ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB นั้น


บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ อาจทำให้เข้าใจผิดและตื่นตระหนก

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ SCB ยืนยัน เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง และยังไม่เคยมีกรณีลูกค้าถูกดูดเงินจากการใช้พาวเวอร์แบงก์ สำหรับภาพที่แชร์กันนั้น เป็น Wireless Charger ซึ่งเป็นของพรีเมียมที่ธนาคารได้มอบให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ตามเงื่อนไขในช่วงของการจัดโปรโมชัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้จริง ไม่ใช่อุปกรณ์ขโมยข้อมูลหรือดูดเงินแต่อย่างใด


ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ตรวจสอบพบว่า ภาพและข้อความที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริง | อุปกรณ์ในภาพเป็นอุปกรณ์จริงที่ทางธนาคารส่งให้กับลูกค้า ไม่ใช่อุปกรณ์ดูดเงินที่ส่งจากมิจฉาชีพแต่อย่างใด

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อความที่แชร์กันนั้น กรณีดังกล่าว เป็นไปได้ยาก ที่จะถูกดูดเงินทันทีที่เสียบอุปกรณ์ เนื่องจากการที่เงินจะออกจากบัญชีธนาคารบนมือถือได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการอย่างน้อยคือการ กดโอนเงินออกไปเอง หรือการถูกหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อเข้าควบคุมเครื่อง รวมทั้งถูกหลอกให้กดรหัส และสแกนใบหน้า ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่เสียบอุปกรณ์แล้วจะดูดเงินทันที

ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ มีการออกแบบระบบตัดการเชื่อมต่อข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อเสียบชาร์จแล้ว จะมีกล่องข้อความขึ้นมาสอบถามว่าต้องการจะเชื่อมต่อถ่ายโอนข้อมูลหรือไม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถกดตอบ ไม่ และใช้เพียงเฉพาะการถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าอย่างเดียว

ด้าน พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) ให้ข้อมูลกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า ไม่เคยได้รับรายงานการแจ้งความการโดนดูดเงินด้วยอุปกรณ์ชาร์จพาวเวอร์แบงก์ อย่างที่แชร์กันแต่อย่างใด 

พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ยังกล่าวถึงกรณีที่เป็นข่าวที่ทำให้เข้าใจว่า โดนดูดเงิน เพราะสายชาร์จ แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า มีการถูกหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงิน ซึ่งคนร้ายหลอกว่าเป็นแอปพลิเคชันหาคู่ ก่อนจะถูกโอนเงินขณะที่กำลังชาร์จโทรศัพท์  

สามารถดูรายละเอียดในหลักการเดียวกันได้ จากกรณีที่มีการแชร์กันว่า มิจฉาชีพส่งสายชาร์จเพื่อดูดเงิน

อย่างไรก็ตาม การออกอุบายให้เสียบสายต่อมือถือกับอุปกรณ์ของคนร้าย เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่อาชญากรอาจจะใช้เพื่อดักขโมยข้อมูลได้ ซึ่งที่ผ่านมามีรายงานเกี่ยวกับอุปกรณ์การขโมยข้อมูลที่อยู่ในรูปร่างของสายชาร์จ พาวเวอร์แบงก์ ฮาร์ดดิสก์ ยูเอสบีไดรฟ์ เป็นต้น แต่มักเป็นการเจาะจงไปยังเป้าหมาย มากกว่าจะเป็นการหว่านแจกอุปกรณ์ เนื่องจากอุปกรณ์ดัดแปลงเหล่านี้มักใช้เทคโนโลยีซับซ้อนและมีราคาสูง


2 มีนาคม 2567
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
สำนักข่าวไทย อสมท
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
บันทึกการแก้ไข : 2 มีนาคม 2567 – เพิ่มบทสัมภาษณ์ พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน
บันทึกการแก้ไข : 3 มีนาคม 2567 – เพิ่มข้อความยืนยันจาก SCB ว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง
บันทึกการแก้ไข : 4 มีนาคม 2567 – เพิ่มภาพและข้อความที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริง

ข้อความที่แชร์กัน
ได้รับซองเป็นเครื่องชาร์จแบตอย่างดีจากธนาคาร SCB แต่ยังไม่ได้ชาร์จพอดีสงสัยก็เลยไปถามญาติที่ทำงานแบงค์เขาบอกห้ามเสียบห้ามทำอะไรเด็ดขาดเลยนะมันเป็น call center ซึ่งส่งมาให้ถ้าเราเสียบชาร์จปั๊บหรือ power bank ที่มันส่งมาให้มันจะดูดเงินทันทีโชคดีที่มีญาติอยู่แบงค์และเขาบอกโทรไปเช็คกับแบงค์ SCB เขาบอกไม่มีการส่งอะไรไปให้ลูกค้าของแบงค์เลยฝากไว้ด้วยนะจ๊ะใกล้ตัวเข้ามาทุกที

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

ซุ้มไฟเฉลิมพระเกียรติฯ สุดตระการตา รับประเพณียี่เป็ง

ยามค่ำคืนในตัวเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยแสงไฟรับประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทงเชียงใหม่ โดยเฉพาะบนถนนท่าแพ มีการสร้างซุ้มประดับไฟเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 14 ซุ้ม ยาวกว่า 200 เมตร.

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมรีดทรัพย์ รับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพื่อขายงาน

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมเรียกรับเงิน 20 ล้านบาท จากดิไอคอน ยอมรับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพราะต้องการขายงาน

คุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง เจ้าตัวเงียบรีบเดินขึ้นรถตู้

ตำรวจกองปราบคุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง ผู้ต้องหาปัดตอบสื่อ ด้านพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี