จุฬาฯจัดเวทีเสวนา เรื่องเพศในโรงเรียน

จุฬาฯ 6 ก.พ.-ในเวทีเสวนา”ปัญหาหรือตัณหา:ธรรมาภิบาลกับเรื่องเพศในโรงเรียนไทย” นักวิชาการการศึกษาชี้ปัญหาซ้ำซากเหตุวัฒนธรรมการเป็นใหญ่ในโรงเรียน ด้านนักกฎหมายเเนะสร้างมาตรฐานกระบวนการทำคดีทางเพศ ขณะที่ตัวเเทนสื่อชวนสื่ออย่าผลิตซ้ำสร้างทัศนคติเดิมให้คนในสังคม


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเวทีจุฬาฯ เสวนาครั้งที่10″ปัญหาหรือตัณหา :ธรรมาภิบาลกับเรื่องเพศในโรงเรียนไทย” เพื่อเป็นเวทีวิชาการสาธารณะ เผยแพร่องค์ความรู้จากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ เเละเเลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อหาทางออกปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างครูเเละศิษย์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศในโรงเรียน 


นายอรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เรื่องเหล่านี้ไม่เคยหายไปจากสังคมไทย มีการผลิตซ้ำเป็นประจำเเละไม่มีการเเก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เด็กที่เป็นเหยื่อต้องยอมจำนนหรือเอาตัวรอดเอง เมื่อมองสถิติ 5 ปีที่ผ่านมา พบมีการฟ้องร้องเรื่องครูเเละเด็กกว่า  200 ราย เเต่มีครูที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเพียง 4ราย จังหวัดสมุทรสาครจังหวัดเดียวถึง 53 ราย เเต่ที่ไม่มีการฟ้อง ร้องมีจำนวนมาก


ส่วนสถิติทั่วโลกพบเด็กชาย 1 ใน 6 ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เเละส่วนใหญ่ไม่กล้าออกมาเรียกร้อง ขณะที่เด็กหญิง 1 ใน 4 ถูกคุกคามเเละล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาทั้งหมดเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ตนมองว่าโรงเรียนคือสังคมจำลอง ฉายภาพอำนาจนิยมที่ชัดเจนในระบบการศึกษา ครู หรือ ผอ.เป็นใหญ่ เด็กมีอำนาจต่อรองน้อยโดยเฉพาะเมื่อเกิดเรื่องเพศ ปัญหาสะท้อนว่า เด็กต้องช่วยเหลือตัวเอง ครูหรือผู้ปกครองช่วยไม่ได้ ระบบตรวจสอบหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนของส่วนกลางมีผลเเค่ไหน โรงเรียนอาจไม่ใช่สถานที่ปลอดภัยอีกต่อไป จึงควรเเก้วัฒนธรรมในโรงเรียนทั้งเรื่องค่านิยมชายหญิง สร้างสังคมใหม่ เคารพสิทธิการเเตะต้องเนื้อตัวของทุกคนให้ความสำคัญกับเสียงของเด็กหากเกิดปัญหาอย่าซุกใต้พรม ต้องเเก้ปัญหาจริงจัง โรงเรียนเตรียมความพร้อมให้เด็กมีทักษะชีวิต การปฏิเสธ ต่อรองสอนให้เด็กเข้าใจเเละปฏิบัติตามได้ ไม่ใช่เเค่สอนเเต่เด็กไม่เข้าใจ,ครูต้องมองว่าตัวเองมีหน้าที่มากว่าการสอนคือต้องเปลี่ยนเเปลงวัฒนธรรมในโรงเรียน ต้องสร้างเครือข่าย รับฟังความเห็น ดึงครูเเนะเเนวเเละด้านจิตวิทยาเข้ามาดูเเลเด็กมากขึ้น 

ด้านนางปารีณา ศรีวณิชย์  คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นตัณหาของมนุษย์ที่ทำให้เกิดปัญหาในสังคม เมื่อมองฐานความผิดทางเพศ อาทิ กระทำชำเรา กระทำอนาจาร พรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นต้น ในทางกฏหมายมุ่งเน้นคุ้มครองผู้เยาว์ ยิ่งอายุไม่ถึง 15 ปี ยิ่งมีการดูเเลอย่างเข้มข้น เเม้เด็กจะยินยอม ผู้ที่ล่วงละเมิดก็ต้องมีความผิด โดยเฉพาะครูที่กระทำทางเพศต่อศิษย์ ซึ่งอยู่ในการดูเเลเเต่ในทางการพิจารณาโทษ มีข้อกำหนดที่อาจจะทำให้การกระทำชำเราเป็นเพียงการละเมิด ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษเท่านั้น ,คดีทางเพศเป็นคดีที่ยากในการดำเนินคดี ผู้ถูกกระทำกลัว อาย กังวลว่าหากลุกขึ้นมาสู้ สังคมจะมองว่าอย่างไร ยิ่งหากเกิดขึ้นกับเด็กยิ่งต้องดูเเลเด็กให้มากกว่าปกติ เรื่องนี้ทุกภาคส่วนต้องเปลี่ยนเเปลง ต้องมีมาตรฐานในการทำคดีเรื่องเพศ ทั้งในโรงเรียนการสอบครู การดูเเลเด็ก สถานีตำรวจ การสอบปากคำเด็ก ควรมีนักสังคมสงเคราะห์กรือนักจิตวิทยาดูเเลอย่างไรหรือโรงพยาบาล 

,การฟื้นฟูเยียวยาเหยื่อ กระบวนการบำบัดทำอย่างไร กระบวนการการศึกษาให้เด็กสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมหรือในโรงเรียน ด้านกฎหมายต้องคุ้มครองรอบด้านเเละรัดกุม ในต่างประเทศมีการขึ้นทะเบียนตัดโอกาสผู้กระทำความผิดทางเพศไม่ให้อยู่ในสถานศึกษา ขณะที่สื่อก็ต้องช่วยปรับทัศนคติของคนในสังคม ไม่ควรเปิดเผยตัวตน

ขณะที่น.ส.ณัฏฐา โกมลวาทิน บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ในเเง่ของสื่อในการนำเสนอข่าว เรื่องนี้ละเอียดอ่อน ต้องใช้ความระมัดระวัง ไม่ผลิตซ้ำในเรื่องการละเมิดเด็กหรือทุกคนในสังคม นำเเสดงทัศนคติเดิมๆของคนในสังคม ที่เป็นความผิดของผู้หญิงเองที่ทำให้ตนเองเป็นเหยื่อก็จะทำให้เกิดปัญหาซ้ำๆในปัจจุบันสังคมออนไลน์มีความสำคัญ เเละอาจง่ายต่อการล่วงละเมิดทางเพศ ขณะเดียวกันอาจเป็นการช่วยรณรงค์หรือปรับเปลี่ยนทัศนคติในสังคม อย่างต่างประเทศ กรณี Weinstein Effect ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ล่วงละเมิดผู้หญิงหลายราย จนดารานักเเสดงออกมาเรียกร้องเเละรณรงค์ ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ดังนั้นสื่อควรคัดกรอง ทำงานเชิงลึกเเละไม่ทำให้ทุกการนำเสนอข่าวเป็นตราบาปที่ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต 

ส่วนนางจิตติมา ภาณุเดชะ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง กล่าวว่า เด็กส่วนใหญ่เมื่อเกิดปัญหาจะเล่าให้เพื่อนฟัง ตามมาคือพ่อเเม่เเละครู ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการมีวิธีการทำงานยังรวมอยู่ที่ส่วนกลาง อีกทั้งไม่มีเเนวทางในการร้องเรียนเรื่องนี้หรือไม่มีหน่วยงานที่ดูเเลเเก้ปัญหาอย่างชัดเจน กระทรวงศึกษาฯ ต้องกล้าหาญที่จะมีนโยบาย ปล่อยให้โรงเรียนหรือพื้นที่ได้เเก้ปัญหาพร้อมทั้งต้องกล้าหาญทุ่มงบประมาณลงทุนพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบในการดูเเลเด็ก 

ขณะที่โรงเรียนต้องทำงานใน 3 ระบบได้เเก่ หลักสูตรวิชาในห้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ สร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สุขภาวะทางเพศให้ได้มากกว่าเพศศึกษา, สร้างให้เด็กเท่าทันความรู้สึกตัวเอง เท่าทันสังคมเเละเท่าทันความสัมพันธ์ เด็กต้องมีทักษะขอความช่วยเหลือเเละเด็กเข้าถึงความบริการความปลอดภัยเรื่องเพศ ,ระบบสภาพเเวดล้อม มีกล่องรับฟังความเห็น เเละการสร้างเครือข่ายในการดูเเลเด็กอย่างเป็นระบบ .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง