ชัวร์ก่อนแชร์: ใช้พลาสติกแก้วิกฤตโลกร้อน จริงหรือ?

10 พฤษภาคม 2567
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิด เผยแพร่ทาง Facebook เมื่อมีการอ้างผลการศึกษาที่พบว่า การใช้พลาสติกสามารถช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ได้ดีกว่า หลังพบว่าการใช้พลาสติกเพื่อผลิตหีบห่อและสินค้าอุปโภคบริโภค ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดีกว่าการใช้วัสดุทางเลือกอื่น ๆ


บทสรุป :

  1. แม้บางกรณี การใช้พลาสติกจะมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจากการทดแทนการใช้วัสดุอื่น ๆ ที่สิ้นเปลืองมากกว่า
  2. แต่กระบวนการผลิตพลาสติกจนถึงการกำจัดซากพลาสติก ล้วนสร้างก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั่วโลก

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

จากการตรวจสอบโดย Politifact พบว่า ผลสรุปจากงานวิจัยที่กล่าวอ้าง ยังขาดการนำเสนอข้อมูลที่รอบด้าน โดยเฉพาะกระบวนการผลิตและกระบวนการกำจัดพลาสติก ที่นำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง


ข้อความที่ถูกแชร์ มาจากเพจ Facebook ของ America’s Plastic Makers หน่วยงานซึ่งบริหารงานโดย American Chemistry Council สมาคมซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทผู้ผลิตพลาสติกในสหรัฐอเมริกา

ข้อมูลจากการศึกษาอ้างว่า พลาสติกเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและทนทาน ใช้วัสดุน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ เหล็ก กระดาษ อะลูมิเนียม หรือแก้ว ดังนั้น การทดแทนพลาสติกด้วยวัสดุเหล่านี้ อาจเพิ่มการปลดปล่อยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการใช้พลาสติก

อย่างไรก็ดี ข้ออ้างดังกล่าวเป็นการมองข้ามผลกระทบระยะยาวของพลาสติก ที่จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้คนและต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต

ก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตพลาสติก

พลาสติก เป็นวัสดุที่เกิดจากการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละหลายล้านตัน

ศูนย์กฎหมายเพื่อสิ่งแวดล้อมสากล (Center for International Environmental Law) เผยแพร่รายงานปี 2019 ในหัวข้อ Plastic & Climate : The Hidden Costs of a Plastic Planet โดยเนื้อหาพบว่า อุตสาหกรรมพลาสติกคือตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่

ในกระบวนการผลิตเอทิลีน สารประกอบอินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตพลาสติก ซึ่งหนึ่งในขั้นตอนที่มีส่วนในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างสูง

มีการประเมินว่าการผลิตเอทิลีนในปี 2015 พบการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 184.3-213 ล้านตัน เทียบได้กับการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์จำนวน 45 ล้านคันตลอดทั้งปี

ก๊าซเรือนกระจกจากการกำจัดพลาสติก

ปัญหาสำคัญของพลาสติกที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมคือการกำจัดซากพลาสติก ทั้งการกลบฝังและการเผาทำลาย ในปี 2015 มีการประเมินว่าการเผาขยะพลาสติกในสหรัฐอเมริกา ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 5.9 ล้านตัน

พลาสติกกับผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล

มหาสมุทรกลายเป็นสถานที่ทิ้งซากพลาสติกแห่งใหญ่ของโลก ขยะพลาสติกปริมาณหลายตันถูกทิ้งลงทะเลต่อเนื่องทุกปี แต่ละปีมีสัตว์หลายแสนตัวได้รับผลกระทบจากเผลอกินขยะพลาสติก ทั้งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ

การที่พลาสติกไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ พลาสติกที่เสื่อมสภาพจะแตกสลายกลายเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่เรียกว่า ไมโครพลาสติก ซึ่งสามารถแทรกซึมในร่างกายของสัตว์และมนุษย์ได้

งานวิจัยปี 2012 เรื่อง Plastics in the marine environment : the dark side of a modern gift พบว่ามีสัตว์น้ำ 267 สายพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบจากการกินหรือสัมผัสพลาสติก

สังคมขาดความเข้าใจบทบาทของพลาสติกกับปัญหาสิ่งแวดล้อม

นักวิชาการบางส่วนมองว่า ปัญหาในทุกวันนี้คือสื่อและประชาชนยังมีความเข้าใจบทบาทของพลาสติกกับปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่รอบด้าน

แมทธิว แคสต์เนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารของสมาคม American Chemistry Council มองว่า ปัญหามลภาวะทางทะเลเป็นเรื่องสำคัญ แต่ทุกวันนี้สังคมกำลังมองพลาสติกเลวร้ายเกินจริง แม้ส่วนตัวจะยอมรับว่าขยะพลาสติกไม่ควรถูกนำไปทิ้งในทะเลหรือสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในสถานที่ใด ๆ

ข้อมูลของมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอนเมื่อปี 2020 วิเคราะห์ว่า มีหลักฐานที่ชัดเจนถึงความจำเป็นต่อการลดการผลิตพลาสติก แต่ต้องไม่นำไปสู่การพึ่งพาวัสดุทดแทนที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ข้อมูลโดยสรุปยืนยันว่า การลดก๊าซเรือนกระจกจากการหยุดผลิตพลาสติกขึ้นมาใหม่ ก็ยังมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการรีไซเคิลซากพลาสติกเช่นเดิม

ข้อมูลอ้างอิง :


https://www.politifact.com/factchecks/2022/may/26/facebook-posts/fact-checking-claim-plastics-can-help-combat-clima/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ