ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อะไรเข้าตา

8 กันยายน 2567 – เมื่อมีอะไรเข้าตา สิ่งที่ต้องอย่าทำคืออะไร และสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อนำสิ่งแปลกปลอมออกจากดวงตาเป็นอย่างไรต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาแก้หอบหืด Tranilast รักษาฝีดาษวานรได้ จริงหรือ?

ผลการใช้ยา Tranilast ยับยั้งไวรัสฝีดาษเกิดขึ้นในเซลล์เพาะเลี้ยงและหนูทดลองเท่านั้น ยังไม่มีผลการทดลองกับมนุษย์

ชัวร์ก่อนแชร์: สาร Resveratrol ในองุ่นรักษาฝีดาษวานรได้ จริงหรือ?

เนื่องจากไม่เคยทดลองในสัตว์หรือกับมนุษย์ จึงไม่อาจสรุปได้ว่า Resveratrol สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสฝีดาษวานรในสัตว์หรือมนุษย์ได้หรือไม่

ชัวร์ก่อนแชร์: WHO จ้องขายวัคซีนฝีดาษวานร จริงหรือ?

ฝีดาษวานรสายพันธุ์ใหม่ในปี 2024 เป็นคนละสายพันธุ์กับที่ระบาดเมื่อปี 2022 ไม่สามารถใช้วัคซีนต่างชนิด เพื่อป้องกันโรคจากไวรัสคนละสายพันธุ์ได้

ชัวร์ก่อนแชร์ : ดื่มยาดองเหล้าเสี่ยงตาบอด และเสียชีวิต จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนจากข่าวน่าตกใจ ดื่มยาดองเหล้าแล้วได้รับอันตราย หากมีเมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์ อาจถึงขั้นตาบอดและเสียชีวิตได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย มีส่วนเป็นไปได้จริง แต่ข่าวที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ ที่มีการนำเมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl Alcohol) ที่รู้จักกันว่า “เมทานอล” (Methanol) มาใช้ผสมยาดองเหล้าแทนเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethylalcohol) หรือ “เอทานอล” (Ethanol) การนำเมทิลแอลกอฮอล์มาผสมยาดองเหล้าจะทำให้ผู้ดื่มเป็นอันตรายถึงตาบอดและเสียชีวิตได้ เอทิลแอลกอฮอล์ กินได้ และกินไม่ได้ ? เอทิลแอลกอฮอล์มีความเข้มข้นหลายอย่าง มีทั้งกินได้และกินไม่ได้ ที่คนทั่วไปรู้จักก็คือ เอทิลแอลกอฮอล์ที่ผสมในสุราหรือเบียร์ สำหรับแอลกอฮอล์ล้างแผลก็คือ เอทิลแอลกอฮอล์ 70% ส่วนยาดองเหล้าก็อาจขึ้นกับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่ผสม ถ้าเอทิลแอลกอฮอล์มีความเข้มข้นมากเกินไปก็อาจเกิดอันตรายกับร่างกายได้เช่นเดียวกัน เมทานอลผสมยาดองเหล้า อันตราย ? เมทานอลกินไม่ได้ ใช้ในอุตสาหกรรม เป็นตัวทำละลายและอันตรายมาก แอลกอฮอล์เมทานอลกินไม่ได้ ถ้ามีการปนเปื้อน หรือเข้าใจผิดนำเมทิลแอลกอฮอล์มาผสมลงไปจะทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงถึงขั้นตาบอดและเสียชีวิตได้ ถ้ากินเข้าไปปริมาณมากจะเกิดอาการเร็วตั้งแต่ต้น ขณะที่บางคนถ้าปนเปื้อนปริมาณไม่มากนักอาจมีอาการตั้งแต่ 12-72 ชั่วโมง อาการระยะแรกหลังจากดื่มเหล้าผสมเมทิลแอลกอฮอล์ ส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้ 1. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผิวมะนาว ป้องกัน และรักษาโรค จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า “ผิวมะนาว” มีประโยชน์ มีสารสำคัญช่วยป้องกันโรค และฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาพรวม “ผิวมะนาว” กินได้ และผิวมะนาวก็มี “วิตามินซี” สูงกว่าน้ำมะนาว แต่ยังไม่ควรคาดหวังที่จะนำผิวมะนาวมาใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ถึงแม้ว่าในผิวมะนาวมีสารประกอบหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี (Vitamin C) ฟีนอลิกแอซิด (Phenolic acid) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)  ดังนั้น การนำมากินก็น่าจะได้รับสารประกอบเหล่านั้นจากเปลือกมะนาว การขูดผิวมะนาวโรยอาหารต่าง ๆ ช่วยให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น จริงหรือ ? ผิวมะนาวกินได้เพียงแค่ล้างให้สะอาด และผิวมะนาวมีสารระเหิดช่วยให้กลิ่นหอมเมื่อนำมาใส่อาหารช่วยให้อาหารอร่อยขึ้นได้ ผิวมะนาว มีวิตามินซีมากกว่าน้ำมะนาว 5-10 เท่า จริงหรือ ? เรื่องนี้แล้วแต่บางสายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปผิวมะนาวมีสารสำคัญมากกว่าน้ำมะนาวอยู่แล้ว ถ้าพูดถึงกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) หรือวิตามินซี บางสายพันธุ์มีมากกว่าเกือบ 9 เท่า แต่บางสายพันธุ์ก็มีน้อยกว่า เช่น มะนาวตาฮิติ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สัญญาณมะเร็งตับ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 10 สัญญาณเตือนโรคมะเร็งตับ เช่น ปวดท้องด้านขวา ตาเหลืองตัวเหลือง และมีอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พล.ต.นพ.อนุชิต จูฑะพุทธิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคมะเร็งตับ และ ประธานมูลนิธิตับ สัญญาณทั้ง 10 ข้อที่แชร์กันมีส่วนถูก แต่สัญญาณต่าง ๆ หมอไม่อยากเจอ เพราะบอกว่าเป็นมะเร็งระยะค่อนข้างลุกลามแล้ว หมออยากเจอผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีอาการ แล้วตรวจพบโดยการเฝ้าระวังมากกว่า เพราะจะมีขนาดไม่ใหญ่และให้การรักษาที่ทำให้หายได้ ข้อ 1. คลื่นไส้บ่อย ๆ จนผิดปกติ การทํางานของตับล้มเหลว ระบบการขจัดสารพิษทําได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื้องอกทําให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ยิ่งทําให้การคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรงขึ้น ? คลื่นไส้ อาเจียน มักไม่ค่อยพบในผู้ป่วยมะเร็งตับ ยกเว้นก้อนมะเร็งกดกระเพาะอาหาร ทำให้กินอาหารไม่ได้ มักจะทำให้มีอาการอาเจียน ส่วนที่บอกว่าแคลเซียมเพิ่มขึ้น เรื่องนี้พบน้อยมาก นาน ๆ จะพบสักครั้ง เนื่องจากก้อนมะเร็งสร้างสารบางอย่างทำให้กระตุ้นสร้างแคลเซียมมากขึ้น ข้อ 2. ปวดท้องด้านขวาผิดปกติ และมีปวดบริเวณไหล่ขวา การเจริญเติบโตของมะเร็งทําให้เกิดความดันในช่องท้องมากขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผัก 5 ชนิด ดีต่อตับ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำ ผักสีเขียว 5 ชนิด ดีต่อตับ ทั้งผลกีวี บรอกโคลี ต้นหอม แตงกวา และหน่อไม้ฝรั่ง จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พล.ต.นพ.อนุชิต จูฑะพุทธิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคมะเร็งตับ และ ประธานมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าผัก 5 ชนิดมีประโยชน์ชัดเจนดีต่อตับ แต่ว่าโดยรวมแล้วการกินผักชนิดต่าง ๆ (ล้างสะอาด ปลอดภัยจากสารพิษฆ่าแมลง) ก็มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่แล้ว ไม่จำเป็นว่าต้องส่งผลดีต่อตับเท่านั้น ข้อ 1. กีวี : วิตามินซีสูง บำรุงผิว ช่วยลดความดัน ป้องกันโรคท้องผูก ดีต่อตับ จริงหรือ ? กินกีวีแล้วได้ทั้งวิตามินและป้องกันท้องผูก เป็นเรื่องจริง แต่จะเป็นผลดีต่อตับหรือไม่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจน ข้อ 2. บรอกโคลี : กระตุ้นการขับถ่าย ลดระดับน้ำตาล ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ส่งผลดีต่อตับ ? ไม่มีข้อมูลว่าบรอกโคลีดีต่อตับ แต่คำแนะนำของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เก็บข้าวเหนียวในกระติกพลาสติก อาจมีสารปนเปื้อนได้ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ว่า เก็บข้าวเหนียวในกระติกพลาสติก อาจมีสารปนเปื้อนจากพลาสติกสู่ข้าวเหนียวได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์ ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่แชร์กันว่ามีการละลายของพลาสติกลงไปในเนื้อของข้าวเหนียว เรื่องนี้คงจะไม่เห็นการละลายของพลาสติกด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน แต่มีโอกาสที่สารเคมีจากตัวเนื้อพลาสติกส่วนที่สัมผัสกับข้าวเหนียวโดยตรง สามารถแพร่ออกมาที่ตัวข้าวเหนียวได้ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “ปรากฏการณ์ไมเกรชัน” (Migration) ปรากฏการณ์ไมเกรชัน หมายถึง การเคลื่อนย้าย หรือการแพร่กระจายของสารจากภาชนะบรรจุ หรือวัสดุสัมผัสอาหารลงสู่อาหาร มีหลายปัจจัยที่ส่งเสริมปรากฏการณ์ไมเกรชัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อพลาสติกเอง และชนิดของอาหาร ตัวเนื้อพลาสติกที่สัมผัสกับอาหาร “เปรี้ยว” หรืออาหาร “มัน” การแพร่สารลงไปจะได้มากขึ้น หรือปัจจัยที่เด่น ๆ ก็คือเรื่อง “อุณหภูมิ” อุณหภูมิยิ่งสูงก็จะยิ่งทำให้สารแพร่จากพลาสติกไปได้มากขึ้น และยังมีอีกปัจจัยหนึ่งก็คือ “ระยะเวลา” การเก็บอาหารไว้ในภาชนะพลาสติกนานมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มการแพร่ของสารเคมีลงไปในอาหารได้มากขึ้น กรณีของ “ข้าวเหนียว” ที่ใส่กระติกน้ำแข็ง (กระติกพลาสติก) ตัวอุณหภูมิเป็นปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นการแพร่ของสารจากเนื้อพลาสติกไปสู่ข้าวเหนียวได้ ผ้าไนลอนบาง ๆ ที่ใช้คลุมข้าวเหนียว เส้นใยสังเคราะห์สามารถละลายได้เมื่อสัมผัสความร้อน จริงหรือ ? ผ้าขาวบางที่ทำจากไนลอน (Nylon หรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ความรุนแรงและอาการไวรัสตับอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบ แต่ละชนิดมีอาการอย่างไร รุนแรงแค่ไหน และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี เลขาธิการมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล “ไวรัสตับอักเสบ” คือ ไวรัสที่ชอบอยู่ในเซลล์ตับ เพราะเซลล์ตับเป็นสถานที่ไวรัสอยู่แล้วสามารถแบ่งเพิ่มปริมาณได้ ไวรัสตับอักเสบ A และ ไวรัสตับอักเสบ E มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ อาการที่ปรากฏดูได้จากภายนอกคือมีตัวเหลือง ตาเหลือง แต่กรณีไม่มีตัวเหลือง ตาเหลือง ก็ผ่านระยะตับอักเสบไปโดยที่ไม่รู้ เพราะไม่ได้มาเจาะเลือดตรวจ แล้วก็หาย มีภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบ ถ้าป่วยชนิดมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เพราะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปัสสาวะเข้ม ผะอืดผะอม คลื่นไส้ อาเจียน ยิ่งถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ A จะมีไข้สูง น่ากลัวมาก เมื่อตัวเหลืองไข้เริ่มลด ไวรัสตับอักเสบ A และ E ไม่พลาดแน่ ถ้ามีอาการผู้ป่วยจะรีบมาพบแพทย์ อาการ “ไวรัสตับอักเสบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุการติดไวรัสตับอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบคืออะไร มีกี่ชนิด และติดได้จากสาเหตุใด ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี เลขาธิการมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ไวรัสตับอักเสบ A B C D E (เรียงตามอักษรภาษาอังกฤษ) หลักการคือ มีอวัยวะที่ไวรัสชอบเป็นพิเศษ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ชอบที่เยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบน นี่คือไวรัสตอบอักเสบ ที่ชอบอยู่ในเซลล์ตับและสามารถแบ่งเพิ่มปริมาณได้ ไวรัสตับอักเสบมี 5 สายพันธุ์หลัก ๆ จำได้ง่ายคือ A B C D E จำง่าย ๆ ว่า มีสระ 2 ตัว คือ A E และ B C D สาเหตุการเกิดไวรัสตับอักเสบ A และ E “จากการกินอาหาร” ? […]

1 17 18 19 20 21 277
...