17 พฤศจิกายน 2567 – ไข้เลือดออกเป็นซ้ำแล้วเสี่ยงเสียชีวิตจริงหรือไม่ และเราควรป้องกันไข้เลือดออกด้วยวิธีใดจึงจะดีที่สุด ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โรคไข้เลือดออก ใคร ๆ ก็เป็นได้
- ในอดีตคนจะเข้าใจว่าโรคไข้เลือดออกเป็นโรคของเด็ก แต่ในปัจจุบันพบผู้ป่วยพบได้ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะปี 2567 นี้ พบผู้ป่วยสูงสุดในรอบ 10 ปี
- เด็กป่วยมากที่สุด รองลงมาคือวัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้น
- อัตราการเสียชีวิตในเด็กต่ำมาก แต่ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่สูงกว่า เนื่องจาก
- ผู้ใหญ่มักไม่คิดว่าตัวเองจะเป็นไข้เลือดออก จึงชะล่าใจ ไม่ไปพบแพทย์ หรือกินยาที่ไม่ควร
- กลไกภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่ต่างจากเด็ก ทำให้มีอาการรุนแรงกว่า
ไข้เลือดออกเป็นซ้ำ อันตรายกว่าเดิม?
- ไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ ติดเชื้อแล้วจะมีภูมิคุ้มกันสายพันธุ์นั้น ๆ ไปตลอดชีวิต แต่ยังมีโอกาสติดสายพันธุ์อื่นได้
- การติดเชื้อครั้งที่ 2 มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงกว่าครั้งแรก แต่ไม่เสมอไป บางคนติดครั้งแรกก็มีอาการรุนแรงได้
- มีโอกาสติดเชื้อครบ 4 สายพันธุ์ แต่ความน่าจะเป็นต่ำมาก
ป้องกันอย่างไร?
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
- ป้องกันยุงกัด เช่น ทายากันยุง นอนกางมุ้ง
- ฉีดวัคซีน (สำหรับผู้ที่มีอายุ 4-60 ปี และไม่มีโรคประจำตัวบางอย่าง)
ข้อควรระวัง
- ผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่ที่เสียชีวิต มักมาพบแพทย์ช้าเกินไป
- หากมีอาการไข้สูง 2-3 วันไม่ลด ไอ น้ำมูก ไม่มี ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง
สัมภาษณ์เมื่อ : 22 ตุลาคม 2567
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter