สำรวจถนน กทม. หลังสร้างโครงการใหญ่หน่วยงานรัฐไม่ประสานเก็บงาน

กทม. 5 พ.ค. – หลังเกิดเหตุชายพลัดตกท่อเสียชีวิต บริเวณปากซอยลาดพร้าว 49 มีคำถามตามมาหลายประเด็น โดยเฉพาะการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐ ที่จะช่วยทำให้พื้นที่เมืองปลอดภัย


การเสียชีวิตของนายกำธร ซึ่งตกท่อร้อยสายไฟ การไฟฟ้านครหลวง เสียชีวิต บริเวณเกาะกลางถนน ลาดพร้าว 49 ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า ถนนลาดพร้าวเพิ่งมีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ คือโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งโครงการเปิดบริการมาเป็นปีแล้ว แต่ยังมีการเก็บงานในพื้นที่ เพื่อให้ถนน เขตทางมีความปลอดภัย ซึ่งการดำเนินงานล่าช้ามาก เพราะบ้านเรา เวลาก่อสร้าง จะมีทั้งงานโยกธาของ กทม. งานท่อสายไฟ การไฟฟ้า และงานท่อประปา ต่างๆ แต่การประสานงานล่าช้า อย่างเคสของนายกำธร มีการแจ้งร้องเรียน ผ่านทราฟฟี่ฟองดูว์ของ กทม. แต่ไม่มีการเข้าไปดำเนินการแก้ไข

ยังมีถนนอีกหลายสาย วันนี้ ทีมข่าวลงไปสำรวจ ถนนแจ้งวัฒนะ ก่อนข้ามไปจังหวัด นนทบุรี เพิ่งมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า สายสีชมพู เสร็จไป เปิดบริการไปแล้ว แต่มีการร้องเรียนมากว่า ผิวถนนมีการเอาแผ่นปืนมาประกอบปิดผิวถนนไว้ ไม่เรียบ เวลารถวิ่งผ่าน  ต้องเจอหลุมบ่อเป็นระยะ ไม่หนำซ้ำ หากเป็นมอเตอร์ไซค์ หากมาเร็ว อาจล้มคว่ำได้ รวมทั้งในเวลากลางคืนก็เปิดซ่อมงานใต้แผ่นปูนในผิวจราจร รถติดไม่หยุดหย่อนจากค่ำถึงดึก   


นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า จากกรณีชายตกท่อกลางถนน บริเวณปากซอยลาดพร้าว 49 จนเสียชีวิต นั้น แม้จะสรุปเป็นโครงการของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ที่จะนำสายไฟฟ้าลงดิน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดในพื้นที่ กทม. และ กทม. คงจะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นร่วมกันได้

โดยกรณีนี้หลังเกิดเหตุ กทม. ได้เร่งประสาน กฟน. ในเรื่องการเร่งช่วยเหลือเยียวยา และ กทม. จะเร่งตรวจสอบฝาท่อทั่วกรุงเทพ โดยระบบการร้องเรียนทราฟฟี่ฟองดูว์ พบว่ามีร้องเรียนเรื่องฝาท่อเข้ามาจำนวนมาก ทั้งหมดวิ่งเข้ามาผ่านระบบ ซึ่ง กทม. มีหน้าที่ต้องส่งต่อข้อร้องเรียนออกไป แบ่งเป็นสองส่วน คือ 1. ฝาท่อที่อยู่ภายใต้การดูแลของกทม. และ 2. ฝาท่อที่หน่วยงานอื่นๆ ดูแล

โดยหลังจากนี้ สำนักการโยธา กทม. จะประชุมหารือ เพราะจากกรณี ที่ประชาชนร้องเรื่องท่อ หรือเรื่องสาธารณูปโภคต่างๆ หากเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น เมื่อแจ้งไปแล้ว แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ดำเนินการแก้ไขตามมาตรฐานจะทำอย่างไร เพราะตามระบบเมื่อมีผู้ร้องเรียนเข้ามาจะมีการให้แจ้งพิกัดปักหมุดโลเคชั่น ซึ่งหากเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น กทม. จะส่งต่อและประชาชน จะได้ทราบว่าเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานไหน ซึ่ง กทม. ได้พัฒนาระบบให้ประชาชนสามารถฟีดแบคว่าพอใจการแก้ไขหรือไม่ หากไม่พอใจ และเป็นส่วนของ กทม. จัดการ ก็สามารถลงไปแก้ไขซ้ำได้


แต่หากเป็นหน่วยงานอื่น กทม. ก็ทำได้เพียงส่งหนังสือไปย้ำ ก็เป็นโจทย์สำคัญที่จะต้องมานั่งคุยกันเพิ่มเติม ถึงระบบหลังบ้านทราฟฟี่ฟองดูว์ ว่าหากเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน่วยงานอื่นแก้ไข หากไม่ได้มาตรฐานจะทำอย่างไร โดย กทม. ทำได้ด้วยการขอความร่วมมือ และแจ้งให้เร่งรัดจัดการจากการประสานทำงานร่วมกัน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง