เงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด

25 มิ.ย. –“เงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด” หนึ่งใน “ทุนหมุนเวียน” ภายใต้การกำกับดูแลของระบบการบริหารทุนหมุนเวียน กับภารกิจ “ซื้อ ขายยาเสพติดให้โทษ”


“จัดหาและจำหน่ายวัตถุเสพติดทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ” คือหนึ่งในพันธกิจของหน่วยงานที่มีชื่อว่า “กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด”

“กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด” เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ ซื้อ ขายยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษประเภท 4 และวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท 2 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดให้โทษ เพื่อใช้ในทางการแพทย์วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมภายในราชอาณาจักร ให้กับสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชนทั่วประเทศ


ปัจจุบัน กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด บริหารงานภายใต้ คณะกรรมการอำนวยการเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานจากภายนอก ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินการ อาทิ ผู้แทนจากกรมบัญชีกลาง ผู้แทนจากสำนักงบประมาณผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ และผู้อำนวยการกองต่างๆ ในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน

มีการบริหารจัดการในรูปแบบเงินทุนหมุนเวียน ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ.2558 และมีคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดเป็นผู้กำกับติดตามนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการวัตถุเสพติด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านการสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการปฏิบัติการและด้านการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน

มาถึงตรงนี้ หลายคนคงจะมีคำถามว่า วัตถุเสพติดทางการแพทย์ คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างจากยาเสพติดให้โทษ


พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งยาเสพติดออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ไม่มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ และทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาในระดับรุนแรง เช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยาอี เป็นต้น

ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป มีประโยชน์ในการรักษาโรค และทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับที่ต้องพึงระวัง เช่น มอร์ฟีน โคเคน โคเดอีน เป็นต้น

ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ เป็นยาที่ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรน้อย แต่ยังคงมีอันตราย และมีประโยชน์มากในการรักษาโรค เช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน เป็นต้น

ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride)

ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4

ยาเสพติดประเภท 2 เอามาใช้ทางการแพทย์อย่างไรได้บ้าง?
ก่อนจะเป็นยาเสพติดประเภท 2 ส่วนใหญ่จะได้รับการสกัดมาจากยางของผลฝิ่น ซึ่งมีส่วนประกอบที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ เช่น
1.ใช้เป็นยาระงับอาการปวดหลัง หรือการผ่าตัดกรณีกระดูกหัก อาการปวดจากแผลไฟไหม้ และใช้ระงับปวดในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรคมะเร็ง
2.ทำให้ผู้ป่วยมีอาการสงบ ระงับปวด ง่วงซึมเซาและรู้สึกสบาย
3.ยับยั้งการทำงานของศูนย์ควบคุมการไอได้ จึงใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ไอ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด จำหน่ายวัตถุเสพติดทางการแพทย์ ให้แก่สถานพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชนทั่วประเทศ ในรายการยาดังต่อไปนี้
1.จำแนกตามกฎหมาย ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ ยาเสพติดให้โทษ ประเภท 2 , ยาเสพติดให้โทษ ประเภท 4 และวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท 2
2.จำแนกจากการนำไปใช้ประโยชน์ สามารถจำแนกได้ 8 กลุ่ม คือ

  1. Analgesics (กลุ่มยาแก้ปวดปวด)
  2. Anesthetic (กลุ่มยาสลบ)
  3. Anti-obesity (กลุ่มยาลดความอยากอาหาร)
  4. Anti – ADHD (กลุ่มยารัดษาโรคสมาธิสั้น)
  5. Nasal Decongestants (กลุ่มยาบรรเทาอาการคัดจมูก)
  6. Anti – Addictive (กลุ่มยาบำบัดผู้ติดยาเสพติด)
  7. Sympathomimetic drugs (กลุ่มยาที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ)
  8. Hypnotics (กลุ่มยานอนหลับ)

3.จำแนกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย

  1. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Finish Product)
  2. วัตถุดิบ (Raw materials)
  3. สารมาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ (Reference standard

นอกจากการจำหน่ายวัตถุเสพติดทางการแพทย์แล้ว เงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ยังดำเนินโครงการสำคัญ ๆ อีกหลายโครงการ เช่น โครงการส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายทางการแพทย์ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องของ Palliatives Care เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเข้าถึงยากลุ่ม Opioids ในสถานพยาบาล เกิดความเข้าใจการบริหารจัดการวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ให้เพียงพอตามความจำเป็นและเหมาะสม

โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบและติดตามการสั่งซื้อและจัดส่งวัตถุเสพติดอัจฉริยะ (Smart Tracking) เนื่องจากภารกิจเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดเกี่ยวข้องกับการจัดหาและจำหน่ายวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม ทั่วประเทศ ระบบคลังวัตถุเสพติด จึงมีความสำคัญในแง่ของความปลอดภัยของวัตถุเสพติด ความถูกต้องข้อมูล สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งสามารถสนับสนุนการทำงานร่วมกับระบบเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการคลังสินค้าวัตถุเสพติดแบบครบวงจร (Smart Inventory) ที่สามารถควบคุมและติดตามการเข้า-ออกของวัตถุเสพติดทางการแพทย์ภายในคลังสินค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการบริหารจัดการคลังวัตถุเสพติดมีรูปแบบที่ยืดหยุ่นในการจัดวางสินค้า โดยใช้ระบบในการคำนวณและคาดการณ์การใช้วัตถุเสพติดปริมาณมากไปน้อยเพื่อความเหมาะสมในการจัดวางสินค้า

แม้ว่ายาเสพติดให้โทษจะถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หากได้รับสารเสพติดในปริมาณมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของสารเคมีในสมองและระบบประสาท จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายควบคุมการใช้งานอย่างเคร่งครัด รวมถึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานเฉพาะอย่าง “เงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด” ที่ตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ ซื้อ ขายยาเสพติดให้โทษเหล่านั้นโดยเฉพาะ เพื่อการกระจายในระบบที่มีการใช้อย่างเหมาะสม ตามพันธกิจ จัดหาและจำหน่ายวัตถุเสพติดทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ และ สนับสนุนการควบคุม กำกับ ติดตามการใช้ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

และนี่คือผลงานส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลการบริหารทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นกลไกหนึ่งให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง.

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.เพชรบุรี แชมป์เก่ายังแรง

เลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบุรี ไม่คึกคัก ผลไม่เป็นทางการ “ชัยยะ อังกินันทน์” แชมป์เก่า คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง ด้านเลขาฯ กกต. เผยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด คนมาใช้สิทธิน้อย คาดเบื่อเลือกตั้ง 2 รอบ

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

ลุ้นผลเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ขณะนี้การนับคะแนนตามหน่วยต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ในขั้นตอนการรวมคะแนน ซึ่งในเขตเมือง ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคประชาชนมีคะแนนนำ แต่อำเภอรอบนอก ตัวแทนพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำอยู่หลายหน่วยเลือกตั้ง

เร่งประสานอินเตอร์โพลขอหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ”

ตำรวจเตรียมออกหมายจับเครือข่าย “หมอบุญ” ฉ้อโกง ลอต 2 รวมทั้งเร่งประสานอินเตอร์โพล ออกหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ” กลับมาดำเนินคดี