2 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์สินค้า “หม้อหุงข้าวลดน้ำตาล” เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยคนต้องการควบคุมน้ำหนัก รวมทั้งคนอยากผอมนั้น
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ยังไม่มีการศึกษาวิจัยยืนยันถึงประสิทธิผลการลดน้ำตาลด้วยการใช้หม้อหุงข้าวดังกล่าว
Q : วิธีหุงข้าวลดน้ำตาลมีจริงหรือ ?
A : วิธีหุงข้าวเพื่อลดน้ำตาลในเลือดไม่สามารถทำได้ แต่การหุงข้าวที่ช่วยให้การย่อยทำได้ช้าลงอาจจะเกิดขึ้นได้บ้าง แต่อาจจะเกิดขึ้นได้ไม่มากพอสำหรับการลดน้ำตาลหลังจากที่เรารับประทานข้าวเข้าไป
ส่วนการหุงข้าวที่แยกน้ำออกจากข้าวซึ่งนำมาใช้กับการหุงข้าวแบบหม้อหุงข้าวลดน้ำตาล น้ำข้าวนั้นจะอุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินบี ก็จะสูญเสียไป
Q : วิธีหุงข้าวส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ จริงหรือ ?
A : วิธีการหุงข้าว การใช้น้ำมาก-น้อย ส่งผลต่อความสุกของข้าวที่หุง ก็จะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดค่อย ๆ เพิ่มขึ้น แตกต่างกัน เช่น การหุงข้าวต้มต้องใช้น้ำและความร้อนที่นานกว่าข้าวสวย จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็วกว่าข้าวสวย
Q : พันธุ์ข้าวส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ จริงหรือ ?
A : พันธุ์ข้าวส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในส่วนของข้าวสวยมีหลายสายพันธุ์ เช่น ข้าวหอมมะลิ
มีปริมาณอะไมเลส (amylase) ต่ำ เมื่อเทียบกับข้าวเสาไห้ที่มีปริมาณของอะไมเลส (amylase) สูงกว่าข้าวเสาไห้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้ากว่าข้าวหอมมะลิ
ส่วนข้าวเหนียวมีปริมาณของอะไมเลส (amylase) ต่ำ จะเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลได้เร็วกว่าข้าวสวยที่มีปริมาณ
ของอะไมเลส (amylase) สูงกว่า
4 ปัจจัยการกินข้าวคุมน้ำตาลในเลือด
- ปริมาณข้าว >> ควรรับประทานข้าวให้เพียงพอกับความต้องการพลังงานต่อวัน
2. ชนิดของข้าว >> ข้าวที่มีอะไมเลส (amylase) สูงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้ากว่าข้าวที่มีอะไมโลส (amylose) ต่ำ
3. วิธีหุงข้าว >> ข้าวที่หุงด้วยการใช้ความร้อนสูง ใช้น้ำมากและใช้เวลานาน จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นเร็ว
4. ความแตกต่างของร่างกาย >> ในแต่ละคนร่างกายมีการดึงน้ำตาลไปใช้แตกต่างกัน
สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากควบคุมปริมาณและชนิดของข้าวแล้ว ควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปริมาณข้าวที่รับประทานเข้าไปเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มระดับน้ำตาล ดังนั้นจึงต้องรับประทานให้เพียงพอกับความต้องการพลังงานต่อวันของร่างกาย เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักตัว
สัมภาษณ์เมื่อ 18 เมษายน 2566
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter