วโมง แต่ทูตฝรั่งเศสก็ยังอยู่ในไนเจอร์จนถึงขณะนี้  ขณะเดียวกันมีรายงานว่า รัฐบาลทหารไนเจอร์ได้สั่งห้ามเครื่องบินของฝรั่งเศสใช้น่านฟ้าของไนเจอร์และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเรื่องนี้จะมีผลกระทบต่อการเดินทางออกนอกประเทศของทูตฝรั่งเศสหรือไม่.-สำนักข่าวไทย

ชิลีรำลึก 50 ปีรัฐประหารโดยนายพลออกุสโต ปิโนเชต์

สตรีชาวชิลีหลายหมื่นคนแต่งกายด้วยชุดดำ ร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 50 ปีรัฐประหารโดยนายพลออกุสโต ปิโนเชต์ ด้านหน้าทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงซานติอาโก

ทูตเมียนมาวอนยูเอ็นเร่งกดดันรัฐบาลทหาร

ผู้แทนถาวรเมียนมาประจำสหประชาชาติหรือยูเอ็น เรียกร้องยูเอ็นดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อหยุดยั้งความโหดร้ายทางทหารของรัฐบาลทหารเมียนมา

ไนเจอร์กล่าวหาฝรั่งเศสเล็งแทรกแซงทางทหาร

นีอาเม 10 ก.ย.- คณะทหารที่ทำรัฐประหารในไนเจอร์กล่าวหาฝรั่งเศสว่า กำลังรวบรวมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในประเทศเพื่อนบ้านของไนเจอร์ เพื่อเตรียมใช้กำลังทางทหารแทรกแซงไนเจอร์ โฆษกคณะรัฐประหารกล่าวเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ฝรั่งเศสเดินหน้าส่งกำลังพลไปยังหลายประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตกหรืออีโควาส (ECOWAS) อันเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมรุกรานไนเจอร์ที่ฝรั่งเศสวางแผนร่วมกับอีโควาส โฆษกอ้างว่า ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินทหาร เฮลิคอปเตอร์ และยานเกราะประมาณ 40 คัน ไปยังโกตดิวัวร์หรือไอวอรีโคสต์ และเบนิน เครื่องบินทหารเหล่านี้จะลำเลียงยุทโธปกรณ์จำนวนมากไปยังประเทศเพื่อนบ้านของไนเจอร์หลายประเทศ คณะรัฐประหารไนเจอร์ประกาศเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ยกเลิกข้อตกลงความร่วมมือทางทหารกับฝรั่งเศส และถือว่าทหารฝรั่งเศส 1,500 นายที่อยู่ต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธในไนเจอร์มีสถานภาพผิดกฎหมาย แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับคณะรัฐประหาร จึงถือว่าไม่มีอำนาจในการยกเลิก อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวในกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเผยว่า กองทัพฝรั่งเศสกำลังพูดคุยกับคณะรัฐประหารไนเจอร์เรื่องถอนทหารฝรั่งเศสออกจากประเทศอดีตอาณานิคมแห่งนี้ ในขณะที่ชาวไนเจอร์จำนวนมากชุมนุมรอบที่ตั้งบ้านพักทหารฝรั่งเศสในกรุงนีอาเมทุกวันมานานกว่าสัปดาห์แล้ว เรียกร้องให้ทหารฝรั่งเศสออกไป ด้านสหรัฐเริ่มโยกย้ายทหารที่มีอยู่ 1,100 นาย ออกจากกรุงนีอาเม ขึ้นไปยังเมืองอะกาเดซ ที่อยู่ทางตอนกลางประเทศแล้ว.-สำนักข่าวไทย

นายกฯ ไนเจอร์ หลังรัฐประหารหวังบรรลุข้อตกลงกับอีโควาส

นายกรัฐมนตรีไนเจอร์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกองทัพหลังการรัฐประหาร มีความหวังว่าจะบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก หรืออีโควาส (ECOWAS) ในเร็วๆ นี้

ระเบิดถล่มสถานที่ราชการในเมียวดีของเมียนมา

ย่างกุ้ง 4 ก.ย.- แหล่งข่าวในเมียนมาแจ้งว่า สถานที่ราชการในเมืองเมียวดีที่มีพรมแดนติดกับไทย ถูกระเบิดโจมตีหลายครั้ง มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 คน ตำรวจบาดเจ็บ 11 นาย เอเอฟพีระบุว่า เมืองเมียวดีอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมียนมา มีการปะทะระหว่างกองทัพกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารอย่างประปรายนับตั้งแต่กองทัพรัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ทำให้มีคนจำนวนมากหนีข้ามพรมแดนเข้ามาในไทย เอเอฟพีอ้างแหล่งข่าวในกองทัพว่า มีระเบิด 2 ลูกตกเข้ามาในสถานที่ราชการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรและหน่วยงานราชการช่วงเช้าตรู่วันอาทิตย์ เจ้าหน้าที่จึงได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย จากนั้นมีระเบิดอีก 2 ลูกตกเข้ามา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บ 11 คน ผู้เสียชีวิตประกอบด้วยทหาร 1 นาย ตำรวจ 2 นาย ข้าราชการ 2 คน ผู้บาดเจ็บประกอบด้วยตำรวจชั้นผู้ใหญ่และชั้นผู้น้อย 11 นาย ในจำนวนนี้ 5 นายอาการสาหัส รัฐบาลทหารเมียนมาแจ้งว่า มีเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงและข้าราชการจำนวนหนึ่งบาดเจ็บจากเหตุระเบิด โดยโทษว่าเป็นฝีมือของกองกำลังปกป้องประชาชนหรือพีดีเอฟ (PDF) ที่ต่อต้านการรัฐประหารและกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือเคเอ็นแอลเอ […]

ผู้นำรัฐประหารกาบองจะสาบานตนเป็น ปธน.ชั่วคราว

หัวหน้าคณะทหารในกาบองที่รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จะสาบานตนเป็นประธานาธิบดีช่วงเปลี่ยนถ่ายในวันนี้

ชาวไนเจอร์ประท้วงให้ฝรั่งเศสถอนทหาร

ชาวไนเจอร์ เดินขบวนประท้วงเป็นวันที่สาม เรียกร้องให้ฝรั่งเศส ซึ่งอดีตเคยเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมถอนทหารออกจากประเทศ หลังกองทัพไนเจอร์ก่อรัฐประหาร

H&M สอบเรื่องโรงงานในเมียนมากดขี่แรงงาน

ลอนดอน 16 ส.ค.- เอชแอนด์เอ็ม (H&M) ผู้ค้าปลีกแฟชั่นรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกกำลังสอบสวนเรื่องโรงงานผลิตสินค้าในเมียนมาถูกกล่าวหาว่ามีการกดขี่แรงงาน 20 ราย เอชแอนด์เอ็ม ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติสวีเดนแถลงว่า กำลังตรวจสอบทุกกรณีที่ศูนย์ทรัพยากรธุรกิจและสิทธิมนุษยชนระบุว่า พบการกดขี่แรงงาน 20 รายในโรงงานที่ผลิตสินค้าให้แก่เอชแอนด์เอ็ม บริษัทกำลังแก้ไขผ่านทีมงานท้องถิ่นในพื้นที่ และประสานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างใกล้ชิด ศูนย์ทรัพยากรธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่ตั้งอยู่ในอังกฤษออกรายงานว่า ตรวจพบการกดขี่แรงงานในโรงงานสิ่งทอเมียนมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ทั้งหมด 156 ราย เพิ่มขึ้นจาก 56 รายในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น สะท้อนว่าสิทธิแรงงานในเมียนมาเลวร้ายลงตั้งแต่มีการรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ข้อกล่าวหากดขี่แรงงานที่พบมากที่สุดคือ การลดค่าจ้างและการโกงค่าจ้าง ตามมาด้วยการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม การให้ทำงานหนักเกินไป และการบังคับทำงานล่วงเวลา ด้านอินดิเท็กซ์ (Inditex) ของสเปนที่เป็นเจ้าของแบรนด์ซาร่า (Zara) ไม่แสดงความเห็นกรณีที่ถูกระบุในรายงานว่า มีการกดขี่แรงงาน 21 รายเกิดขึ้นในโรงงานที่ผลิตสินค้าให้แก่บริษัท แต่ได้ประกาศเป็นรายล่าสุดว่า จะตัดความสัมพันธ์กับโรงงานผลิตในเมียนมา หลังจากไพรมาร์ค (Primark) และมาร์กแอนด์สเปนเซอร์ (Marks & Spencer) ประกาศไปเมื่อปี 2565.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 5 6 27
...