ศูนย์การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศพร้อมลดฝุ่น PM2.5

อธิบดี คพ. เผยศูนย์การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจัดทำแผนปฏิบัติการลดผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกินมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้งซึ่งจะมีไฟป่าและการเผาในที่โล่งแจ้งมาก พร้อมเตรียมยกระดับการป้องกันและแก้ปัญหาให้เข้มข้นในปี 2564

โลมาเกยตื้นชายหาดเขากะโหลกตายก่อนถูกแล่

ทช. เผยผลชันสูตรซากโลมาเกยตื้น อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีเลือดคั่งที่ส่วนหัวและอก คาดตายจากการกระแทกรุนแรง แล้วถูกแล่เนื้อภายหลัง

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน

ชัยภูมิ 5 พ.ย.63 – มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และ สสน. เปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน จ.ชัยภูมิ แหล่งเรียนรู้การจัดการน้ำและบริหารพื้นที่เกษตรวิถีใหม่ ให้ชุมชนมีน้ำใช้เพาะปลูกได้ทั้งปี และพัฒนาพื้นที่รับน้ำหลากในฤดูฝนแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน เกษตรกรบ้านโนนแต้ ต.หนองขาม อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูกทางการเกษตรใหม่ จากพื้นที่ที่เคยปลูกทำนาทั้งหมด เปลี่ยนเป็นผสมผสานหยิบป่ามาไว้ในที่นา เป็นวิถีเกษตรใหม่ที่สร้างผลผลิตสร้างรายได้เกิดขึ้นตลอดทั้งปี นายสายยันต์ เหล็กพรม เกษตรกรบ้านโนนแต้ บอกว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) ได้น้อมน้ำแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มาเป็นหลักคิดประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ทำให้ตนเองเกิดความคิดนำแนวพระราชดำริ ลองมาปรับใช้กับพื้นที่เกษตร แบ่งส่วนของพื้นที่ทำกินใหม่ลดที่ทำนาเหลือ 4 ไร่ สร้างสระน้ำหัวใจของการเพาะปลูก 1 ไร่ พื้นที่เกษตรผสมผสาน 1.5 ไร่ พื้นที่ปศุสัตว์ 0.5 ไร่ และป่าน้อย 1 ไร่  ซึ่งป่าน้อยนี้ใช้การเพาะปลูกเลียนแบบธรรมชาติ ลงไม้ยืนยันไม้ใหญ่พืชท้องถิ่น เช่นยางนา ประดู่ พะยูงและไม้สัก ผสมกับพืชป่า เช่น หวาย ไผ่ และผักหวานป่า ไม่กี่ปีพืชเจริญเติบโตไม้ใหญ่โตให้ร่มเงา เริ่มมีผลผลิตคล้ายป่า สามารถเก็บเห็ดป่าที่จะขึ้นเฉพาะพื้นที่สมบูรณ์ และมียางนามนพื้นที่ ขายราคากิโลกรัมละ 200-300 บาท ส่วนผักหวานป่าเก็บได้ทุกปี กิโลกรัมละ 200 บาท เน้นกินอะไรก็ปลูกอย่างนั้น แถบไม่ต้องซื้อวัตถุดิบมาปรุงอาหารในแต่ละวัน ลดรายจ่ายของครอบครัวได้จำนวนมาก ที่สำคัญครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมด้วยการเก็บพืชป่าในที่ของตัวเองกว่า 20,000 – 30,000 บาทต่อปี โดยพื้นที่นี้ตลอด 10 ปี ที่เริ่มปลูกเปลี่ยนเป็นหนึ่งหัวนาป่าไร่น้อย ไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอีกเลย ด้วยมีบ่อน้ำเตรียมไว้สำหรับเก็บน้ำในฤดูฝน น้ำเต็มบ่อสามารถนำไว้ใช้ได้ในช่วงแล้งของทุกปี รวมทั้งการเตรียมบ่อน้ำบาดาลไว้เพิ่มเติม ซึ่งได้จากการเรียนรู้แนะนำจากทั้ง 2 หน่วยงาน จึงมีน้ำใช้อย่างพอเพียงเป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนบ้านเริ่มปรับพื้นที่สู่เกษตรวิถีใหม่มากขึ้น ซึ่งมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) ได้ชูให้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน บ้านโนนแต้ ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ กล่าวว่า น้ำเป็นหัวใจสำคัญของทุกๆด้าน มีน้ำการเกษตรก็เจริญงอกงาม มีน้ำชุมชนก็ชุ่มชื้นไม่แล้งแค้น ซึ่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน บ้านโนนแต้จ.ชัยภูมิ เป็นอีกพื้นที่สามารถเป็นตัวอย่าง เป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชนแห่งอื่นนำกระบวนการจัดการน้ำไปประบใช้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านเกษตรวิถีใหม่ การบริหารจัดการด้วยแก้มลิง การสร้างเครือข่ายน้ำชุมชน ได้พื้นที่เก็บกักน้ำกว่า 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังช่วยฟื้นลำน้ำที่เคยตายไปแล้วกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ชาวบ้านได้ประโยชน์ในระยะยาว ปัญหาที่เคยมีจากน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก แต่กลับขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งก็หายไปชุมชนไม่ต้องหลีกหนีจากพื้นที่ไปหางานทำในที่ไกลบ้าน มีอู่ข้าวอู่น้ำเป็นทรัพยากรที่ชุมชนนำมาใช้ประโยชน์เกิดการพัฒนาตัวเอง และสร้างมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน สำหรับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน บ้านโนนแต้ จ.ชัยภูมิ มีจุดเรียนรู้ด้านการจัดการ 4 แห่ง แบ่งเป็นจุดที่1.หนึ่งหัวนาหนึ่งป่าน้อย 2.เชื่อมน้ำชี สร้างแก้มลิง เปลี่ยนชีวิต 3.สระน้ำเพื่อชีวิต สำรองน้ำ พึ่งพาตนเองและ 4. ติดตามสถานการณ์น้ำ มองใหญ่ทำเล็ก โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ด้านการจัดการน้ำและแนวทางตามแนวพระราชดำริ ได้ตลอดทั้งปี และขยายโครงการสู่ชุมชนอื่นทั่วประเทศ

“พล.อ.ประวิตร” สั่งบูรณาการเข้มคุ้มครองทรัพยากรทางทะเล

สำนักข่าวไทย 4 พ.ย.- “พล.อ.ประวิตร” ย้ำหน่วยงานรัฐร่วมมือทุกภาคส่วน คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อประชาชนอย่างยั่งยืน ​วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.30 น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อหารือแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และได้รับรองร่างรายงานสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ. 2562 พร้อมผลักดันการออกกฎหมายลำดับรอง ตามมาตรา 21 จำนวน 2 ฉบับ และการออกกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 18 และกำหนดมาตรการคุ้มครองตามมาตรา 23 จำนวน 4 ฉบับ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 อนึ่ง ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้ติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานโครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวน 7 ขาแท่นไปวางเป็นปะการังเทียม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการประกาศใช้กฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องตามมติคณะกรรมการฯ ที่ผ่านมา ​พลเอกประวิตร กล่าวว่า คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างรายงานสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ. 2562 […]

ตร.สั่งฟ้อง “ทวี-ปารีณา” บุกรุกป่าราชบุรี กว่า 700 ไร่

ตำรวจ ปทส. สรุปสำนวนคดีเห็นควรสั่งฟ้อง “ทวี-ปารีณา” บุกรุกผืนป่าใน จ.ราชบุรี เบื้องต้นพบเข้าข่ายผิด 4 ข้อหา นัด “ปารีณา” มารับทราบข้อกล่าวหา 5 พ.ย.นี้ ส่วน “ทวี” ให้มารับทราบข้อกล่าวหา 23 พ.ย.

หิ้วปิ่นโตชมวิว360องศา

กระบี่ 1 พ.ย.63 – วราวุธ ชวนหิ้วปิ่นโตเที่ยวอุทยานแห่งชาติฯ นำร่องเปิดจุดชมวิว 360 องศา เกาะห้อง จ.กระบี่ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมผู้บริหารระดับสูงฯ เปิดจุดชมวิว 360 องศา หนึ่งเดียวในอันดามัน บนยอดเขาเกาะห้อง อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จ.กระบี่ จุดชมวิวแห่งใหม่ของจังหวัด โดยร่วมรณรงค์ผ่านโครงการทำความดีด้วยหัวใจลดภัยสิ่งแวดล้อม เชิญชวนประชาชนนักท่องเที่ยวหิ้วปิ่นโตใส่อาหาร พกกระติกน้ำส่วนตัวมารับประทานที่เกาะห้องแทนการใช้กล่องพลาสติก แก้วพลาสติก กล่องโฟมที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง รวมทั้งให้หันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทุกแห่งทั่วประเทศ  รวมทั้งมีโครงการขยะคืนถิ่น ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวนำขยะที่จะทิ้งขึ้นคืนฝั่ง ลดการตกค้างของขยะเหลือทิ้งในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าในท้องถิ่นอีกด้วย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กล่าวว่า ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาชมความงามของเกาะห้อง โดยเฉพาะจุดชมวิว 360 องศา ซึ่งมีศักยภาพเป็นจุดท่องเที่ยว จุดเช็คอินแห่งใหม่ ของอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จ.กระบี่ สามารถเห็นวิวทิวทัศน์ได้โดยรอบที่สวยงาม ต่างจากพื้นที่อื่น ๆ สิ่งสำคัญทุกภาคส่วนต้องช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม ไม่ทำลายขีดเขียน หรือทิ้งขยะไว้เด็ดขาด ขอให้ช่วยกันดูแล อย่าทิ้งขยะหรือถ้ามีก็ให้นำกลับไปทิ้งที่ที่กำหนดไว้ด้วย เพื่อความสะอาด ปลอดภัยต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอีกด้วย นอกจากนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณป่าในเมือง จังหวัดกระบี่ เช่นมหัศจรรย์เขาขนาบน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำโลก โครงการ “สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย” รวมทั้งตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน  โดยมอบถุงยังชีพแก่เครือข่ายภาคประชาชน และอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล จังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ต จำนวน 50 ชุด และร่วมปลูกต้นจิกทะเล เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับป่าอนุรักษ์ พัฒนาเป็นเส้นทางธรรมชาติป่าชายเลนเขาขนาบน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับโลก ลำดับที่ 1,100 และเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศไทย รวมความยาว 526 เมตร เนื้อที่ 3,649 ไร่ 

น้ำพางโมเดล ต้นแบบจัดการป่ายั่งยืน

น่าน 31 ต.ค. 63 – ชูน้ำพางโมเดล จ.น่าน เป็นพื้นที่ประสบความสำเร็จแก้ปัญหาเขาหัวโล้น ชุมชนร่วมดูแลจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และที่ดินตามแนวทาง “น้ำพางโมเดล” อ.แม่จริม จังหวัดน่าน ในวาระครบ 5 ปี โครงการน้ำพางโมเดล เพื่อแก้ไขปัญหาภูเขาหัวโล้นสู่ระบบการเกษตรเชิงนิเวศ ตำบลน้ำพาง จำนวน 10 หมู่บ้าน พื้นที่ 4,253 ไร่จำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 285 ราย โดยมีผู้นำท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร โรงเรียนบ้านน้ำพาง และองค์กรภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมการสถาปนาน้ำพางโมเดล ที่เปลี่ยนภูเขาหัวโล้นเป็นระบบเกษตรเชิงนิเวศ เพื่อความก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตทางการเกษตรรูปแบบน้ำพางโมเดล ที่ไม่ทำลายสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา น้ำพางโมงเดลได้เปลี่ยนวิธีการทำเกษตรของชาวบ้านในพื้นที่ที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นการทำการเกษตรทีาได้ประโยชน์ทั้งชาวบ้านมนชุมชน โดยที่ไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติอย่างถาวร และยังสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชนได้อย่างมั่นคงยั่งยืน ซึ่งเป็นผลจากความร่วมแรงร่วมใจปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนชาวน้ำพาง ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จนสามารถทำให้น้ำพางโมเดลเป็นหนึ่งในโมเดลตัวอย่างสำคัญให้กับอีกหลายๆพื้นที่ได้ ทั้งนี้สิ่งสำคัญชาวบ้านในพื้นที่ สามารถสะท้อนปัญหา หรือสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลนำไปหาวิธีขจัดปัญหาเหล่านั่นได้อย่างตรงจุด พร้อมทั้งนี้ได้ให้แนวทางการทำงานกับปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ อธิบดีกรมป่าไม้ และอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่จะดำเนินการแก้ปัญหาให้ชาวน้ำพางอย่างรอบด้าน  โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมต่อยอดนโยบายรัฐบาล แก้ไขปัญหาที่ยังคงค้างคาในหลายพื้นที่ เช่น เรื่องที่ทำกิน และปัญหาปากท้องของประชาชน ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ มีที่ดินทำกินอย่างถูกต้องเหมาะสม และไม่เกิดปัญหาการบุกรุกป่าให้ได้ผลสำเร็จโดยยเร็ว

อีโคสคูล โรงเรียนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

กทม. 29 ต.ค. 63 – ขยายโครงการอีโคสคูล ช่วยพัฒนาเยาวชนไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าสร้างเยาวชนเป็นพลังดูแลปกป้องทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในท้อนถิ่นอย่างยั่งยืน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) , สำนักงานเขตพระโขนง และสำนักงานเขตบางนา ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ “โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรืออีโคสคูล โดยสนับสนุนและผลักดัน 11 โรงเรียนรอบโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ในเขตพระโขนง เขตบางนา และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 พัฒนาเด็กไทยให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตลอดระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ.2563 – 2565) นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การปลูกฝังจิตสำนึก คุณธรรมและค่านิยมที่ดี ในการมีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กและเยาวชนไทย จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับเยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรืออีโคสคูล ในครั้งนี้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทีมที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา จะทำหน้าที่ให้ความรู้และคำปรึกษากระบวนการพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาฯ หรืออีโคสคูล ในพื้นที่สำนักงานเขตพระโขนง และ สำนักงานเขตบางนา จะทำหน้าที่ให้การสนับสนุนเชิงนโยบาย ประสานงานและติดตามงานในโรงเรียนต่าง ๆ โดยมี บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการ ประสานงานกับภาคีหลัก ให้การสนับสนุนและผลักดันนโยบายของบริษัทในด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ซึ่งโรงเรียนและชุมชนทำหน้าที่สนับสนุนและผลักดันให้เกิดการจัดการเรียนรู้ตามหลักการอีโคสคูล การจัดการแลกเปลี่ยนความรู้ รวมทั้งผลักดันและสนับสนุนให้เกิดหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียน สู่การปฏิบัติที่เกิดจริงในโรงเรียน ชุมชน และสังคมต่อไป รวมทั้งจะขยายผลไปยังภาคธุรกิจเอกชน หน่วยงาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ อีกด้วย อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2551 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรืออีโคสคูล ตามแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน เพื่อสร้างนวัตกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน ที่จะกระตุ้นพัฒนาการของเยาวชนให้มีใจรักท้องถิ่น พร้อมดูแลปกป้อง และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมแล้วกว่า 291 โรงเรียน อีกทั้งได้ขยายเครือข่ายโครงการฯ กับหน่วยงานและภาคธุรกิจเอกชนอีกหลายแห่ง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

1 98 99 100 101 102 105
...