fbpx

อินเดียห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง

นิวเดลี 1 ก.ค.- อินเดียห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่วันนี้ หวังแก้ปัญหาขยะพลาสติกอุดตันลำน้ำและเป็นพิษต่อสัตว์ในธรรมชาติ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า จะเผชิญอุปสรรคจากผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมเปลี่ยนแปลง คำสั่งดังกล่าวครอบคลุมการห้ามการผลิต นำเข้าและจำหน่ายพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น หลอดดูดน้ำ ภาชนะใส่อาหาร พลาสติกห่อซองบุหรี่ เจ้าหน้าที่จะออกตรวจตราในวันนี้ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งมีผลบังคับใช้ หลังจากนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ประกาศตั้งแต่ปี 2561 และเพิ่งมาผลบังคับใช้ ผู้ละเมิดจะมีโทษปรับสูงสุด 100,000 รูปี (ราว 44,935 บาท) หรือจำคุก 5 ปี ด้านอุตสาหกรรมพลาสติกที่จ้างงานคนหลายล้านคนเผยว่า การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และพยายามวิ่งเต้นให้รัฐบาลชะลอการบังคับใช้คำสั่ง พร้อมกับเตือนว่า คำสั่งนี้อาจทำให้อุตสาหกรรมพลาสติกเลิกจ้างพนักงานบางส่วนเป็นการชั่วคราว และโรงงานจะขาดทุนเพราะลงทุนซื้อเครื่องจักรไปแล้ว อินเดียผลิตขยะพลาสติกปีละ 4 ล้านตัน ครึ่งหนึ่งเป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และ 1 ใน 3 ไม่ได้ถูกนำไปรีไซเคิล โดยไปตกค้างตามแม่น้ำและที่ทิ้งขยะที่มักมีปัญหาไฟไหม้และก่อมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ยังเป็นอาหารของวัวตาม 2 ข้างทาง และพบร่องรอยพลาสติกตกค้างในมูลช้างป่าทางเหนือของประเทศ.-สำนักข่าวไทย

ชวนคนไทยยึดหลัก ‘3 ใช้’ ลดเพิ่มปริมาณพลาสติก

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะคนไทยยึดหลัก 3 ใช้ คือ ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และใช้ใหม่ (Recycle) ลดการเพิ่มปริมาณพลาสติก ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

กรมอนามัย ชวนพุทธศาสนิกชนทำบุญ ตักบาตร ลดใช้พลาสติก

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยวันวิสาขบูชาปีนี้ ชวนพุทธศาสนิกชนทำบุญ ตักบาตร ลดใช้พลาสติก และปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ลดเสี่ยงโควิด-19

GC ขยายผล YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม

กรุงเทพฯ 10 ม.ค.-GC ขยายผล YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม สู่โครงการที่มีการดำเนินงานสอดคล้องกับมาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน (BS 8001:2017) สำเร็จเป็นโครงการที่สอง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC แจ้งว่า โครงการYOUเทิร์น แพลตฟอร์ม ระบบบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างครบวงจร โดยมีจุดรับขยะ (Drop Point) ที่ให้ทุกคนได้ร่วมกันคัดแยกขยะพลาสติกทั้งแบบยืดและแบบแข็ง และมีการนำ Digital Application มาใช้ ได้ดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบมากว่า 1 ปี โครงการนี้เน้นด้านการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่าในการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างเป็นระบบ ร่วมมือกับสถาบัน องค์กร หน่วยงานต่างๆ กว่า 50 ราย บริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วได้กว่า 300 ตัน มีการนำขวดพลาสติกใสชนิด PET ไปแปรรูปเป็นชุด PPE เพื่อมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ได้กว่า 5,000 ชุด ทั้งนี้ โครงการYOUเทิร์น แพลตฟอร์ม เป็นผลทำให้ […]

รัฐบาลตั้งเป้าลด-เลิกใช้กล่องโฟม แก้วพลาสติก ภายในปี 65

รัฐบาลเดินหน้าลดการใช้พลาสติก ตั้งเป้าลด เลิกใช้กล่องโฟม แก้วพลาสติกบาง และหลอดพลาสติก ภายในปี 2565

เพลิงไหม้โกดังชลบุรี คุมเพลิงได้แล้ว

ไฟไหม้วอดโกดังเก็บสินค้าใน อ.พานทอง จ.ชลบุรี ก่อนลามไหม้กระบะรอบรรทุกสินค้าอีก 7 คัน จนท.ใช้เวลา 2 ชม. จึงคุมเพลิงได้ พบบริษัทแห่งนี้ เพิ่งซ้อมดับเพลิงไป

ANA จะเลิกใช้พลาสติกเสิร์ฟอาหารตั้งแต่ ส.ค.

โตเกียว 25 เม.ย.- ออลนิปปอนแอร์เวย์หรือเอเอ็นเอ (ANA) สายการบินใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นจะใช้ภาชนะทำจากวัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนพลาสติก เสิร์ฟอาหารให้แก่ผู้โดยสารชั้นประหยัดเที่ยวบินระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้ เอเอ็นเอระบุว่า จะเป็นสายการบินแรกของญี่ปุ่นที่นำวัสดุย่อยสลายได้มาใช้เป็นภาชนะเสิร์ฟอาหารให้แก่ผู้โดยสาร คาดว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกได้ถึง 317 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 30 ของพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งในปีการเงินสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2563 เจ้าหน้าที่สายการบินเผยว่า ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปได้จำกัดการใช้พลาสติกแล้ว เอเอ็นเอจึงดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้า โดยใช้ภาชนะเสิร์ฟอาหารที่ทำจากชานอ้อย ส่วนเที่ยวบินในประเทศใช้ภาชนะที่เป็นกล่องกระดาษอยู่ สายการบินยังไม่ตัดสินใจว่า จะเปลี่ยนเป็นชานอ้อยด้วยหรือไม่ เอเอ็นเอเริ่มใช้ช้อนส้อมทำจากไม้และหลอดทำจากพลาสติกย่อยสลายได้ตั้งแต่ปี 2563 เดินหน้าลดขยะพลาสติกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตภาชนะพลาสติกและเผาทำลายขยะพลาสติก นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะของญี่ปุ่นรับปากว่า จะบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 เริ่มจากลดการปล่อยก๊าซลงร้อยละ 46 ของปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2556 ให้ได้ภายในปี 2573.-สำนักข่าวไทย

ASIAVISION : ชุบชีวิตเศษแก้วและพลาสติก

หนุ่มชาวเวียดนามใช้เวลาศึกษาเรื่องการรีไซเคิลอยู่หลายปี จนพบกระบวนการเปลี่ยนเศษพลาสติกและเศษแก้วให้เป็นของมีค่า แปลงเศษขยะให้กลายเป็นทรัพยากร

เด็กดื่มนมขวดอาจกินไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย

ปารีส 20 ต.ค.- ผลการวิจัยใหม่เตือนว่า ทารกที่ดื่มนมจากขวดอาจได้รับไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย ตอกย้ำอันตรายของผลิตภัณฑ์พลาสติกจำนวนมหาศาลที่ปะปนในอาหาร มีหลักฐานชัดเจนมากขึ้นว่าคนรับประทานไมโครพลาสติกที่แตกตัวจากพลาสติกชิ้นใหญ่ แต่ยังไม่มีงานวิจัยเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก คณะนักวิจัยในไอร์แลนด์เผยผลการศึกษาในวารสารเนเจอร์ฟูด วิเคราะห์อัตราที่ไมโครพลาสติกปล่อยออกมาจากขวดนมทารกหรือภาชนะผลิตจากโพลีโพรไพลีน หรือพีพี (PP) 10 ประเภทเป็นเวลา 21 วัน พบว่าขวดนมปล่อยไมโครพลาสติก 1.3-16.2 ล้านไมโครพาร์ติเคิลต่อลิตร จากนั้นนำไปสร้างแบบจำลองที่ทารกทั่วโลกจะได้รับไมโครพลาสติกจากการดื่มนมจากขวด อ้างอิงจากอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉลี่ยในระดับประเทศ ประเมินได้ว่า ทารกที่ดื่มนมจากขวดอาจได้รับไมโครพลาสติก 1.6 ล้านไมโครพาร์ติเคิลทุกวันในช่วง 12 เดือนแรกเกิด ผลการศึกษาพบด้วยว่า การฆ่าเชื้อและอุ่นด้วยน้ำร้อนมีผลต่อการปล่อยไมโครพลาสติกมากที่สุด จาก 0.6 ล้านพาร์ติเคิลต่อลิตรที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสเป็น 55 ล้านพาร์ติเคิลต่อลิตรที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส และพบว่าทารกในประเทศพัฒนาแล้วเสี่ยงได้รับมากที่สุดคือ 2.3 ล้านพาร์ติเคิลต่อวันในอเมริกาเหนือ และ 2.6 ล้านพาร์ติเคิลต่อวันในยุโรป เนื่องจากมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนา คณะนักวิจัยยืนยันว่า ไม่ได้ต้องการทำให้พ่อแม่กังวลเรื่องไมโครพลาสติกจากขวดนม เพราะยังไม่ทราบผลกระทบทางสุขภาพและเป็นสิ่งที่กำลังเดินหน้าศึกษาอยู่ พร้อมกับแนะนำวิธีที่จะช่วยลดการปล่อยไมโครพลาสติกจากภาชนะพลาสติก เช่น ใช้น้ำเย็นฆ่าเชื้อแล้วล้างขวดนม เตรียมนมผงในภาชนะที่ไม่ใช่พลาสติกก่อนเทลงขวด.-สำนักข่าวไทย

กินอยู่ปลอดภัย : โควิด-19 ผลต่อโรดแมปเลิกใช้ 7 พลาสติก

รายงานพิเศษ “กินอยู่ปลอดภัย” วันนี้ คุณธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์ นำประเด็นสถานการณ์โควิด-19 กับผลกระทบต่อการบังคับใช้นโยบายเลิกใช้โฟมและพลาสติก มาให้รับทราบกัน

1 2 3 4 8
...