ไม่สร้างภาพทำได้จริง!! 4 ประเทศต้นแบบลดขยะพลาสติก

สำนักข่าวไทย 4 ธ.ค. – ทั่วโลกต่างตื่นตัว “ลดขยะพลาสติก” อังกฤษ, แคนาดา, ญี่ปุ่น และไต้หวัน 4 ชาติแม่แบบ ลด-ละ-เลิก พลาสติก ทำได้จริง ไม่สร้างภาพ





“ขยะพลาสติก” ก่อปัญหาร้ายแรงต่อระบบนิเวศทางทะเลจนก่อผลกระทบต่อวิถีชีวิตมนุษย์ในระยะยาว ปล่อยให้มีมากขึ้น ยิ่งจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลายประเทศมองการณ์ไกล ผู้นำประเทศ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ต่างให้ความร่วมมือ เพราะตระหนักถึงภัยร้ายแรงในอนาคตอันใกล้ ลงมือทำอย่างจริงจัง มีความเด็ดขาดด้านกฎระเบียบและกฎหมาย

สหราชอาณาจักร มีการเก็บภาษีถุงพลาสติก (Tax on plastic bag) จากลูกค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตโดยห้ามร้านค้าจ่ายภาษีแทนให้ลูกค้า (pay tax on cost behalf) ซึ่งห้างเทสโก้ ตอบรับมาตรการดังกล่าว นอกจากนี้ มีการรณรงค์ “a plastic bag free month” เพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก และเจ้าหน้าที่ร้านสหกรณ์ (co-op) ต้องถามลูกค้าสองครั้งว่าต้องการถุงพลาสติกหรือไม่


แคนาดา ออกกฎให้ผู้ค้าปลีกต้องจัดเก็บค่าถุงพลาสติกในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้นำถุงมาจากบ้านอย่างน้อย 5 เซนต์ต่อถุงพลาสติกหนึ่งใบ โดยไม่คำนึงถึงปริมาณและขนาดของถุงพลาสติก หากลูกค้านำถุงพลาสติกเหล่านั้นมาคืน ก็จะได้รับเงินคืนกลับไป

ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกยกเว้นในกรณีของถุงพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุผัก ผลไม้ ถั่ว ลูกอม พลาสติกที่ใช้ห่ออาหารแช่แข็ง เนื้อ ปลาสด ถุงใส่ยารักษาโรค หนังสือพิมพ์ ถุงขยะและถุงรีไซเคิล เป็นต้น

ส่วนเงินที่ได้จากการขายถุงพลาสติก ผู้ขายสามารถนำเงินนั้นไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องนำไปให้รัฐบาล โดยให้ผู้ขายนำเงินที่ได้จากการขายถุงพลาสติกให้แก่ลูกค้ามาบริจาคสู่สังคม หรือองค์กรสิ่งแวดล้อม โดยมีการสนับสนุนให้แจ้งถึงการใช้ประโยชน์จากเงินจำนวนเหล่านั้น

รวมถึงการติดโปสเตอร์เพื่อรณรงค์ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก และการนำพลาสติกเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ด้วยอีกทางหนึ่ง โดยมีการตั้งเป้าหมาย และกำหนดข้อตกลงให้มีการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในส่วนระดับจังหวัดถึงร้อยละ 50 และในส่วนของเมืองโตรอนโตถึง 70%

ญี่ปุ่น ออกเป็น พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของกฎหมายส่งเสริมการซื้อสีเขียว (Law on Promoting Green Purchasing) และยังมีการกำหนดวันงดใช้ถุงพลาสติก (No plastic bag day) โดยได้รับความร่วมมือจากร้านค้าและตลาดเป็นจำนวนมาก

ที่นี่มีการจัดเก็บภาษีถุงพลาสติก โดยที่ร้านค้าต่างๆ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทางร้านค้าจะมีการให้สติกเกอร์กับผู้ที่มาซื้อของและไม่ต้องการถุงพลาสติก ทางร้านค้าจะมีการมอบสติกเกอร์ให้เพื่อนำไปสะสม พอสะสมจนครบ 25 ดวง ก็สามารถนำสติกเกอร์ไปแลกเป็นเงินจำนวน 100 เยน (ประมาณ 29 บาท) จากร้านที่ลูกค้าได้ซื้อของไป

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังออกพระราชบัญญัติกฎหมายการนำกลับมาใช้อีกฉบับ เพื่อให้บริษัทนำผลิตภัณฑ์ของตนกลับมาใช้อีก ลดวัสดุที่ใช้และเพิ่มอายุผลิตภัณฑ์เพื่อลดปริมาณของเสียและใช้ซ้ำบางชิ้นส่วนจากผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้อีก

ไต้หวัน องค์กรคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไต้หวัน (Taiwan Environmental Protection Agency, EPA) ออกกฎหมายเพื่อดำเนินนโยบายห้ามใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟมโดยไม่คิดมูลค่า (Ban the distribution of free plastic shopping bags and foam box)

1) มีการออกกฎห้ามใช้ถุงพลาสติกที่มีความหนาไม่เกิน 0.06 มิลลิเมตร

2) มาตรการการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมกับผู้ค้าปลีก โดยออกกฎห้ามร้านค้า

ถุงพลาสติกและกล่องโฟมโดยไม่คิดราคา ทั้งนี้ ค่าปรับสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอยู่ระหว่าง 66,000-300,000 ดอลลาร์ไต้หวัน เนื่องจากมีการใช้ถุงพลาสติกในไต้หวัน 16 ล้านชิ้นต่อวัน ทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด

– เฟสแรก หน่วยราชการ หน่วยงานสาธารณะต่างๆ ของไต้หวัน ได้แก่ ร้านค้าของทหาร โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน โรงพยาบาลรัฐ โรงอาหารในหน่วยงานของรัฐ จะต้องปฏิบัติตาม

– เฟสสอง บังคับใช้กับห้างสรรพสินค้า คลังเก็บสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอาหารฟาสต์ฟูด และร้านอาหารที่มีหน้าร้าน สำหรับการเรียกเก็บค่าถุงพลาสติกหรือกล่องโฟมโดยผู้ค้าปลีก ไม่ได้ถูกกำหนดในอัตราที่แน่นอน

ตามปกติจะกำหนดช่วงราคาระหว่าง NT1-NT3 (ประมาณ 1.20-3.20 บาท) ต่อถุงพลาสติก 1 ใบ แต่ยกเว้นการเก็บค่าถุงพลาสติกที่ใช้สำหรับบรรจุสินค้าที่เสียหายง่าย และพลาสติกที่ใช้ห่ออาหาร เป็นต้น

ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการออกกฎการเก็บเงินค่าถุงพลาสติก มีการใช้ถุงพลาสติก 2.5 ถุงต่อคนต่อวัน แต่หลังจากนำกฎนี้มาใช้ สามารถลดการใช้ได้ถึง 80% ในปีแรก แต่มีเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในปีถัดมา

โมเดลจัดการขยะของไต้หวันที่น่าสนใจ

– รัฐบาลมีนโยบาย ออกกฎหมายและวางแนวปฏิบัติจัดการขยะที่เข้มงวด

– ตามบ้านพักอาศัย ประชาชนทิ้งขยะที่รถขยะเท่านั้น จึงมีเวลามารับขยะค่อนข้างแน่นอน เพราะมีจุดจอดรถในเมืองไทเปถึง 4,000 จุด

– ยกเลิกตั้งถังขยะในบริเวณที่อยู่อาศัย และห้ามประชาชนวางถุงขยะไว้ที่พื้นสาธารณะ

– การทิ้งขยะของประชาชน จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูว่า ทิ้งขยะถูกประเภทหรือไม่

– ประชาชนต้องแยกขยะก่อนทิ้ง และใช้ถุงขยะของรัฐซึ่งจะมีบาร์โค้ดระบุเท่านั้น

– ขยะรีไซเคิล แยกละเอียดถึง 13 ประเภท ส่วนขยะไม่สามารถรีไซเคิล ประชาชนก็ต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน ใส่เศษอาหารสำหรับนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ และอีกส่วนสำหรับใส่เศษอาหารสด เพื่อนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์

ปัจจุบันรัฐบาลไต้หวัน สามารถนำขยะที่ทิ้งกว่าร้อยละ 55 นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ด้วยการอำนวยความสะดวกในการแยกขยะ ควบคู่ไปกับการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด ทำให้ไต้หวันลดปริมาณขยะต่อคนได้เกือบสามเท่า จาก 1.14 กิโลกรัม ต่อคนต่อวันในปี 1998 ลงเหลือ 0.38 กิโลกรัมในปี 2015 ส่วนการรีไซเคิลขยะ เพิ่มจาก 5.9% ขึ้นไปสูงถึง 55% จนไทเป และทั้งประเทศไต้หวัน กลายมาเป็นต้นแบบของโลกในการจัดการขยะ


ไต้หวัน พลิกโฉมสู่ “เมืองต้นแบบจัดการขยะ” ล้างบางขยะพลาสติกในปี 2030

ชาวไต้หวันคุ้นเคยกับเสียงเพลง A Maiden’s Prayer หรือเพลง Fur Elise แต่หลายคนที่ไม่รู้ก็ลองนึกถึงเสียงตุ๊กตาไขลาน หรือเสียงเพลงเวลารอสาย

พวกเขาไม่ได้รอซื้อไอศกรีมอร่อยจากรถขาย หรือนั่นเป็นเสียงรถเร่ขายกับข้าว รับซื้อของเก่าเหมือนที่บ้านเรา หากว่าทั้งสองเพลงที่ชาวไทเปคุ้นหูดีนี้เป็นสัญลักษณ์ของ “รถเก็บขยะ” เพื่อให้ผู้คนละแวกนั้นรู้ว่ารถขยะมาแล้วนั่นเอง

ในอดีตเกาะไต้หวัน เมืองใหญ่อย่างไทเปครั้งหนึ่งตามถนนซอกซอยเคยสกปรกถึงขั้นถูกขนานนามว่า “เกาะแห่งขยะ” แต่มาวันนี้ เมืองแห่งนี้ รัฐบาลของเขาพูดได้เต็มปากว่า ที่นี่ คือ “เมืองต้นแบบจัดการขยะ” ซึ่งประเทศไทยน่าที่จะเอาเป็นแบบอย่าง เพราะจะเป็นนับจากจุดเริ่มต้นพลิกเมืองที่คล้ายคลึงกัน

แน่นอนว่าหนึ่งในปัญหาที่ตามมาจากการกระจุกตัวของประชากรก็คือ การจัดการขยะ กองขยะที่ล้นหลามและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อขยะถูกทิ้งโดยไม่ผ่านการทำความสะอาดและคัดแยก แต่เพียงเวลาไม่กี่ทศวรรษ ไต้หวันสามารถพลิกโฉมกลายเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับเรื่องระบบการจัดการระดับโลก

รถขยะก็ต้องดูให้ถูกสี รถขยะสีขาว เป็นรถรับขยะรีไซเคิล ส่วน รถขยะสีเหลือง เป็นรถรับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ใครจะนำมาทิ้งปนเปไม่ได้เลย คนไต้หวันยุคนี้ รู้หน้าที่ พอเสียงเพลงเพราะดังสักแป๊บ ก็มีรถขยะมารอรับ ผู้คนก็รีบมาทิ้งขยะ

การซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านค้าใหญ่ๆ จะต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อถุงพลาสติก โดยราคาก็จะแตกต่างกันออกไปตามขนาดของถุง แตกต่างจากบ้านเราที่ถึงแม้จะซื้อของเพียงชิ้น สองชิ้น ทางร้านก็จะใส่ถุงให้อย่างรวดเร็วจนแทบจะปฏิเสธไม่ทัน

ปัจจุบันทางรัฐบาลไต้หวัน ออกประกาศให้ประชาชนรับทราบชัดเจนแล้วว่า “ภายในปี 2030 ขยะพลาสติกจะต้องได้รับการจัดการอย่างสมบูรณ์” พูดสั้นๆ ขยะพลาสติกในเมืองต้องเป็น 0 .- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.เพชรบุรี แชมป์เก่ายังแรง

เลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบุรี ไม่คึกคัก ผลไม่เป็นทางการ “ชัยยะ อังกินันทน์” แชมป์เก่า คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง ด้านเลขาฯ กกต. เผยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด คนมาใช้สิทธิน้อย คาดเบื่อเลือกตั้ง 2 รอบ

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

ลุ้นผลเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ขณะนี้การนับคะแนนตามหน่วยต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ในขั้นตอนการรวมคะแนน ซึ่งในเขตเมือง ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคประชาชนมีคะแนนนำ แต่อำเภอรอบนอก ตัวแทนพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำอยู่หลายหน่วยเลือกตั้ง

เร่งประสานอินเตอร์โพลขอหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ”

ตำรวจเตรียมออกหมายจับเครือข่าย “หมอบุญ” ฉ้อโกง ลอต 2 รวมทั้งเร่งประสานอินเตอร์โพล ออกหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ” กลับมาดำเนินคดี