สปสช.เปิดตัวแดชบอร์ดข้อมูลบัตรทอง

สปสช.เปิดตัว “แดชบอร์ด” ประชาชน หน่วยบริการ นักวิจัย เข้าถึงข้อมูลระบบบัตรทอง พร้อมจับมือเนคเทค รับแจ้งปัญหาบัตรทองผ่าน “Traffy Fondue”

สธ.แจงยกเลิกรักษาโควิด-19 ฉุกเฉิน ประชาชนยังมีสิทธิรักษาฟรี

สธ.แจง ยกเลิกรักษาโควิด-19 ฉุกเฉิน กลับมารักษาตามสิทธิ์ให้ฟรีทั้งหลักประกันสุขภาพ, ประกันสังคม และสวัสดิการราชการ เพื่อเปิดช่องให้ผู้ป่วยโรคอื่นเข้ารักษาสิทธิฉุกเฉิน ยกเว้นมีอาการเข้าเกณฑ์ฉุกเฉิน พร้อมทำหนังสือถึง คปภ.แจงคนซื้อประกันนอน HI, CI และ Hospitel เบิกจ่ายได้ และได้รับค่าชดเชย เพราะเป็นสถานพยาบาล

สปสช.ชี้ หลักการUCEP ยังอยู่

สปสช.11ก.กพ.-“หมอจเด็จ”ชี้ ประชาชนทุกคนยังรักษาตามสิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนผู้ที่มีอาการวิกฤตฉุกเฉินจาก โควิด-19 ยังสามารถเข้า รักษาตามหลักการเดิมของ ucep นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. กล่าวถึงกรณีที่ มีกระแสว่าอาจมีการปรับให้ผู้ป่วยโควิด-19 ออกจากระบบ ucep ว่า เรื่องนี้ต้องมีการทำความเข้าใจว่าคำว่า ucep หมายถึง ภาวะ ผู้ป่วยมีอาการวิกฤต ฉุกเฉินเกิดขึ้นทันทีทันใด จำเป็นต้องได้รับการรักษา ยังหน่วยบริการนอกระบบ ซึ่งมักเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งที่ผ่านมา ช่วงที่มีการระบาดของ โควิด-19  พ.ร.บ.สถานพยาบาล ได้ประกาศให้ โรค โควิด-19 เป็น เหตุฉุกเฉินวิกฤต แต่หากมีการยกเลิก ประกาศนี้จริง การรักษา โรค โควิด-19 ก็จะกลับไปอยู่ในระบบ ของประชาชนทุกคน ที่ต้องมีสิทธิ์สุขภาพ1สิทธิ์ อยู่แล้ว คือ สิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ/สิทธิ์ประกันสังคม/และสิทธิ์ข้าราชการ อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยโรค โควิด-19นั้นๆ มีอาการ หรือภาวะการเข้าข่าย ฉุกเฉิน ก็ยังสามารถ เข้ารักษา ยังหน่วยบริการนอกระบบตามหลักเดิมของ ucep ที่มีอยู่เดิมได้ […]

สปสช.ส่งความสุขปี 2565 มอบของขวัญ 10 สิทธิประโยชน์

สปสช. ร่วมส่งความสุข ปี 2565 มอบ “10 สิทธิประโยชน์ ของขวัญปีใหม่” ให้กับคนไทยทุกคน เพิ่มสิทธิประโยชน์รายการใหม่ พร้อมขยายบริการ เพื่อเพิ่มการดูแลประชาชนได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงยิ่งขึ้น

เริ่มแล้วแจก ATK กลุ่มเสี่ยงตรวจเชื้อโควิด ประเดิม กทม.ปริมณฑล

กรุงเทพฯ 16 ก.ย.- เริ่มแล้ววันนี้ แจก ATK ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง ประเดิม กทม.และปริมณฑล พร้อมพื้นที่สีแดงเข้มบางจังหวัด ขณะที่แอป “เป๋าตัง” อัพเดทระบบ เปิดรับลงทะเบียน-ประเมินความเสี่ยง พร้อมรับ ATK หน่วยบริการใกล้บ้าน พร้อมแจงกรณีแจก ATK ล่าช้าบางพื้นที่ เหตุขั้นตอนตรวจรับล่าช้า ต้องละเอียดและเข้มงวดคุณภาพ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ลงพื้นที่เยี่ยมชมร้านยากนก ฟาร์มา เชน สาขาทาวน์อินทาวน์ เมื่อวันที่ 16 ก.ย.64 โดยร้านดังกล่าวเป็นหนึ่งในร้านยาที่ร่วมมือกับ สปสช. ในการกระจายชุดตรวจ Antigen test kit (ATK) แบบ Self-test แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเองที่บ้าน นพ.จเด็จ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแรกในการเริ่มแจกชุดตรวจ ATK 8.5 ล้านชุดแก่ประชาชน ซึ่ง สปสช.และกระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนกระจาย โดยเน้นหนักผ่านหน่วยบริการต่างๆทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล […]

อนุ กก.เยียวยาแพ้วัคซีนโควิด ย้ำแนวทางจ่ายเงินช่วยเหลือ

สปสช. 10 มิ.ย.-อนุกรรมการพิจารณาเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 เผยแนวทางการพิจารณาเน้นช่วยเหลือเบื้องต้นให้เร็วที่สุด ตามระดับความรุนแรงและความต่อเนื่องยาวนานของผลข้างเคียง นางลักษณา ศังขชาต อดีตรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับเขตพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 สระบุรี กล่าวถึงขั้นตอนกระบวนการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า ภารกิจของคณะอนุกรรมการฯ ไม่ได้พิจารณาหรือพิสูจน์ว่าผลข้างเคียงเกิดจากวัคซีนโควิด-19 หรือไม่ แต่ภารกิจคือการช่วยเหลือเบื้องต้นและพิจารณาให้รวดเร็วที่สุด ดังนั้นก็จะดูจากเอกสารทางการแพทย์ ประวัติสุขภาพ ช่วงเวลาที่เกิดปัญหา ถ้ามีการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วช่วงเวลาที่เกิดอาการไม่นานเกินไป ก็พิจารณาให้หมด “ถ้ามีหลักฐานชัดว่ามีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่จัดหาโดยรัฐ ล็อตที่เท่าใด ฉีดที่ไหน อาการเกิดตอนไหน เคยมีอาการมาก่อนหน้านี้หรือไม่ อนุกรรมการฯก็จะวินิจฉัย โดยนอกจากดูประวัติทางการการแพทย์ว่าเป็นอย่างไรแล้ว ยังจะพิจารณาไปบริบททางสังคมหรือเศรษฐกิจครัวเรือนด้วย เช่น กรณีที่มีผู้เสียชีวิตก่อนหน้านี้ ฉีดวัคซีนไปไม่นานแล้วมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน พอดูคำร้องก็เห็นชัดว่าเป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้หารายได้หลัก ต้องดูแลบิดามารดา จึงพิจารณาได้ทันทีตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้” นางลักษณา กล่าว ส่วนอัตราการการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นนั้น ทาง สปสช. มีหลักเกณฑ์กำหนดช่วงอัตราไว้อยู่แล้ว เช่น เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร อัตราจ่ายคือระหว่าง 2.4-4 แสนบาท […]

สปสช.ย้ำเยียวยาแพ้วัคซีนโควิด

สปสช.4 มิ.ย.–สปสช.ย้ำฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ตั้งแต่เจ็บป่วยเล็กน้อยจนถึงขั้นเสียชีวิต ให้ยื่นขอรับเงินเยียวยาได้เลย ย้ำเป็นหลักการเยียวยาเบื้องต้น ไม่พิสูจน์ถูกผิดว่าสาเหตุเกิดจากวัคซีนหรือไม่ แต่ช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบ ชี้อย่าเพิ่งตัดสินใจเอาเองว่าจะได้รับชดเชยหรือไม่ ให้อนุกรรมการ สปสช. เป็นคนพิจารณาให้ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.2564 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะเริ่มระดมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุมประชากร 50 ล้านคน หรือ 70% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะมีผู้มีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่กลุ่มดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นใจว่าประชาชนจะได้รับการดูแล และ สปสช.ก็ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์วิธีการการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอทำความเข้าใจกับประชาชนอีกครั้งว่า ระบบดังกล่าวเป็นระบบการชดเชยความเสียหายเบื้องต้น คำว่าเบื้องต้นหมายถึงไม่ต้องถึงขนาดพิสูจน์ถูกผิดจนจบกระบวนการว่าเกิดจากวัคซีนหรือไม่ แต่เมื่อใดที่ไปฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการข้างเคียงหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตแต่แพทย์จะระบุสาเหตุการเสียชีวิตจากเรื่องอื่น แต่ถ้าสงสัยว่าจะเกี่ยวกับวัคซีน ก็สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเข้ามาได้เลย ไม่ต้องรอผลการชันสูตรอะไรทั้งสิ้น สปสช.จะมีคณะอนุกรรมการทั้ง 13 เขตทั่วประเทศดำเนินการพิจารณาเรื่องเงินเยียวยาให้และจ่ายเงินภายใน 5 วันหลังมีมติ และแม้ว่าต่อมาจะพิสูจน์ได้ว่าการเสียชีวิตหรือเจ็บป่วยไม่ได้มาจากวัคซีน ก็จะไม่มีการเรียกเงินคืนแต่อย่างใด “คณะอนุกรรมการจะพิจารณาโดยใช้ความเชี่ยวชาญของความเป็นแพทย์ ดูจากประวัติ จากข้อมูลต่างๆ บางครั้งจะเห็นว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวแล้วไปฉีดวัคซีนแล้วเสียชีวิต เป็นไปได้ว่าวัคซีนไปทำให้โรคประจำตัวกำเริบได้ ดังนั้นทุกกรณีที่สงสัย ขอให้ส่งเรื่องมายังอนุกรรมการ […]

สปสช.แจงกรณีติดโควิดกักตัวที่บ้าน

สปสช.วอนชุมชนอย่ากังวล หลังเข้าใจผิดว่ามีผู้ป่วยโควิดกักตัวที่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการรักษา กรณีดังกล่าวอยู่ระหว่างรอประสานหาเตียง และได้รับการติดตามดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อยู่ตลอด อีกทั้งการกักตัว ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อให้แก่เพื่อนบ้าน

กลุ่มเสี่ยงตรวจหาเชื้อโควิดฟรี

กรุงเทพฯ 22 ธ.ค.-เลขาธิการ สปสช.ย้ำประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถตรวจ หาเชื้อโควิด-19 ที่สถานพยาบาลทุกแห่งฟรี โดย รพ.เอกชน-รพ.รัฐทุกแห่งสามารถเบิกมาที่ได้ สปสช.อัตราครั้งละ 2,200 บาท นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช.ให้สัมภาษณ์กรณีมีประชาชนผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเดินทางไปตรวจหาเชื้อ โควิด-19 ที่โรงพยาบาลเอกชน และถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ว่า ตามความเป็นจริงถ้าประชาชนผู้ไปตรวจเป็นผู้ที่ถูกประเมินว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อเดินทางไปในสถานที่มีการแพร่เชื้อหรือมีอาการไข้ไอเจ็บคอจมูกไม่ได้กลิ่นลิ้นไม่ได้รับรส สามารถเข้าตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชนทุกแห่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยโรงพยาบาลนั้นๆจะทำเรื่องเบิกมาที่ สปสช.ในอัตราเหมาจ่ายครั้งละประมาณ 2,200 บาท เปรียบได้กับการเบิกลักษณะเจ็บป่วยฉุกเฉินที่สามารถเข้ารักษาได้ทันทีทุกโรงพยาบาล มีตัวเลขจากการเริ่มระบาดของ โควิด-19 ในช่วงต้นปี2563 มีการเบิกจ่ายกับสปสช.กรณีตรวจหาเชื้อโควิด-19 ไปแล้วกว่า 7,000,000 เคส ส่วนกรณีมีผู้โพสต์ว่าถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากโรงพยาบาลเอกชนทั้งที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า อาจเกิดจากความเข้าใจผิดของโรงพยาบาลเอกชนและ สปสช.จะทำการสื่อสาร มายังโรงพยาบาลเอกชนให้ชัดเจนขึ้น และขอแนะนำว่าหากผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องการตรวจหาเชื้อ โควิด-19 หากสามารถเดินทางไปได้ ควรเดินทางไปยังโรงพยาบาลรัฐที่อยู่ใกล้ ๆ จะเป็นการดีที่สุด.-สำนักข่าวไทย

1 2 3
...