การเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกล้มเหลว

การประชุมเจรจาของสหประชาชาติเพื่อจัดทำสนธิสัญญาพลาสติกโลกรอบที่ 5 ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งกว่า 100 ประเทศทั่วโลกหวังจะบรรลุข้อตกลง

Greenpeace call for plastic treaty

เจรจา “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” รอบที่ 5

ปูซาน 25 พ.ย.- การประชุมเจรจาเพื่อจัดทำสนธิสัญญาพลาสติกโลกรอบที่ 5 ได้เริ่มขึ้นแล้วที่เมืองปูซานของเกาหลีใต้ โดยคาดหวังว่าจะเป็นรอบสุดท้ายเพื่อให้เกิดสนธิสัญญาภายในปีนี้ ตัวแทนของ 175 ประเทศได้ร่วมเจรจากันหวังให้บรรลุข้อตกลงจัดทำสนธิสัญญาเพื่อรับมือกับมลภาวะจากขยะพลาสติก นายลูอิซ วายา วาลดิวิเอโซ ประธานคณะกรรมาธิการการเจรจาระหว่างรัฐบาลของสหประชาชาติหรือไอเอ็นซี (INC) กล่าวว่า ปริมาณขยะพลาสติกทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยคาดว่าปริมาณพลาสติกที่ผลิตออกมาในแต่ละปีไปจนถึงปี 2583 จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับปริมาณพลาสติกในปี 2565 หากไม่มีแนวทางการแทรกแซง ดังนั้นจึงต้องร่วมกันหาทางบรรลุสนธิสัญญาให้ได้ ขณะที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือโออีซีดี (OECD) คาดว่า ทั่วโลกจะมีการผลิตพลาสติกมากถึง 736 ล้านตันภายในปี 2583 เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 จากปี 2563 หากไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายใด ๆ ด้านองค์กรเอกชนต่าง ๆ เช่น กรีซพีซได้ร่วมจัดกิจกรรมใกล้ศูนย์ประชุมและนิทรรศการปูซาน ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุม เพื่อรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลต่าง ๆ ผลักดันสนธิสัญญาฉบับนี้ โดยกระตุ้นเตือนว่า สายตาทั่วโลกกำลังจับจ้องอยู่ ไอเอ็นซีเริ่มทำงานตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ตั้งเป้าหมายว่าจะมีสนธิสัญญาให้ได้ภายในสิ้นปี 2567 โดยได้จัดการประชุมเจรจารอบแรกที่อุรุกวัยระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน-2 […]

โครงการเก็บขยะแลกข้าวสารในฟิลิปปินส์

มะนิลา 3 ก.ค.- ฟิลิปปินส์มีโครงการดีๆ ที่นอกจากช่วยอนุรักษ์ท้องทะเลแล้ว ยังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพได้อีกด้วย ”โครงการพลาสติกแลกข้าว” ถือกำเนิดขึ้นโดยกลุ่มอาสาสมัครที่มีนายจิวลิโอ เอนดายาเป็นแกนนำ โดยมีชาวบ้านในเมืองมาบินี ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงมะนิลาให้ความร่วมมือในการเก็บขยะพลาสติกตามชายหาดเพื่อนำไปแลกกับข้าวสาร 1 กิโลกรัมต่อการเก็บขยะ 1 ครั้งไม่ว่าจะได้ขยะน้ำหนักเท่าไหร่ก็ตาม โครงการขยะแลกข้าวนี้ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน รวมถึงบริษัทขนาดเล็กที่ต้องการส่งเสริมเรื่องการอนุรักษ์ท้องทะเล เนื่องจากเมืองมาบินีเคยเป็นแหล่งดำน้ำชื่อดัง ตั้งอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปะการัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก แต่ปัจจุบันประสบกับปัญหาที่มาจากขยะพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นเต่าที่ติดอวนดักปลาหรือกลืนพลาสติกเข้าไป นอกจากนี้ยังพบไมโครพลาสติกในปลาทะเลที่ถูกจับไปเป็นอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงผู้บริโภคด้วย โครงนี้เริ่มมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 สามารถเก็บขยะได้แล้วกว่า 4,300 ตัน และถูกแลกเป็นข้าวสารแล้ว 2,000 กิโลกรัม ช่วยลดค่าครองชีพให้กับผู้มีรายได้น้อยอีกทางหนึ่ง ชาวบ้านคนหนึ่งบอกว่า ในแต่ละเดือนสามารถประหยัดค่าข้าวสารได้เกือบครึ่งหนึ่งจากการเก็บขยะไปแลกข้าวตามโครงการนี้.-816(814).-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์: มนุษย์หายใจรับ “ไมโครพลาสติก” ปริมาณเท่าบัตรเครดิตทุกสัปดาห์ จริงหรือ?

งานวิจัยสำรวจ “อัตราส่วน” ของไมโครพลาสติกในอากาศ ไม่ได้สำรวจ “น้ำหนัก” ของไมโครพลาสติกในอากาศ

ชัวร์ก่อนแชร์: ขวดน้ำพลาสติกตากแดดในรถ ปล่อยสารก่อมะเร็ง Dioxin จริงหรือ?

11 พฤษภาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ตากแดดในรถเป็นเวลานานเป็นอันตราย เนื่องจากร่างกายจะได้รับสารก่อมะเร็งชนิดไดออกซิน โดยอ้างว่า เชอรีล โครว นักร้องสาวชาวอเมริกันที่เคยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีสาเหตุจากการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ตากแดดในรถเช่นกัน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Dioxin ไดออกซิน (Dioxin) คือสารประกอบอินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์ เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ถูกย่อยสลายได้ยาก ทำให้เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อย แต่ละลายได้ดีในไขมัน ทำให้สะสมในไขมันของสิ่งมีชีวิต มีความเป็นพิษสูงและยังเป็นสารก่อมะเร็ง หากได้รับในปริมาณสูงจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบการสืบพันธุ์ ข้อมูลจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกาหรือ EPA ระบุว่า การพบสารไดออกซินปะปนในอากาศและแหล่งน้ำ มีสาเหตุมาจากกิจกรรมการเผา ทั้งการเผาขยะและเชื้อเพลิง นิโคล แดเซียล รองศาสตราจารย์ ด้านระบาดวิทยาและสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ใช้พลาสติกแก้วิกฤตโลกร้อน จริงหรือ?

แม้บางกรณี การใช้พลาสติกจะมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจากการทดแทนการใช้วัสดุอื่น ๆ ที่สิ้นเปลืองมากกว่า แต่กระบวนการผลิตพลาสติกจนถึงการกำจัดซากพลาสติก ล้วนสร้างก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั่วโลก

ศรีลังกาหาทางแก้ปัญหาขยะพลาสติก

โคลัมโบ 27 มิ.ย.- ศรีลังกาเตรียมบังคับใช้กฎหมายห้ามการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในเร็ว ๆ นี้ หวังแก้ปัญหาขยะพลาสติกเกลื่อนเมืองที่ทำให้ช้างประมาณ 20 ตัว และสัตว์ป่าจำนวนมากตายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ขยะพลาสติกนอกจากทำให้สัตว์ตาย ยังทำให้ท่อระบายน้ำอุดตันจนเกิดน้ำท่วมในเขตเมือง และทำให้โรคไข้เลือดออกระบาด เพราะเป็นแหล่งน้ำขังให้ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคใช้เป็นที่เพาะพันธุ์ เจ้าหน้าที่ศรีลังกาเผยว่า ต้องการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการใช้พลาสติกอย่างมีความรับผิดชอบ กฎหมายที่จะบังคับใช้ในเร็ว ๆ นี้จะห้ามจำหน่ายสิ่งของผลิตจากพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ช้อมส้อม แก้ว พวงมาลัย อย่างไรก็ดี เขายอมรับว่า ปัญหาอยู่ที่การปฏิบัติจริง ทางการเคยมีกฎหมายในปี 2549 ห้ามการใช้ถุงพลาสติกแบบบางมากและพลาสติกห่ออาหาร แต่ผู้ผลิตก็เพิกเฉยอย่างเปิดเผย ทางการพยายามสร้างความตระหนักรู้ครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ สิ่งสำคัญคือต้องสร้างความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม จึงจะเปลี่ยนแปลงการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ศรีลังกาเคยสั่งปิดที่ทิ้งขยะในกรุงโคลัมโบในปี 2560 เมื่อภูเขาขยะถล่ม คร่าชีวิตมากกว่า 30 คน และมีบ้านเรือนเสียหายหลายร้อยหลัง หลังจากนั้นไม่นานทางการสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกอย่างสิ้นเชิง แต่ไม่มีการปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ส่วนคำสั่งห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นซองเล็ก ๆ ผู้ผลิตก็เลี่ยงด้วยการผลิตซองใหญ่กว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2564 ยังทำให้ศรีลังกาไม่มีงบประมาณในการเก็บขยะ ศูนย์เพื่อความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมในศรีลังกาศึกษาในปี 2563 พบว่า ขยะในเขตเมืองเกือบร้อยละ 15 เป็นขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ชาวศรีลังกา […]

เตรียมประชุมแก้มลพิษจากพลาสติก-สวล.ทางทะเล

ครม.เห็นชอบท่าทีไทยถกกรอบมาตรการด้านมลพิษจากพลาสติกและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ตามข้อมติสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ผู้แทนไทยเข้าร่วม 6 คน ที่กรุงปารีส 28 พ.ค.-2 มิ.ย.นี้

นักเคลื่อนไหวภูมิอากาศเก็บก้นบุหรี่ 650,000 ชิ้นในโปรตุเกส

นักเคลี่อนไหวด้านสภาพภูมิอากาศช่วยกันรวบรวมก้นบุหรี่ 650,000 ชิ้นและกองรวมกันที่บริเวณใจกลางกรุงลิสบอน ของโปรตุเกสในวันอาทิตย์เพื่อปลุกจิตสำนึกเกี่ยวกับมลพิษที่มักจะถูกมองข้ามไป

นายกฯ ยกระดับรักษาสิ่งแวดล้อม เน้นรีไซเคิล ลดนำเข้าพลาสติก

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยกระดับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม เน้นรีไซเคิล ลดการนำเข้าพลาสติก สอดคล้องโมเดลเศรษฐกิจ BCG เดินหน้าแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)

จี 7 มุ่งมั่นยุติมลพิษจากพลาสติกภายในปี 2040

รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ จี 7 กล่าวในแถลงการณ์ร่วมที่เผยแพร่หลังการประชุมในวันนี้ที่เมืองซัปโปโร ทางเหนือของญี่ปุ่น ให้คำมั่นจะยุติมลพิษจากพลาสติกใหม่ภายในประเทศของตนให้ได้ภายในปี 2024

1 2 3 8
...