นิด้าโพลชี้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีการกาบัตรเลือกตั้งส.ส.

กรุงเทพฯ 11 พ.ย.-นิด้าโพลชี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77.80 ยังไม่ทราบกาบัตรเลือกตั้งกี่ใบ และร้อยละ 82.79 ยังไม่ทราบว่าหมายเลขประจำตัวผู้สมัครส.ส.แบบแบ่งเขต พรรคเดียวกันแต่ต่างเขตเลือกตั้ง คนละหมายเลข


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความเข้าใจของคนไทยต่อการเลือกตั้งแบบใหม่ 2562” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤศจิกายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,261 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจของคนไทยต่อการเลือกตั้งแบบใหม่ ตามรัฐธรรมนูญ 60

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับการ “กาบัตรลงคะแนน” คนละกี่ใบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.80 ระบุว่า ไม่ทราบ ว่าจะต้อง “กาบัตรลงคะแนน” คนละกี่ใบ และร้อยละ 22.20 ระบุว่า ทราบ ว่าจะต้อง “กาบัตรลงคะแนน” เพียง 1 ใบ  


ด้านการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร “ส.ส.แบบแบ่งเขต” ของแต่ละพรรคในต่างเขตเลือกตั้ง จะมีหมายเลขเดียวกันหมด หรือ ต่างเขตเลือกตั้งต่างหมายเลข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.79 ระบุว่า ไม่ทราบ ว่าหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร “ส.ส.แบบแบ่งเขต” ของแต่ละพรรคในต่างเขตเลือกตั้ง จะมีหมายเลขเดียวกันหมด หรือ ต่างเขตเลือกตั้งต่างหมายเลข และร้อยละ 17.21 ระบุว่า ทราบว่าหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร “ส.ส.แบบแบ่งเขต” ของแต่ละพรรคจะเป็น “ต่างเขตเลือกตั้งต่างหมายเลข”

สำหรับการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับช่วงเวลาการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.51 ระบุว่า ไม่ทราบ รองลงมา ร้อยละ 20.30 ระบุว่า ทราบ ว่าเป็นช่วงเวลา 8.00 – 17.00 น. และร้อยละ 6.19 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ซึ่งในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า “ไม่ทราบ” พบว่า ร้อยละ 75.73 ระบุว่า เป็นช่วงเวลา 8.00 – 15.00 น. และร้อยละ 24.27 ระบุว่า เป็นช่วงเวลา  8.00 – 16.00 น. 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน ในการเลือกตั้งวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 62 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.80 ระบุว่า ไปแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 2.22 ระบุว่า ไม่ไปแน่นอน เพราะ เลือกไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่สะดวกในการเดินทางไปลงคะแนนเสียง และร้อยละ 1.98 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 


เมื่อสอบถามผู้ที่ระบุว่า จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 62 อย่างแน่นอน ว่าจะเลือกผู้สมัคร เลือกพรรค เลือกว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคสนับสนุน หรือเลือกนโยบายพรรค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.02 ระบุว่า เลือกนโยบายพรรค รองลงมา ร้อยละ 19.62 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 14.15 ระบุว่า เลือกพรรค ร้อยละ 13.91 ระบุว่า เลือกผู้สมัคร และร้อยละ 5.30 ระบุว่า เลือกว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคสนับสนุน .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง