ชัวร์ก่อนแชร์: แสงจันทร์วันเพ็ญส่งผลต่อการนอนหลับ จริงหรือ?

03 ตุลาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

1.ผลวิจัยพบว่าแสงจันทร์คืนวันเพ็ญทำให้นอนหลับยากกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้คนในพื้นที่ชนบท
2.นอกจากแสงจันทร์แล้ว แสงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันส่งผลต่อการนอนเช่นเดียวกัน


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

หนึ่งในข้อโต้แย้งเรื่องอิทธิพลของดวงจันทร์กับวิถีชีวิตของผู้คนมากที่สุด คือแสงของดวงจันทร์กับการนอนหลับ เมื่อมีความเชื่อว่า ในคืนวันเพ็ญที่ดวงจันทร์ส่องสว่างเต็มดวง จะเป็นช่วงที่ผู้คนการนอนหลับยากกว่าช่วงอื่น ๆ ของเดือน

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


ความสว่างของแสงจันทร์วันเพ็ญ

การคิดค้นหลอดไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างในปัจจุบัน ทำให้อิทธิพลของแสงจันทร์ต่อวิถีชีวิตของผู้คนน้อยกว่าในอดีตอย่างมาก

ขณะที่ค่าความสว่างของแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญมีประมาณ 0.1-0.3 lux ถือว่าน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าความสว่างของไฟส่องทางตามท้องถนน ซึ่งมีค่าความสว่างประมาณ 5-15 lux ส่วนจอแสดงผลของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ ก็มีค่าความสว่างไม่น้อยกว่า 40 lux

ระดับความสว่างของแสงจันทร์

อย่างไรก็ดี ในพื้นที่ชนบทซึ่งการใช้ไฟฟ้าในยามค่ำคืนมีอย่างจำกัด อิทธิพลของแสงจันทร์ยังมีมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง

Sleep Onset Latency

ในระหว่างการนอน Sleep Onset Latency (SOL) คือช่วงเริ่มต้นที่ร่างกายเข้าสู่กระบวนการนอนหลับ โดยเชื่อว่าการถูกรบกวนด้วยแสงสว่างทำให้ร่างกายใช้เวลาในช่วง SOL นานขึ้น ทำให้คุณภาพของการนอนลดน้อยลง เช่น นอนยากขึ้นหรือนอนน้อยกว่าปกติ

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า ในคืนที่ดวงจันทร์ส่องสว่างเต็มดวง จะพบผู้คนที่มีปัญหาด้านการนอนมากกว่าปกติ

งานวิจัยปี 2013 ของมหาวิทยาลัยเบเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นการตรวจสอบพฤติกรรมการนอนของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 33 รายด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ระหว่างนอนหลับ พบว่าในช่วงคืนก่อนพระจันทร์เต็มดวง กลุ่มตัวอย่างใช้เวลาก่อนหลับนานกว่าปกติ 5 นาที นอนน้อยกว่าปกติ 20 นาที และอยู่ในสภาวะหลับลึกน้อยกว่าปกติที่ 30%

สอดคล้องกับงานวิจัยปี 2021 ที่ศึกษาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันและมหาวิทยาลัยเยลจากสหรัฐอมเริกา และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคีล์เมส จากประเทศอาร์เจนติน่า

ทีมวิจัยศึกษากระบวนการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัยวอชิงตันจำนวน 464 ราย และ ชาวโทบา ชนพื้นเมืองในประเทศอาร์เจนติน่าจำนวน 98 ราย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณชานเมือง กลุ่มที่อาศัยอยู่ในชนบทที่มีไฟฟ้าใช้อย่างจำกัด และกลุ่มที่อาศัยอยู่ในชนบทที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง โดยแต่ละคนจะถูกติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบการนอนหลับที่ข้อมือเป็นเวลา 1-2 เดือน

การวิจัยพบว่าในช่วง 3-5 วันก่อนคืนวันเพ็ญ กลุ่มตัวอย่างใช้เวลาก่อนหลับนานกว่าปกติระหว่าง 30-80 นาที และนอนน้อยกว่าปกติระหว่าง 20-90 นาที โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในชนบทที่มีไฟฟ้าใช้อย่างจำกัด มีปัญหาด้านการนอนหลับในคืนที่พระจันทร์เต็มดวงมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่บริเวณชานเมืองซึ่งมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง

แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญต่อการนอนหลับของผู้คนในพื้นที่ชนบทที่การใช้ไฟฟ้ายังไม่ทั่วถึงอย่างชัดเจน

Circadian Rhythm

จุดที่น่าสังเกตจากงานวิจัยปี 2021 คือการพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ชานเมืองบางรายกลับมีปัญหาด้านการนอนหลับในคืนพระจันทร์เต็มดวง มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในชนบท

ส่วนผลวิจัยปี 2013 ก็พบว่า ผลกระทบของการนอนหลับในคืนวันเพ็ญ ส่งผลต่อผู้คนแม้ในคืนที่ไม่ได้อยู่ในที่ที่แสงจันทร์ส่องถึงห้องนอนก็ตาม

ผลกระทบของแสงต่อนาฬิกาชีวภาพ

นักวิจัยมองว่า นอกจากแสงจันทร์คืนวันเพ็ญแล้ว ปัญหาการนอนหลับในคืนพระจันทร์เต็มดวง อาจมาจากการทำงานที่ผิดพลาดของนาฬิกาชีวภาพหรือ Circadian Rhythm วงจรการทำงานของร่างกายที่ควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ในรอบวัน รวมถึงการนอนหลับ

เนื่องจากนาฬิกาชีวภาพถูกกำหนดตามช่วงเวลาของการสัมผัสแสงสว่างและความมืด การสัมผัสแสงสว่างในเวลากลางคืนมากเกินไป จะเป็นการรบกวนการควบคุมการนอนหลับที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวภาพ

เมื่อนาฬิกาชีวภาพถูกรบกวนซ้ำ ๆ จะส่งผลกระทบต่อการนอน ซึ่งการอดนอนบ่อย ๆ จะกระตุ้นหรือก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตบางชนิด เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท และโรคไบโพลาร์

นอกจากแสงสว่างจากดวงจันทร์แล้ว การสัมผัสแสงจากหลอดไฟและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนเป็นประจำ ก่อให้เกิดปัญหาด้านการนอนหลับได้เช่นเดียวกัน

ข้อมูลอ้างอิง :

https://en.wikipedia.org/wiki/Lunar_effect
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5299389/
https://www.healthline.com/health/full-moon-effects
https://edition.cnn.com/2021/01/27/health/moon-phase-sleep-study-wellness-scn/index.html
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7840136/
https://www.science.org/content/article/yes-you-can-blame-moon-bad-night-s-sleep
https://www.cell.com/current-biology/fulltext/S0960-9822(13)00754-9?_returnURL=https%3A%2F%2Flinkinghub.elsevier.com%2Fretrieve%2Fpii%2FS0960982213007549%3Fshowall%3Dtrue

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่