สธ.-ศธ. MOU ยุติวัณโรคในประเทศไทย

สธ.10พ.ค.-ก.สาธารณสุข-ศึกษาฯลงนามร่วมยุติวัณโรคและวัณโรคดื้อยา ทำฐานข้อมูลผู้ป่วย ตั้งศูนย์ความเป็นเลิศวัณโรคระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาเครือข่ายบริการในโรงพยาบาล  วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีในการรักษาวัณโรค


นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อเร่งรัดยุติวัณโรคและวัณโรคดื้อยาของประเทศไทย โดยสาระสำคัญของบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ประกอบด้วย 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การจัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคและวัณโรคดื้อยา 2.ร่วมกันจัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานวัณโรคทั้งในและต่างประเทศ 3.พัฒนาและจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางห้องปฏิบัติการวัณโรคในระดับนานาชาติ เช่นประเทศในกลุ่มลุ่มน้ำโขง 4.พัฒนาเครือข่ายการจัดบริการตรวจคัดกรองวินิจฉัยดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคและวัณโรคดื้อยารวมทั้งการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล 5.สนับสนุนการค้นหาวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยในชุมชนสู่การยุติปัญหาวัณโรค 6.ร่วม มือทางการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมการป้องกันค้นหาวินิจฉัยรวมถึงดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคและวัณโรคดื้อยา 


รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยมีนโยบายเข้มแข็งโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเร่งรัดการลดอุบัติการณ์วัณโรคตามยุทธศาสตร์ยุติวัณโรคขององค์การอนามัยโลกและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ 2560-2564 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขต้องใช้ความร่วมมือและความเป็นเจ้าของร่วมกันจากทุกภาคส่วนในการยุติปัญหานี้ ซึ่งทั้ง 2 กระทรวงจะบูรณาการทำงานร่วมกันโดยกรมควบคุมโรคจะเป็นหน่วยงานศูนย์กลางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่เป้าหมายยุติวัณโรคของประเทศไทย 


ด้าน รมว.ศึกษาฯ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปีเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2561-2564 โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นหน่วยงานหลักในการผลิตบัณฑิตวิจัยพัฒนาและส่งเสริมเป็นศูนย์กลางในการบริการทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและวิชาการชั้นสูง เพื่อพัฒนาเครือข่ายห้องปฏิบัติการให้มีความรุดหน้าสามารถยุติ วัณโรคในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ยังคงเป็นปัญหาอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะในโรงเรียนต่างๆที่วัณโรคในเด็กยังเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังโดยกระทรวงศึกษาธิการ จะเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพบุคลากรและใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ลุล่วง

ขณะที่ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย  ว่า  วัณโรค ยังเป็นโรคติดต่อสำคัญที่ท้าทายระบบสาธารณสุขของไทยและประเทศไทยเป็น1ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง มีผู้ป่วยวัณโรค120,000 คนต่อปี เสียชีวิต 8,600 คน ตามสถิติเมื่อปี 2015 มีผู้ป่วยวัณโรค171คนต่อประชากร1แสนคน คิดเป็นคนไทย1ใน3 มีเชื้อวัณโรค ซึ่งเป้าหมายในการร่วมมือดำเนินการเร่งรัดยุติวัณโรคในประเทศไทย ในปี 2035 ให้เหลือผู้ป่วย 10 คนต่อประชากร 1 แสนคน หรือให้มีผู้ป่วยวัณโรคน้อยที่สุดและหมดไปจากประเทศไทย .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง