ปรับเกณฑ์ผู้เลี้ยงกุ้งเข้าถึงเงินกู้สถาบันการเงินง่ายขึ้น

กรุงเทพฯ 13 เม.ย. – เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเฮ! ครม. ปรับหลักเกณฑ์เข้าถึงเงินกู้สถาบันการเงินง่ายขึ้น


นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (12 เมษายน 2565) ว่า ครม.เห็นชอบปรับหลักเกณฑ์การสนับสนุนด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี หรือ GAP (Good Aquaculture Practice) และมาตรฐานฟาร์มกุ้ง CoC (Code of Conduct) จากมติ ครม.เมื่อ 30 ก.ย.2546 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเดิมได้กำหนดให้เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจะต้องเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองทั้ง 2 มาตรฐาน คือ GAP และ CoC จากกรมประมง ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อ ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสามารถเลือกขอรับการรับรองมาตรฐานเพียงมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งที่เหมาะสมเท่านั้น ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงปรับหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เป็นเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดและแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.) จากเดิมอยู่นอกพื้นที่ป่าชายเลน
  2. เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี GAP (Good Aquaculture Practice) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล Code of conduct หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมง หรือหน่วยงานรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จากเดิมที่ต้องผ่านการรับรองทั้ง 2 มาตรฐาน คือ GAP และ CoC จากกรมประมง

ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงินและแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบต่อไป


นางสาวรัชดากล่าวด้วยว่า การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่ป่าชายเลนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายกำกับดูแลการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไม่ให้อยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบังคับใช้อยู่แล้ว โดยเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่จะขอรับรองมาตรฐานนั้น จะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) กับกรมประมงก่อน ซึ่งต้องแสดงหลักฐานข้อมูลที่ดินว่าสถานประกอบการไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่ต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น เขตพื้นที่ป่าชายเลน เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น รวมถึงต้องอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามที่คณะกรรมการประมงจังหวัดประกาศกำหนด และต้องแจ้งประกอบกิจการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง