จีนเล็งสร้างบ้านบนดวงจันทร์ใช้เทคนิคพิมพ์ 3 มิติ 

เหอเฝย 3 ก.ค. — นักวิทยาศาสตร์ของจีนทดลองนำระบบการพิมพ์ 3 มิติอันล้ำสมัยมาใช้สร้างที่อยู่อาศัย โดยใช้วัสดุเป็นดินที่รวบรวมมาจากเฉพาะบนดวงจันทร์ ซึ่งจะช่วยปูทางสู่การก่อสร้างสถานีวิจัยบนดวงจันทร์ขนาดใหญ่ในพื้นที่จริง สำนักข่่าวซินหัว รายงานว่า หยาง หงหลุน วิศวกรอาวุโสของห้องปฏิบัติการสำรวจอวกาศห้วงลึกในเหอเฝย มณฑลอันฮุย เผยว่าห้องปฏิบัติการฯ ประสบความสำเร็จในการสร้างต้นแบบเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่เปลี่ยนเศษดินและหินบริเวณผิวชั้นบนของดวงจันทร์ หรือ เรโกลิธ (regolith) ให้กลายเป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการใช้วัสดุก่อสร้างจากโลก ระบบการพิมพ์ดังกล่าวใช้ตัวรวมแสงสะท้อนแสงที่มีความแม่นยำสูง และระบบส่งพลังงานใยแก้วนำแสงแบบยืดหยุ่น เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่ร้อนเพียงพอสำหรับหลอมรวมเรโกลิธของดวงจันทร์ ซึ่งความก้าวหน้าในการพิมพ์ 3 มิติครั้งนี้ยืนยันความเป็นไปได้ในการใช้ดินบนดวงจันทร์เป็นวัสดุก่อสร้างเพียงอย่างเดียว ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรบนดวงจันทร์ได้โดยไม่จำเป็นต้องขนย้ายวัสดุเพิ่มเติมจากพื้นโลก ระบบข้างต้นยังมาพร้อมนวัตกรรมการผลิตแบบยืดหยุ่น ซึ่งช่วยให้สามารถผลิตอิฐและขึ้นรูปโครงสร้างที่ซับซ้อนตามความต้องการได้ โดยต้นแบบเครื่องพิมพ์ 3 มิติเสร็จสิ้นการทดสอบสร้างเรโกลิธในเบื้องต้นแล้วบนพื้นผิวโลก ส่วนการทดสอบความสามารถหลอมละลายและก่อตัวเป็นเส้น พื้นผิว วัตถุ และโครงสร้างที่ซับซ้อนนั้นเสร็จลงแล้วเช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญทำการทดสอบความเป็นไปได้ทางเทคนิคของเทคโนโลยีการรวมแสงอาทิตย์ ระบบส่งพลังงานด้วยใยแก้วนำแสง และระบบหลอมเรโกลิธของต้นแบบอย่างเป็นระบบแล้ว ซึ่งความท้าทายหลักในช่วงแรกของการทำงานคือการบรรลุค่าความเข้มข้นของพลังงานแสงอาทิตย์ที่เสถียร และการสร้างรูปร่างเรโกลิธภายใต้สภาพแวดล้อมสุดขั้วของดวงจันทร์   นอกจากนี้ มีการตรวจสอบเทคโนโลยีสำคัญสำหรับการจับพลังงานจากดวงจันทร์และการสกัดวัสดุ ซึ่งจะช่วยวางรากฐานทางเทคนิคสำหรับการสร้างระบบพลังงานบนดวงจันทร์ โดยสำหรับการใช้งานในอนาคตนั้น หยางกล่าวว่าต้นแบบนี้สามารถผลิตโครงสร้างเรโกลิธของดวงจันทร์ได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการสร้างถนนบนดวงจันทร์ แพลตฟอร์มอุปกรณ์ และอาคารต่างๆ อีกทั้งทำให้ภารกิจการสำรวจดวงจันทร์และการใช้ทรัพยากรมีความยั่งยืนและดำเนินงานในวงกว้าง.-813.-สำนักข่าวไทย

ภาพ ‘โลก-ดวงจันทร์’ ฝีมือยานสำรวจเทียนเวิ่น-2

ปักกิ่ง 1 ก.ค. — องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน หรือ ซีเอ็นเอสเอ (CNSA) ในวันนี้ได้เผยแพร่ภาพถ่ายโลกและดวงจันทร์ที่บันทึกด้วยเซนเซอร์นำทางแบบมุมมองแคบบนยานสำรวจเทียนเวิ่น-2 (Tianwen-2) ในวงโคจรเมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวซินหัวรายงานว่ายานฯ บันทึกภาพโลกขณะอยู่ห่างจากโลกราว 5.9 แสนกิโลเมตร และบันทึกภาพดวงจันทร์ขณะอยู่ห่างจากดวงจันทร์ในระยะเดียวกัน โดยคณะนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ประมวลผลและสร้างภาพถ่ายหลังจากส่งถึงภาคพื้นดิน ยานสำรวจเทียนเวิ่น-2 โคจรอยู่ในอวกาศนานกว่า 33 วันแล้ว อยู่ห่างจากโลกมากกว่า 12 ล้านกิโลเมตร และยังคงทำงานได้อย่างดี จีนได้ส่งยานสำรวจเทียนเวิ่น-2 สำหรับภารกิจเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยครั้งแรกของประเทศ เมื่อวันที่ 29 พ.ค. โดยมีเป้าหมายศึกษาการก่อตัวและวิวัฒนาการของดาวเคราะห์น้อย รวมถึงระบบสุริยะยุคแรก ภารกิจดังกล่าวมุ่งบรรลุเป้าหมายหลายประการตลอดการเดินทางสำรวจนานรับทศวรรษ ทั้งการเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก 2016HO3 และการสำรวจดาวหางในแถบดาวเคราะห์น้อยหลักหมายเลข 311P ซึ่งอยู่ห่างจากโลกมากกว่าดาวอังคาร.-813.-สำนักข่าวไทย

ซูเปอร์มูน

ทั่วโลกแห่ชมซูเปอร์มูนครั้งสุดท้ายของปีนี้

เมื่อคืนที่ผ่านมาผู้คนทั่วโลกมีโอกาสได้ชมดวงจันทร์ที่เรียกว่าซูเปอร์มูนซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้

ปรากฏการณ์ซูเปอร์มูน-บลูมูนทั่วโลก

ปรากฎการณ์ซูเปอร์มูนเกิดขึ้นสามารถมองเห็นได้ทั่วโลกเมื่อวันจันทร์และอังคารที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่นของแต่ละประเทศ เริ่มต้นจากฝั่งออสเตรเลีย เอเชียไปจนถึงยุโรปและอเมริกา

จีนระบุตัวอย่างดวงจันทร์จาก “ฉางเอ๋อ-6” มีลักษณะจำเพาะ

ทีมนักวิทยาศาสตร์ของจีนได้เผยแพร่เอกสารการวิจัยฉบับแรกเมื่อวานนี้ เกี่ยวกับตัวอย่างจากดวงจันทร์ที่นำกลับมายังโลกโดยภารกิจฉางเอ๋อ-6 (Chang’e-6) ซึ่งระบุว่าตัวอย่างจากดวงจันทร์ของฉางเอ๋อ-6

“ศิริกัญญา” ลั่นอยากเห็นนายกฯ เป็นดาวฤกษ์ ไม่ใช่ดวงจันทร์พึ่งแสงอาทิตย์

“ศิริกัญญา” ตรวจคำแถลงนโยบาย “แพทองธาร” ลั่นอยากเห็นนายกฯ เป็นดาวฤกษ์ ไม่ใช่ดวงจันทร์พึ่งแสงอาทิตย์ เตือนรัฐบาลดื้อตาใส หยุดอ้างฝ่ายค้านทำดิจิทัลวอลเล็ตเละ ขออย่าเคลมเป็นผลงาน เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวตามอัตภาพ

ปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนครั้งแรกของปีนี้

ซิดนีย์ 20 ส.ค.- เกิดปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนครั้งแรกของปีนี้ ดวงจันทร์ส่องสว่างเหนือท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ผ่านมาในหลายพื้นที่สำคัญทั่วโลก ที่นครซิดนีย์ของออสเตรเลีย ปรากฎการณ์พระจันทร์เต็มดวงใกล้โลก หรือซูเปอร์มูนที่เกิดขึ้นครั้งแรกของปีนี้ เห็นพระจันทร์เต็มดวงขนาดยักษ์ลอยเด่นอยู่บนท้องฟ้าเหนือโอเปร่าเฮาส์เมื่อช่วงค่ำคืนที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น แม้ว่าจะมีเมฆหนามาบดบังดวงจันทร์ แต่ความสว่างของดวงจันทร์ก็ทำให้มองเห็นได้ เช่นเดียวกับที่วิหารแห่งเทพโพไซดอน เทพแห่งมหาสมุทรหรือท้องทะเล วิหารโบราณเลื่องชื่อที่สุดแห่งหนึ่งของกรีซ ดูมีขนาดเล็กจิ๋วเมื่อเทียบกับปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนช่วงค่ำวานนี้ พระจันทร์เต็มดวงกลมโตลอยเด่นเหนือวิหารแห่งเทพโพไซดอนในแหลมเคปซูเนียน เกิดเงาสะท้อนที่งดงามบนพื้นผิวทะเลอีเจียน ปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนที่หาดูได้ยาก ยังมองเห็นเด่นชัดเหนือเมืองท่าขนส่งสินค้า ทางตอนเหนือของกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย แม้ท้องฟ้าเต็มไปด้วยมลภาวะและความขมุกขมัว แต่ซูเปอร์มูนก็สามารถส่องแสงสวยงามเหนือท่าเรือดังกล่าว ปรากฎการณ์ซูเปอร์มูนเมื่อช่วงค่ำคืนวานนี้สามารถมองเห็นได้ในเอเชียและออสเตรเลีย ก่อนย้ายไปยุโรปและตะวันออกกลาง ถือเป็นซูเปอร์มูนที่เกิดขึ้นครั้งแรกของปีนี้ ซูเปอร์มูน คือ ปรากฎการณ์ที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกในขณะที่เป็นพระจันทร์เต็มดวงมากที่สุด จนทำให้ดวงจันทร์ดูสว่างและมีขนาดใหญ่กว่าปกติที่เราเห็นประมาณร้อยละ 7 ปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกประมาณ 350,000 กิโลเมตร จากเดิมที่จะอยู่ห่างเฉลี่ยประมาณ 400,000 กิโลเมตร ส่วนที่เรียกว่าซูเปอร์มูนสีน้ำเงิน หรือซูเปอร์บลูมูนไม่ได้หมายความว่าดวงจันทร์มีสีน้ำเงิน แต่หมายถึงปรากฎการณ์ที่มีพระจันทร์เต็มดวงเกิดขึ้นสองครั้งในหนึ่งเดือน.-815(814).-สำนักข่าวไทย

จีนพบแร่ธาตุอุดมด้วยโมเลกุลน้ำในตัวอย่างดินดวงจันทร์

ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันฟิสิกส์ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ค้นพบแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยน้ำในโครงสร้างโมเลกุล ในตัวอย่างดินดวงจันทร์ที่ยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-5 (Chang’e-5) นำกลับมาสู่โลก

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพสำรวจดวงจันทร์เป็นของเก๊ เพราะยาน rover ใส่ในยานลงดวงจันทร์ไม่ได้ จริงหรือ?

ยาน Lunar Roving Vehicle ของโครงการ Apollo ถูกออกแบบให้สามารถพับและขนส่งใน Lunar Module สำหรับจอดลงดวงจันทร์ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: นสพ.ตีพิมพ์ภาพสำรวจดวงจันทร์ ก่อนนักบินกลับโลกได้อย่างไร?

ภาพการสำรวจดวงจันทร์ของยาน Apollo 11 ที่หนังสือพิมพ์เผยแพร่บนข่าวหน้าหนึ่งเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม เป็นภาพที่นำมาจากการถ่ายทอดสดที่ยิงสัญญาณตรงมาจากดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม

1 2 3 9
...