“พล.อ.ประวิตร” ประชุมเร่งรัดโครงการด้านน้ำ

“พล.อ.ประวิตร” ประชุมเร่งรัดโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านหนองกระทิง จ.ฉะเชิงเทรา ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นแหล่งน้ำดิบสำรองเพื่อการอุปโภคและบริโภคในพื้นที่

ส่งอุรังอุตังกลับบ้านเกิด

กรมอุทยานแห่งชาติฯ ส่งมอบลิงอุรังอุตัง 2 ตัว ที่จับได้จากขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า คืนให้กับประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นตัวที่ 70 และ71 ฉลองความสัมพันธ์ครบ 70 ไทย-อินโดฯ

เร่งวิจัยหาสายพันธุ์และอนุรักษ์โครงกระดูกวาฬอำแพง

ปทุมธานี 15 ธ.ค. – ทส. สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งกำหนดแนวทางอนุรักษ์และการวิจัยหาสายพันธุ์ของวาฬอำแพง นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสั่งการให้กรมทรัพยากรธรณีและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกันขุดค้นและพิสูจน์สายพันธุ์ซากวาฬ ซึ่งพบที่ ต.อำแพง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคาร ทั้งนี้ทีมสำรวจเก็บกู้โครงกระดูกวาฬตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม ล่าสุดพบชิ้นส่วนกระดูกเกือบสมบูรณ์ทั้งตัว ประกอบด้วย กระดูกสันหลัง ซี่โครง กะโหลกและขากรรไกรและแขนและมือ (ครีบ) ข้างขวา ซึ่งถือว่า สมบูรณ์กว่าร้อยละ 90 รวม 127 ชิ้น ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนอนุรักษ์ตัวอย่างที่ห้องปฏิบัติการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ขณะนี้นักวิจัยเริ่มเปิดเฝือก ทำความสะอาดกระดูกด้วยการนำดินออกด้วยมีดแซะ เครื่องเป่าลม สกัดเอาหินหรือส่วนที่แข็งออกด้วยปากกาลม ล้างด้วยแอลกอฮอล์ ซ่อมแซมส่วนที่แตกหักด้วยกาวร้อน หรือกาวใสชนิดแห้งเร็ว เมื่อสะอาดแล้วจึงทาน้ำยาเคลือบ (Hardener) เพื่อป้องกันการสัมผัสอากาศ และเพิ่มความแข็งให้กับกระดูก แล้วเสร็จจึงใส่หมายเลขตัวอย่าง นำไปจัดเก็บในคลังตัวอย่างเพื่อรอศึกษาวิจัย จากตัวอย่างทั้งหมด 127 ชิ้น […]

ระบบส่งน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ แก้ภัยแล้ง

มุกดาหาร 11 ธ.ค.63 – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เปิดโครงการระบบกระจายน้ำแบบพลังงานแสงอาทิตย์ แก้ภัยแล้ง บ้านป่าหวาย มุกดาหาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดโครงการระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ บ้านป่าหวาย ต.บ้านโคก อ.เมือง จ.มุกดาหาร โดยมีนายวีระชัย นาคมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ร่วมกับคณะผู้บริหารกระทรวงฯ และประชาชน ร่วมโครงการการเปิดระบบกระจายน้ำ แก้ภัยแล้ง นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า พื้นที่บ้านป่าหวาย ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมาอย่างต่อเนื่อง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 11 จึงได้ดำเนินการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้  ซึ่งเป็นขนาดไม่น้อยกว่า 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หอถังสูง 20 เมตร แผงโซล่าเซลล์ 300 วัตต์ จำนวน 16 แผง โดยตั้งอยู่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำห้วยคำเตย ซึ่งสามารถช่วยเหลือประชาชนในด้านน้ำอุปโภคบริโภคได้กว่า 149 ครัวเรือน หรือกว่า 340 คน ซึ่งหลังจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก จะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบต่อไป ทั้งนี้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้นโยบายน้ำถึงนา ประปาถึงบ้านหน่วยงานต่างๆ สังกัดกระทรวงฯ จึงพยายามหาทางแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนอย่างเร็วที่สุด ซึ่งอ่างเก็บน้ำห้วยคำเตย หากขาดฝนน้ำคงลด หากขาดป่าน้ำคงแห้ง ทุกคนต้องช่วยกันดูแลรักษาป่าชุมชนให้ดี เพราะป่าคือแหล่งผลิตน้ำและความอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนวางแผนการปลูกพืชผักการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพการใช้น้ำของชุมชน เพื่อทุกครัวเรือนจะได้มีน้ำใช้ในการเพาะปลูก และใช้ประโยชน์ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งเพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้ง สามารถบรรเทาความเดือดร้อนในระยะยาวได้  ทั้งนี้ยังได้มอบน้ำดื่มสะอาดให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นผู้แทนสำหรับการแจกจ่ายน้ำดื่มให้ประชาชนในชุมชนต่อไป

ทส.เดินหน้านโยบายเชิงรุกยกกำลัง2+4

อุบลราชธานี 10 ธ.ค.63- ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ มอบนโยบายเชิงรุก ยกกำลัง 2+4 จ.อุบลราชธานี กำชับต้องช่วยเหลือประชาชนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยไม่สร้างความเดือดร้อนเพิ่มเติม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมสรุปผลการดำเนินงานและรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมาของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวง ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานีพร้อมนำนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบให้กับหน่วยงานในพื้นที่เป็นกรอบในการดำเนินงานในปีต่อไป โดยมี นายวิรุจ วิชัยบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ให้การต้อนรับ และยังมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟัง นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การทำงานของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องเป็นศูนย์การในการทำงานระดับพื้นที่ ให้ดูปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นที่ตั้ง และสร้างความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวงในการแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด หัวใจสำคัญคือกระทรวงฯมาเพื่อแก้ปัญหาไม่ใช่สร้างปัญหาเพิ่มให้ประชาชน จากนี้จะทำงานกันให้หนักขึ้นเป็นเท่าตัว และต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นเท่าตัวเช่นกัน ตามนโยบายของ รมว.ทส. ทส. ยกกำลัง 2 บวก 4 นอกจากนี้ได้เน้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมจากการเอ่อล้นของแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล การแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ปัญหาฝุ่นควันมลพิษ การดูแลป่าไม้ ป่าชุมชน และการจัดหาที่ดินทำกินคทช. ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน พร้อมทั้งให้ทุกคนดูแลสุขภาพส่วนตัวให้ดีที่สุดเพื่อจะได้ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพต่อไป นอกจากนี้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ยังได้ปลูกต้นรวงผึ้ง บริเวณหน้าอาคารสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 ร่วมกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ก่อนที่จะชมการสาธิตการใช้เครื่องตรวจวัดฝุ่นละออง PM10 PM2.5 เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศอุตุนิยมวิทยา และรถหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่

เปิดให้ทุน ทสม. ใช้จัดการไฟป่าฯ-โคก หนอง นา โมเดล

เพชรบุรี 7ธ.ค.63 – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เปิดโครงการเสริมศักยภาพเครือข่าย ทสม. เขียนโครงการและการเข้าถึงแหล่งทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายยุทธพล  อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เปิดโครงการเสริมศักยภาพเครือข่าย ทสม. ในการเขียนโครงการและการเข้าถึงแหล่งทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ โรงแรมโกลเด้น บีช ชะอํา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี พร้อมทำความเข้าใจกับเครือข่ายทสม. จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรสงคราม รวม 200 คน เข้าร่วมโครงการ นายยุทธพล  อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า เครือข่าย ทสม. มีบทบาทและเป็นกลไกเชิงพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่น ร่วมกับกระทรวงฯ มาเป็นอย่างดีและต่อเนื่องมาตลอด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้มอบนโยบายการทำงานแบบ  ทส. ยกกำลัง 2 บวก 4 ที่เน้นการทำงานที่มีเป้าหมายชัดเจนและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงควบคู่กับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นการยกระดับการทำงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงรุกมากขึ้น โดยเครือข่าย ทสม. กว่า 242,000 คน ทั่วประเทศจะปรับบทบาทหน้าที่ของตนเองให้เป็น ทสม. วิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของทั้ง 3 จังหวัด เน้นการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ด้วยวิธีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เช่น การสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นในพื้นที่ จ.เพชรบุรี การเรียงหินใหญ่กันคลื่น ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม การสร้างปะการังเทียมให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลเพิ่มขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ด้วยการคัดแยกก่อนทิ้ง โดยนำหลักการ 3Rs ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม  ทั้งนี้เพื่อสร้างแรงจูงใจ มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่เครือข่าย ทสม. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำกรอบแนวทางการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมโครงการขนาดเล็ก วงเงิน 500,000 บาท เพื่อให้เครือข่าย ทสม. เขียนโครงการขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญสอดรับกับนโยบายรัฐบาลและสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.การจัดการไฟป่าและลดหมอกควันในพื้นที่  17 จังหวัดภาคเหนือ และ 2.โครงการส่งเสริม โคก หนอง นา โมเดล และการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า โครงการเสริมศักยภาพเครือข่าย ทสม. ในการเขียนโครงการและการเข้าถึงแหล่งทุนด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เครือข่าย ทสม. ในการเข้าถึงแหล่งทุน และจัดทำข้อเสนอโครงการ เพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณ โดยให้ความรู้ในเรื่องแหล่งทุน และการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นส่วนสร้างให้ชุมชน ประชาชนมีทุนเสริมการดูแลทรัพยากรในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น .-สำนักข่าวไทย

เยาวชนเมืองเพชรฯ สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ

เพชรบุรี 1 ธ.ค.63 – หนุนเยาวชนเมืองเพชรบุรีสู่การพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นายยุทธพล  อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดกิจกรรมค่ายเยาวชน Green Youth Camp ส่งเสริมเยาวชนจังหวัดเพชรบุรี รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมพลังร่วมขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 1 – 3 ธันวาคม 2563 ณโรงแรมลองบีช ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยมีเยาวชนระดับอุดมศึกษาของจังหวัดเพชรบุรี และผู้แทนเยาวชนจากโครงการAction for Climate Empowerment : ACE Youth Camp 2020 นายยุทธพล  อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับเยาวชนสนับสนุนและผลักดันกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของเยาวชนทุกช่วงวัยและทุกระดับการศึกษามา ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนให้เป็นกำลังในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นพลังสำคัญในการขยายเครือข่ายความร่วมมือเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบันการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่สังคมคาร์บอนต่ำ เน้นการลงมือปฏิบัติเพี่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น สู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เป็นเมืองเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ โดยที่การพัฒนาไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม นายสุรชัย  อจลบุญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กิจกรรมค่ายเยาวชน Green Youth Camp มีกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ การปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลง พร้อมศึกษาดูงานด้านพลังงานสิ่งแวดล้อม ปลูกป่าชายเลนและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำตามฤดูกาล รวมทั้งถอดบทเรียนกิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงกับแนวคิดการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นำมาถ่ายทอดผลงานผ่านหัวข้อพลังเยาวชน พลังพลเมือง สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ที่จะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชน เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน .-สำนักข่าวไทย

ทช. แจ้งด่วนทุกจังหวัด เตือนกินหมึกบลูริงพิษถึงตาย

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสั่งหน่วยงานภูมิภาคทุกจังหวัด ประชาสัมพันธ์ประชาชน ห้ามบริโภคหมึกบลูกริง เลี่ยงสัมผัส และแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทันที พร้อมขยายผลเฝ้าระวังปลาปักเป้า แมงกะพรุนกล่อง และเหรา

เร่งแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งสงขลา

สงขลา 29 พ.ย. 63 – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ วาง 3 มาตรการช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลสงขลาหวังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่ติดตามสถานการณ์ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณแหลมสมิหลา และหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา เพื่อรักษาระบบนิเวศชายฝั่ง และลดผลกระทบประชาชนพื้นที่ในอนาคต ทั้งนี้นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายจตุพร​ บุรุษพัฒน์​ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​​ ,อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง​ ,อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี​ ,อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ​ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือบูรณาการทำงานแก้ปัญหาร่วมกัน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวด้ลอม กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหา​การกัดเซาะชายฝั่ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจธรรมชาติ​ให้มากที่สุด แล้วนำมาปรับใช้แก้ปัญหาอย่างเหมาะสม โดยทุกหน่วยงานจะต้องบูรณาการร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืน ทั้งการแก้ไขเฉพาะหน้า​ และในระยะยาว ​ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญและห่วงใยผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน​ โดยการแก้ไขปัญหา​จุดหนึ่งจะต้องไม่กระทบอีกจุดหนึ่ง​ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ให้ความสำคัญและเข้าใจในเรื่องนี้​  โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน​ ​มอบหมายกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง​ แบ่งกลุ่มหาดในประเทศไทยออกเป็น​ 8​ กลุ่มหาด  และกำหนด 3 มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่น ประกอบด้วย​ 1.มาตรการสีขาว​ เช่น​ การกำหนดพื้นที่ถอยร่นให้พื้นที่ชุมชนที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง 2.มาตรการสีเขียว เป็นการใช้โครงสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม​ เช่น​ การปลูกป่าช่วยชายฝั่งทะเลถูกคลื่นกัดเซาะ การปักเสาไม้ไผ่ดักตะกอนป่าชายเลน​ และ 3.มาตรการสีเทา​ เป็นการใช้โครงสร้างแข็งช่วยในการป้องกันคลื่น​ เช่น​ การสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันคลื่นชายฝั่ง เป็นต้น​  อย่างไรก็ตามกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ จะเป็นหน่วยงานหลักประสานกับทุกหน่วยงาน​ ร่วมกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะให้มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง ระบบนิเวศทางทะเล ที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตของประชาชน​อย่างยั่งยืน .-สำนักข่าวไทย

เร่งแก้ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์เกาะหลีเป๊ะ​

สตูล 28 พ.ย.63 – เปิดโครงการส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์เกาะหลีเป๊ะ​ จ.สตูล​  ชูการอนุรักษ์วิถีชีวิตท้องถิ่น กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นายวราวุธ​ ศิลปอาชา​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​  (รมว.ทส.)​  พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง​ฯ​ ลงพื้นที่​ชุมชนชาวเลเกาะหลีเป๊ะ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล​ เพื่อติดตามการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในพื้นที่ผืนสุดท้ายที่ชนะคดีความ​ โดยเยี่ยมชมชุมชนกลุ่มบ้านปาดัก​ และรับฟังปัญหาข้อคิดเห็น​ ข้อเสนอแนะ​ ของชาวเลกรณีที่ดิน​ สค1 เลขที่​ 11​ ออกเอกสารสิทธิเกินพื้นที่มากกว่า​ 30​ ไร่​ ทับซ้อนพื้นที่ชุมชนชาวเล​ 125​ ครอบครัว​  ซึ่งปัจจุบันไม่มีสิทธิในการซ่อมแซมและปรับปรุงบ้าน​ จากนั้นได้รับฟังข้อเสนอแนวทางการใช้พื้นที่สุสานเป็นพื้นที่สาธารณะ​ และร่วมพิธี​ “ปูญาลาโว้ย” สู่เขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม​  โดยขบวนเรือได้แห่เรือเข้าฝั่ง​ ซึ่งนายวราวุธ ได้ทำการผูกผ้าหัวเรือ เป็นประธานเปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล​ ครั้งที่​ 11​ และเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือ​ “ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ สถาบันวิจัยสังคม​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน​ (องค์การมหาชน)​ ศูนย์มานุษยาสิรินธร​ (องค์การมหาขน)​ มูลนิธิชุมชนไท​ มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ​ เครือข่ายชาวเล​ และเครือข่ายกะเหรี่ยง​ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กล่าวว่า ขอบคุณและขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเกาะหลีเป๊ะทุกกลุ่ม​ โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและมีความห่วงใยในการแก้ไขปัญหา​ เนื่องจากปัญหามีความสลับซับซ้อน​  มีความเกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน​ สะสมมานาน​ ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาจะทำทีเดียวไม่ได้​อาจต้องใช้เวลา แต่พร้อมนำข้อเสนอหารือกับภาคส่วนต่างๆ ให้เกิดการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด ในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ จะเป็นกลไกลสำคัญที่จะผลักดันในการแก้ไขปัญหา​ทั้งในเรื่องที่ดินทำกิน​ ซึ่งหน้าที่ของกระทรวงฯ​ จะทำอย่างไรที่จะดูแล​ รักษา​ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแผ่นดินไทยให้คงอยู่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง​ๆ​ และประชาชนอย่างยั่งยืน อีกทั้งจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง​ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาให้พี่น้องชาวเลและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ​ ให้สามารถดำรงชีวิตและอาศัยในแผ่นดินเกิดอันเป็นที่รักของตนได้​ รวมทั้งส่วนสำคัญในการอนุรักษ์และรักษาวิถีชีวิตชาวเลในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ จิตวิญญานรักและหวงแหนในแผ่นดินแห่งนี้​ สามารถเริ่มต้นที่ตัวเรา​ จาก​ 1 ตารางเมตร​ที่เรายืน​ เห็นขยะที่ไหน​ เก็บที่นั่น​ เห็นความไม่สวยงาม​ ความไม่ถูกต้อง​ ​ให้ช่วยกัน​คนละไม้คนละมือ .-สำนักข่าวไทย

พิสูจน์หาดคึกคักแม่เต่ามะเฟืองวางไข่

พังงา 27 พ.ย.- ข่าวดีจากพังงา! เจ้าหน้าที่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 พิสูจน์ชายหาดคึกคัก อ.ตะกั่วป่า เต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ ห่วงน้ำทะเลท่วมถึงหลุมรัง เตรียมแผนขุดย้ายไปเพาะฟักในจุดปลอดภัย นายจำรัส หลีเจี้ย กำนันตำบลคึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ประสานศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟือง เพื่อลงพื้นที่ตรวจพิสูจน์บริเวณชายหาดคึกคัก หลังได้รับแจ้งจากชาวประมงพื้นบ้านที่กำลังจะออกหากุ้งเคยว่าพบรอยอาจเป็นเต่าทะเลตัวใหญ่ขึ้นมาวางไข่ นายจักรพันธ์ ม่วงยิ้ม ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย สำนักบริหารทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สทช.6) กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นลักษณะรอยของพายหน้าจากซ้ายถึงขวากว้างประมาณ 192 เซนติเมตร ความกว้างหน้าอก 100 เซนติเมตร คาดเป็นแม่เต่ามะเฟือง นอกจากนี้ ยังพบร่องรอยที่คาดว่าจะเป็นหลุมไข่ของแม่เต่า บริเวณใกล้กับผักบุ้งทะเล และใกล้กับน้ำทะเลท่วมถึง โดยทั้ง 2 จุด ไม่เอื้อต่อการเพาะฟัก และพบว่าแม่เต่ารังนี้มีลักษณะการขึ้นมาวางไข่ที่แปลกไปจากตัวอื่น คือ คลานขึ้นมาวางไข่ และลงทะเลในทางเดียวกัน รวมทั้งมีไข่ลมบริเวณผิวทรายใกล้จุดน้ำทะเลท่วมถึง เจ้าหน้าที่จึงจำเป็นที่จะต้องถ่ายภาพมุมสูง เพื่อเก็บพฤติกรรมของแม่เต่า ก่อนขุดย้ายไข่เต่าเพื่อทำการเพาะฟักต่อไป.-สำนักข่าวไทย

1 95 96 97 98 99 105
...