ลูกช้างป่าเริ่มตอบรับพังทีน่า
ลูกช้างป่าพลัดหลงห้วยขาแข้งเริ่มมีอาการตอบรับพังทีน่า
ลูกช้างป่าพลัดหลงห้วยขาแข้งเริ่มมีอาการตอบรับพังทีน่า
สัตวแพทย์ ทช.ช่วยประคับประคองวาฬเพชรฆาตดำเกยตื้นเกาะเตียบเต็มที่ เผยยังอยู่ในสภาพอ่อนแรง
ธรรมชาติสมบูรณ์ อุทยานฯ อ่าวสยาม ติดตามการฟักตัวไข่เต่าทะเล ล่าสุดพบแม่เต่ากระ กระดองติดไมโครชิป ตั้งชื่อ “ศรีสุดา” วางไข่ 178 ฟอง เกาะทะลุ ประจวบคีรีขันธ์ คาดเป็นตัวเดียวกับที่วางไข่เมื่อ ต.ค. 4 รัง
ศูนย์วิจัย ทช.อ่าวไทยตอนกลางระดมกำลังสัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์ช่วยชีวิตวาฬเพชฌฆาตดำเกยตื้นทะเลปะทิว
ค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ กทม. ขยับสูงขึ้นจากเมื่อวาน เฉลี่ย 34-73 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
จนท.กรมอุทยานฯ เคลื่อนย้ายลูกช้างป่าพลัดหลงโขลงห้วยขาแข้งไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง รอลุ้นเลือกแม่ตัวไหน
พลเอกประวิตร มอบนโยบายกระทรวงทรัพย์ฯ ย้ำดูแลรักษาป่าไม้ แหล่งน้ำ สิ่งแวดล้อม สร้างงาน อาชีพ เสริมรายได้ชุมชน เพื่อเศรษฐกิจเข็มแข็งยั่งยืน
ดารานักแสดงชื่อดัง “โตโน่” ซึ่งจัดทำโครงการ “หนึ่งคนว่าย หลายคนช่วย” นำเงินที่ได้รับบริจาคไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลแก่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สานแนวทางรักษาความสมบูรณ์และอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากให้คงอยู่คู่ท้องทะเลไทย
พบซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” ในพื้นที่ ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อายุกว่า 150 ล้านปี
เพชรบุรี 6 พ.ย. 63 – คณะทูตานุทูตรัฐภาคีสมาชิกกรรมการมรดกโลก 8 ประเทศ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน หวังช่วยดันเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของโลก นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว หัวหน้าคณะผู้เเทนไทยในคณะกรรมการมรดกโลก พร้อมด้วยนายประเสริฐ ศิรินภาพร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. ต้อนรับคณะทูตานุทูตรัฐภาคีสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานแหล่งมรดกทางธรรมชาติพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ซึ่งสำนักงานนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม น่วยประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก โดยมีคณะทูตานุทูตรัฐภาคีสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย กัวเตมาลา โอมานบาห์เรน สเปน ไนจีเรีย รัสเซีย และบราซิล ร่วมศึกษากิจกรรม สัมผัสสภาพพื้นที่จริง รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานรอบด้าน และความพยายามของไทยที่ผ่านมาในการปกป้องคุ้มครองคุณค่าความโดดเด่นของพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เพื่อให้เห็นว่ากลุ่มป่าแก่งกระจาน มีศักยภาพและความพร้อมเป็นแหล่งมรดกโลก นอกจากนี้ยังได้เห็นสภาพพื้นที่ความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน รวมทั้งมาตรการในแต่ละด้านที่ใช้บูรณาการงานด้านปกป้องรักษาคุณค่าความโดดเด่นความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งได้ปรับยุทธวิธีการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ ที่ลดการล่าในพื้นที่ลงได้อย่างมาก มีการจัดอบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักของคนในชุมชนโดยรอบ และเยาวชน ถึงคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่ รวมทั้งได้ดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนที่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่สำคัญสามารถลดการบุกรุกทำลายป่า และร่วมกันอนุรักษ์พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานให้คงความสมบูรณ์ เป็นแหล่งพันธุกรรมความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ควรค่าแก่การยกระดับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งใหม่ต่อไปในอนาคต สำหรับกลุ่มป่าแก่งกระจาน ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชีของไทย รวมพื้นที่กว่า 1,821,687 ไร่ ซึ่งเป็นกลุ่มป่าที่มีระบบนิเวศทั้งระบบนิเวศบก แหล่งน้ำ เป็นแหล่งพันธุกรรมของพืชและสัตว์ป่าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งยังมีความสำคัญคุณค่าด้านความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ ไทยจึงพยายามเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจานขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ภายใต้เกณฑ์ข้อ 10 ซึ่งระบุไว้ในเอกสารเนวทางการอนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก โดยตั้งเป้าพยายามผลักดัน และดำเนินการตามคำแนะนะของคณะกรรมการมรดกโลก พัฒนาให้กลุ่มป่าแก่งกระจานมีความพร้อมเหมาะสม ตั้งเป้าให้การลงพื้นที่ครั้งนี้ช่วยให้คณะกรรมการมรดกโลกได้เห็นข้อเท็จจริงเห็นความพร้อมของกลุ่มป่าแก่งกระจาน และเป็นข้อมูลสำคัญในการพิจารณาให้ความเห็นชอบขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกธรรมชาติแห่งใหม่ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในครั้งต่อไป สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการยืนยันให้คณะกรรมการมรดกโลกได้เห็นข้อเท็จจริง ประกอบการนำส่งเอกสารการขอขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นแหล่งมรดกโลก ที่ไทยได้นำส่งไปแล้วเมื่อต้นปี 2563 ทั้งนี้การพิจารณาแห่งมรดกโลกภายใต้อนุสัญญา จะมีขึ้นอีกครั้งในการประชุม รัฐภาคีสมาชิกภายใต้อนุสัญญามรดกโลกครั้งที่ 44 ในกลางปี พ.ศ. 2564 โดยจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับคำชื่นชม และเห็นภาพรวมของกลุ่มป่าแก่งกระจานจากกิจกรรมตลอดทั้ง 3 วัน .-สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 6 พ.ย. – ทช. จับมือสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า พัฒนาระบบลาดตระเวนทางทะเล นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมเข้ามาใช้บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองสัตว์ทะเลหายาก นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ทช. ลงนามร่วมกับสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทยเพื่อพัฒนาโครงการการลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเล (SMART Marine Patrol) เพื่อนำเทคโนโลยีและระบบปฏิบัติการใหม่ๆ มาพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามนโยบายของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่กำหนดให้ใช้การพัฒนางานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) ข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานถูกต้องแม่นยำและทันสมัย ที่ผ่านมา ทส. นำอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ใช้ตรวจสภาพป่าไม้ซึ่งให้สามารถทราบถึงสถานการณ์ได้ตามเวลาจริง จึงเห็นควรให้ทช. พัฒนางานด้านลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเลด้วย นายโสภณ กล่าวต่อว่า ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพคือ ระบบการลาดตระเวนพื้นที่ที่จัดการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการจัดเก็บ สืบค้น วิเคราะห์ และรายงานผลการลาดตระเวนงานด้านการป้องกันและปราบปราม และการลักลอบกระทำผิดต่อทรัพยากรผ่านโปรแกรม SMART ซึ่งสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทยมีความรู้ ประสบการณ์ในด้านการสำรวจและฝึกอบรมด้านการลาดตระเวนและบริหารจัดการสัตว์ป่าและสัตว์ทะเล […]
พังงา 5 พ.ย.- เจ้าหน้าที่ประเมินตำแหน่งหลุมรังไข่เต่ามะเฟืองรังที่ 2 ชายหาดบางขวัญ หวั่นน้ำทะเลท่วม เร่งย้ายไปเพาะฟักใกล้รังแรก ผลการขุดพบไข่ดี 121 ฟอง ไข่ลม 30 ฟอง ความคืบหน้ากรณีพบเต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่จำนวน 2 หลุมรัง บริเวณชายหาดบางขวัญ หมู่ 7 ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ช่วงเดือนตุลาคม 2563 ซึ่งถือว่าเป็นรังแรกของฤดูกาลวางไข่ 2563-64 (ตุลาคม-มีนาคมของทุกปี) ล่าสุด (5 พ.ย.) เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 โดยส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ส่วนส่งเสริมและประสานงานเครือข่ายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 9 , 10 และ 11 ร่วมกันขุดย้ายไข่เต่ามะเฟือง รังที่ 2 ซึ่งห่างจากหลุมแรกประมาณ 100 เมตร เพื่อนำไปฟักตัวในคอกกั้นของรังที่ 1 ตามคำแนะนำของนายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน เนื่องจากตำแหน่งที่วางไข่อยู่ในแนวระดับน้ำทะเลท่วมถึง อาจส่งผลกระทบต่อการฟักของไข่เต่ามะเฟือง การขุดใช้เวลาประมาณ […]