ถ้านายกฯ ลาออก ต้องใช้ รธน.เดิมเลือกคนใหม่

รัฐสภา 26 ต.ค.-“วิษณุ” ยันสภาไม่ผิด ไม่เข้าข่ายยุบสภา แต่ถ้าให้นายกฯ ลาออก ต้องเลือกใหม่ตามรัฐธรรมนูญเดิม เผยนายกฯ ปรารภข้อเสนอทำประชามติ เตรียมหารือประธานสภาหาช่องทาง


นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ชี้แจงถึงเหตุ 3 ข้อที่รัฐบาลว่งมาให้นายชวน หลีกภัย ประานรัฐสภา เพื่อขอเปิดสมัยประชุมวิสามัญ รัฐสภา ว่า ไม่ใช่ญัตติ แต่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่สำคัญและกระทบกับการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนญัตติที่ต้องการให้เปิดสมัยประชุมสมัยวิสามัญ เพื่อต้องการรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกรัฐสภาว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาทั้ง 3 ข้อนี้อย่างไร เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยราบรื่น

“ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมหลายเรื่อง รัฐบาลได้พยายามดำเนินการให้แล้ว เช่น เรื่องการเสนอให้เปิด ประชุมสมัยวิสามัญรัฐสภา ขอให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะการเร่งรัดให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อดูไทม์ไลน์แล้วจะเร่งให้เร็วที่สุดได้ในเดือนธันวาคม แต่ต้องออกเสียงประชามติ ซึ่งขณะนี้ร่างการออกเสียงประชามติแล้ว คาดว่าจะเสนอเข้าสู่สภาได้ในสัปดาห์หน้า และเมื่อพิจารณาเสร็จแล้วต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยมีระยะเวลา 90 วัน แต่หากตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) จะต้องคัดเลือกกันอีก ระยะเวลาก็จะขยับออกไป” นายวิษณุ กล่าว


นายวิษณุ กล่าวถึงข้อเสนอ 3 ข้อของกลุ่มผู้ชุมนุมคือ ให้นายกรัฐมนตรียุบสภาลาออกและปฏิรูปสถาบัน ว่าเรื่องของการปฏิรูปสถาบันคืออะไร หมายความว่าอะไรรัฐบาลไม่ทราบ และอยากจะฟังจากสมาชิก แต่ข้อเสนอเรื่องยุบสภาได้ใคร่ครวญแล้วยังไม่เห็นว่าสภาจะมีความผิดหรือมีความขัดแย้ง แต่หากเป็นความประสงค์หรือเจตนารมย์นายกรัฐมนตรีจะหารือผู้เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออก ฝ่ายกฎหมายได้แจ้งกับนายกรัฐมนตรีว่าหากลาออก การหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จะต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ที่ยังไม่ได้แก้ไข และต้องเลือกจากบัญชีรายชื่อ

“ขณะนี้มี 5 คน หากไม่นับพล.อ.ประยุทธ์และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าการเลือกนายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากรัฐสภาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ขณะนี้มีสมาชิกรัฐสภา 732 คน ซึ่งเท่ากับ 366 เสียง แต่ขณะนี้ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาลมีเสียงไม่ถึง 366 เสียง จึงมีคนเสนอว่า ถ้าถึงทางตัน ให้พรรคพลังประชารัฐไปร่วมกับพรรคฝ่ายค้านเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันก็มีเสียงสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีอยู่ต่อ ไม่ต้องลาออก จึงเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาต่อไป” นายวิษณุ กล่าว

นายวิษณุ กล่าวว่ามีข้อเสนอของฝ่ายค้าน ซึ่งนายกรัฐมนตรีปรารภว่ามีข้อเสนอว่าควรถามประชามติ จากประชาชน แต่ปัญหาคือการทำประชามติไม่สามารถทำเรื่องตัวบุคคลได้ แต่หากมีกลวิธีในการตั้งคำถามเพื่อทำประชามติที่แนบเนียนและแยบยลก็จะนำไปพิจารณาหากเป็นข้อเสนอของที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะนำไปหารือต่อประธานรัฐสภาว่าข้อเสนอนี้เป็นไปได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การลาออกหรือไม่อยู่ที่ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง