ไทยเร่งผลักดันกฎหมายการประกันภัยทางทะเล

นนทบุรี 30 ก.ค.-สนค. หนุนให้ประเทศไทยเร่งผลักดันกฎหมายการประกันภัยทางทะเล หวังรับมือวิกฤตฉุกเฉินส่งออกทางเรือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นซื้อขาย พร้อมเร่งพัฒนาการขนส่งแบบห้องเย็น สร้างสัมพันธ์คู่ค้าหลัก และหาคู่ค้าใหม่


นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การค้าทางเรือถือถือว่ามีความสำคัญอย่างมากกับการส่งออกของไทย หากเกิดวิกฤติของการเดินเรือ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการค้าเท่านั้น หากยังส่งผลในแง่มุมของการประกันภัยและมาตรการชดเชยสำหรับวิกฤติที่เกิดขึ้นด้วย โดยเห็นว่าไทยจะต้องมีการผลักดันกฎหมายการประกันภัยทางทะเล ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนและทำให้เกิดความมั่นใจในการซื้อขาย สร้างความเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสมกับการขนส่งทางทะเลของไทย เนื่องจากไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร และมีนโยบาย อาหารไทยอาหารโลก ซึ่งถือได้ว่าสินค้าเกษตรและอาหารเป็นหนึ่งในสินค้าหลักในการส่งออก ควรพิจารณาให้สินค้าเกษตรและอาหารได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษระหว่างการขนส่งทางทะเล

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแล้วก็ตาม แต่ยังขาดกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยทางทะเลเป็นการเฉพาะ ทำให้เมื่อเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาประกันภัยทางทะเลขึ้น จะวินิจฉัยโดยการใช้กฎหมายอังกฤษในฐานะหลักกฎหมายทั่วไป และใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัยในฐานะบทกฎหมายที่ใกล้เคียงในการวินิจฉัยคดีมาปรับใช้ ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยทางทะเลไม่ทราบสิทธิและหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายประกันภัยทางทะเลของไทยโดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการใช้กฎหมายสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยทางทะเล ตลอดจนภาคการประกันภัยทั้งระบบ เกิดความชัดเจนในการดำเนินการ และสามารถลดความเสี่ยงหากเกิดวิกฤติได้ในอนาคต


นอกจากนี้ ที่ผ่านมาหน่วยงานของภาครัฐตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว จึงมีจัดทำร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. …. ขึ้นเสนอโดยกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยมีกฎหมายประกันภัยทางทะเลเป็นของตนเอง และคณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม.) มีมติ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ซึ่งร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเลฯ ฉบับนี้กําหนดให้สอดคล้องกับหลักสากลที่นานาประเทศใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ กฎหมายการประกันภัยทางเรือ (Marine Insurance Act 1906) และ กฎหมายการประกันภัย (Insurance Act 2015) ของประเทศอังกฤษ มีสาระสำคัญ อาทิ การกำหนดขอบเขตของการบังคับการใช้สัญญาประกันภัยทางทะเล ทั้งการบังคับใช้ทั้งภายในและระหว่างประเทศ การกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้รับประกันภัย และผู้เอาประกันภัย การกำหนดวิธีการคำนวณมูลค่าที่เอาประกัน การกำหนดอายุความในการเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับสัญญาประกันภัยตรง การกำหนดวิิธีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งการกำหนดรายละเอียดสาระสำคัญและรายการต่าง ๆ ที่ต้องแสดงในกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล

ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งหากมีผลบังคับใช้จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายในการตีความหมายประกันภัยทางทะเลของไทย  อันจะเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยทางทะเลสามารถทราบสิทธิและหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบการและประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นเครื่องมืออันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเสริมประสิทธิภาพการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย สร้างกลไกในการเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจไทยด้านอุตสาหกรรมประกันภัยทางทะเล และขนส่งให้แข่งขันในเวทีโลกได้ รวมทั้งช่วยให้ไทยสามารถตั้งรับวิกฤตหรือสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างทันท่วงที และไทยควรส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งสินค้ารูปแบบห้องเย็น (Cold-Chain Logistics) เพื่อลดความสูญเสียจากการขนส่งสินค้าที่เน่าเสียง่าย และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กระบวนการโลจิสติกส์ในการบริหารจัดการการขนส่งแบบห้องเย็น (Value-added Cold Chain) เช่น 1.การจัดการบรรจุภัณฑ์สำหรับห้องเย็น (Portion Packing) ที่แตกต่างตามรูปแบบสินค้าและตรงความต้องการของลูกค้าปลายทาง 2.การปิดผนึกด้วยระบบแรงดันสูง (High Pressure Processing : HPP) และการใช้ความร้อนในระยะสั้น (High-temperature Short-time Heating: HTST)  เพื่อการฆ่าเชื้อก่อนการบรรจุเข้าห้องเย็นซึ่งมีต้นทุนต่ำ โดยนิยมใช้กับผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ 3.การแช่แข็ง (Blast freezing) เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้นานขึ้น และ 4.การจัดการพาเลทห้องเย็นแบบผสมผสานสินค้า เป็นต้น

ขณะเดียวกัน จะต้องเร่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม และออสเตรเลีย เป็นต้น เพราะ 5 ประเทศนี้ เป็นคู่ค้าหลักที่ไทยส่งออกผ่านทางเรือ โดยมียอดส่งออกเฉลี่ย 3 ปี (2561-2563) ถึงปีละ 2.45 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตรา ร้อยละ 48.55 หรือเกือบครึ่งหนึ่งของการส่งออกทางเรือทั้งหมดของไทย ที่มีประมาณปีละ 5 ล้านล้านบาท และหากพิจารณาสินค้าส่งออก 15 อันดับแรก พบว่า มีการส่งออกทางเรือผ่าน 5 ประเทศ มีมูลค่าถึง 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 24.06 ของการส่งออกทางเรือทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ  16.11 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย โดยสินค้าส่งออกทางเรือไปยัง 5 ประเทศคู่ค้าสำคัญ 15 อันดับแรก ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรม สินค้าอาหารและการเกษตร และสินค้าเกี่ยวกับการขนส่งและเครื่องจักรกล โดยกลุ่มที่อ่อนไหวที่สุด คือ สินค้าอาหารและการเกษตร ที่มีการส่งออกทางเรือมูลค่าเฉลี่ยรวมราว 2.4 แสนล้านบาทต่อปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  4.68 ของการส่งออกสินค้าทางเรือทั้งหมด.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

งานบอล “ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 ล้อการเมืองจัดเต็ม

ฟุตบอลประเพณี “ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 เริ่มแล้ว ล้อการเมืองจัดเต็ม หลังอัดอั้นมา 5 ปี เหน็บ “รักวัวให้ผูก รักลูกให้เป็นรัฐมนตรี” หุ่น “พิธา-ทักษิณ” วิวาห์ล่ม ปล่อยประชาชนลอยแพ จำลอง “แก้รัฐธรรมนูญ” ถามแก้ชาติไหน บอกกูที

ไฟไหม้บ้านอาจารย์ ม.ดัง ภรรยาวัย 69 ดับสลด

ระทึกกลางดึก! ไฟไหม้บ้านอาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดัง ภรรยาวัย 69 ปี หนีไม่ทัน ดับสลด คาดต้นเพลิงเกิดจากแบตเตอรี่รถจักรยานไฟฟ้าระเบิด

ระทึก! แผงเหล็กเวทีถล่ม ขณะ “ซาบีดา” เปิดงานที่ยโสธร

ระทึก! แผงเหล็กเวทีถล่ม ขณะ “ซาบีดา” เปิดงานที่ จ.ยโสธร เจ้าตัวบาดเจ็บเล็กน้อย โชว์สปิริตเปิดงานต่อ ด้าน สส.ยโสธร ภท. เจ็บหนัก กระดูกสันหลังแตก

ข่าวแนะนำ

เตรียมเปิดภาพบาดแผล “แตงโม” ถูกแทง พรุ่งนี้

ดีเอสไอคาดรู้ผลเก็บข้อมูลตาม GPS เรือ ภายใน 2 สัปดาห์ ด้าน “ปานเทพ” พอใจการเก็บรวบรวมข้อมูลวันนี้ เตรียมเปิดหลักฐานภาพบาดแผล “แตงโม” ถูกแทง

“ภูมิธรรม” ส่งหนังสือประท้วง “เขมร” โผล่ร้องเพลงปลุกใจ

“ภูมิธรรม” ไม่สบายใจ “เขมร” โผล่ร้องเพลงปลุกใจ แสดงสัญลักษณ์บนปราสาทตาเมือนธม ส่งหนังสือประท้วง ไม่อยากให้เป็นประเด็นขัดแย้ง

นายกฯ ลงพื้นที่ทะเลน้อย รับปากแก้ปัญหาตื้นเขิน-กำจัดวัชพืช

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ทะเลน้อย พัทลุง ป้อนหญ้าควายทะเล รับปากแก้ปัญหาตื้นเขิน-กำจัดวัชพืช ลั่นทำให้หมดทุกพื้นที่ไม่มีเลือก ปลื้มชาวบ้านอวยผลงาน “ทักษิณ” สร้างถนน-สะพานเชื่อมพัทลุง-สงขลา อ้อน แหลงใต้ไม่เป็นยังรักอยู่ไหม ดีใจได้ฟังปัญหาจากปาก ปชช. สัญญาจะกลับไปทำการบ้านเพิ่ม บอกถ้าคนไทยรวย รัฐบาลก็เข้มแข็ง ขณะที่ชาวบ้านแห่ให้กำลังใจ ตะโกน “นายกฯ สู้สู้”