สปสช.รับสมัคร พนง.สายด่วน 1330 เพิ่มให้บริการโควิด

กทม. 28 ก.ค.-สปสช. เปิดรับสมัครพนักงานโครงการสายด่วน สปสช. 1330 จำนวน 32 อัตรา เพิ่มการให้บริการประชาชน พร้อมรองรับขยายภารกิจโควิด-19 ทั้งประสานหาเตียง บริการตรวจโควิด-19 เชิงรุก และจัดระบบดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้าน/ชุมชน หลังอัตราใช้บริการเพิ่ม 3-4 เท่า เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนประชาชน

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จากภารกิจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ได้ขยายบทบาทหน้าที่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทั้งประสานจัดหาเตียงผู้ป่วยโควิด-19, ให้บริการเชิงรุกตรวจคัดกรองโควิด-19 และจัดระบบการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้านและในชุมชน และจากจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีจำนวนกว่าวันละ 1.5 หมื่นราย ส่งผลให้จำนวนการโทรสายด่วน สปสช. 1330 ของประชาชนพุ่งขึ้นเช่นกัน โดยอยู่ที่จำนวน 24,000 ครั้ง/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติ 3-4 เท่า จนเกิดปัญหาการรอคิวนานและไม่ได้รับบริการ


ดังนั้น เพื่อให้การบริการสายด่วน สปสช. 1330 ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางรับเรื่องร้องและประสานแก้ไขปัญหากรณีโควิด-19 ให้กับประชาชน รวมถึงเป็นส่วนที่ช่วยเชื่อมต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโควิด-19 เข้าสู่ระบบการดูแลและรักษาพยาบาล นอกจากเพิ่มช่องทางติดต่อผ่านระบบออนไลน์แล้ว ได้เพิ่มบริการสายด่วน สปสช. 1330 โดยเปิดรับสมัคร “พนักงานโครงการ การจ้างเหมาบริการงานรับโทรศัพท์ตอบปัญหาการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” จำนวน 32 อัตรา เพื่อให้บริการตอบปัญหาและรับเรื่องร้องเรียนทางสายด่วน สปสช. 1330

ทพ.อรรถพร กล่าวต่อว่า งานดังกล่าวมีหน้าที่และความรับผิดชอบคือการรับโทรศัพท์ ตอบปัญหา ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิหลักประกันสุขภาพ การเข้ารับบริการสาธารณสุข การรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมทั้งประสานหาเตียงผู้ป่วย ประสานชี้แจงไกล่เกลี่ยเบื้องต้น กรณีมีเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์การใช้สิทธิหลักประกันุสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้สนใจดูรายละเอียดการรับสมัครงานได้ที่เว็บไซต์ สปสช. https://www.nhso.go.th/human_resources/38


ทั้งนี้ผู้สนใจสมัครต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ “รักในงานบริการประชาชน มีความขยัน สามารถทำงานภายใต้แรงกดดันได้ดี” เนื่องจากในช่วงนี้เป็นสถานการณ์เร่งด่วนที่ต้องเร่งดูแลประชาชน นอกจากคุณสมบัติ ดังนี้ อายุ 22-35 ปี, วุฒิการศึกษา ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สาขาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ ด้านการประชาสัมพันธ์หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง, มีประสบการณ์ทำงานด้านการสื่อสารข้อมูล การติดต่อประสานงาน การประชาสัมพันธ์อย่างน้อย 1 ปี, มีความสามารถทางคอมพิวเตอร์ โดยชำนาญในการพิมพ์ดีด ภาษาอังกฤษพื้นฐานและคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, Power Point และควรมีความรู้ ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือในลักษณะใกล้เคียงกัน .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง