fbpx

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์
บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ถึงเวลาปัดฝุ่นฝีมือและวิจารณญาณกันอีกครั้ง เพื่อป้องกันภัยจากการหลอกลวงที่กำลังยกระดับไปอีกขั้น ในยุคที่ “คนร้าย” ร่วมมือกับ “เอไอ”


เนื่องในวันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล 2 เมษายน 2566 “ชัวร์ก่อนแชร์” มีเทคนิคสั้นกระชับฉบับเข้าใจง่าย ทุกคนปฏิบัติได้มาฝากไว้ให้เป็นเคล็ดวิชาและวิธีคิดในการรับมือกับ ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ ที่มีอยู่ดาษดื่น

เมื่อ “ข่าวปลอม” หล่อหลอมกับ “เอไอ” กลายเป็น “ภัยไซเบอร์” ที่ลึกล้ำ

ย้อนไปในช่วงเริ่มต้น ไม่กี่ปีก่อนที่โลกนี้จะรู้จัก “ข่าวปลอม” แบบที่เรารู้จักกันอยู่ เรื่องราวของข้อมูลเท็จและคำลวงหลอก ถูกเผยแพร่ในรูปแบบ “ข่าวลือ” หรือเรื่องที่ “เขาเล่าว่า” ส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งปากต่อปาก ประชาคม หรือแม้กระทั่ง กระดานข่าว และ อีเมล


แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทำให้คนเชื่อมต่อพูดคุยกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แบ่งกลุ่มลับได้ไม่จำกัด และการสร้างเนื้อหาทั้งข่าว ภาพ คลิป เผยแพร่สู่วงกว้าง เป็นไปได้โดยง่ายและราคาถูก ปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก จึงกลายเป็น ปัญหาใหญ่

ที่น่าจับตาคือ ปี 2565-2566 นี้ นับเป็นปีที่ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (Artificial Intelligence หรือ A.I.) เติบโตออกจากห้องแล็บเข้าสู่ชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเอไอในสาย “นักสร้าง” ที่สามารถ “เข้าใจ” “สาธยาย” “สนทนา” “วาดภาพ” “สร้างภาพ” “สร้างคลิป” ปั้นอากาศให้เป็นเรื่องราวที่ดูสมจริงได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ

อย่าง ChatGPT หรือ MidJourney หรือ D-ID ที่เป็น “หุ่นยนต์” ยอดฮิตที่หลายคนก็กำลังว่าจ้างมันมาช่วยทำมาหากิน (และมันทำได้ดี และ ได้เร็วเสียด้วย)


ดังนั้น จึงไม่เกินจินตนาการนักที่จะมีใครสักคนจ้างวานให้หุ่นยนต์ไร้ชีวิตเหล่านี้ ผลิตข่าวลวง ข้อมูลเท็จ เรื่องราวปลอม ภาพแต่ง คลิปเสียง วิดีโอเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือบิดเบือนเรื่องที่เคยเกิดขึ้นให้ต่างไปจากความจริง ได้อย่างแนบเนียน ในปริมาณล้นหลาม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สมรภูมิการเลือกตั้ง ที่การแพ้ชนะทางการเมืองมีความสำคัญต่อการชี้ชะตาและกุมอนาคต


เมื่อการสร้างและเผยแพร่เนื้อหา กระทำได้โดยเสรีและคล่องแคล่ว เราจึงต้องหันมาเตรียมตัวเราให้พร้อมรับมือกับคลื่นแห่งการหลอกลวงที่อาจกำลังถาโถมเข้ามา

ต่อไปนี้คือ 3 เคล็ดลับ ที่จะช่วยให้คุณพ้นภัยข้อมูลเท็จ

1 อย่าเชื่อง่าย
2 สงสัยไว้ก่อน
3 ตรวจสอบก่อนส่งต่อ – 3 เคล็ดลับ พ้นภัยข้อมูลเท็จ | #ชัวร์ก่อนแชร์

“อย่าเชื่อง่าย”

เพราะยุคนี้ ใคร ๆ ก็สามารถสร้างสื่อต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังมีเอไอเป็นกองหนุน แน่นอนย่อมจะมีของปลอมเกิดขึ้นได้ง่าย ดังนั้น อย่าเชื่อง่าย กับสารพัดข้อมูลต่าง ๆ ในทุกรูปแบบ ทั้ง ตัวอักษร ภาพ คลิปวิดีโอ อินโฟกราฟิก บนทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ แอป มือถือ โซเชียล เพราะใคร ๆ ก็เขียนได้ ใคร ๆ ก็ปลอมได้ ในต้นทุนต่ำมาก

“สงสัยไว้ก่อน”

แม้จะมีทักษะในการใช้เครื่องมือค้นคว้าหรือเชี่ยวชาญมากขนาดไหน แต่หลายครั้ง “ความไม่สงสัย” ก็ปลดอาวุธ ลดการ์ดที่ตั้งอยู่ จนไม่ได้หยิบเรื่องราวน่าสงสัย ไปผ่านกระบวนการตรวจสอบ

ความสงสัยนั้นคุ้มค่า เพราะ หากพลาดพลั้งไป อาจเกิดผลร้ายแรง

หลงเชื่อสรรพคุณหลอก ส่งผลต่อสุขภาพ เสียเงินฟรี

หลงเชื่อเว็บหลอก เสียข้อมูลส่วนตัว ถูกขโมยตัวตน ฉกเงิน

หลงเชื่อคนร้าย ถูกหักหลังขู่รีดไถ ขโมยเงิน เชิดเงิน

“ตรวจสอบ ก่อนส่งต่อ”

อย่าให้ความประสงค์ดีของคุณ กลายเป็นผลร้ายต่อคนที่คุณห่วงใย

ลองค้นหาว่ามีข้อมูลจาก หน่วยงาน หรือ สื่อ ที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับเรื่องนั้นหรือไม่ ? แต่ถ้าค้นหาแล้วเจอข้อมูลนั้นเยอะแยะ ไม่ได้แปลว่า เรื่องนั้นถูกต้องเสมอไป อย่าลืมว่าในยุคนี้ คนร้ายสามารถสร้างและแพร่ข้อมูลได้มากมายไม่จำกัด


ลับคมทักษะกับ 5 คำถาม 

วิธีที่ง่ายมาก ๆ ในการตรวจจับข้อมูลลวง แบบยังไม่ต้องลงแอปอะไรเลย คือ “การตั้งคำถาม”

ดังนั้น เมื่อได้รับเรื่องใด ๆ มาก็ตาม และเรื่องนั้นสำคัญกับเรามาก จนต้องเชื่อหรือแชร์ต่อ ให้ลองตั้งคำถามอย่างน้อย 5 ข้อนี้

“จริงมั้ย เก่ามั้ย เกี่ยวมั้ย ครบมั้ย อคติมั้ย” – 5 ปุจฉา ถามหาข่าวปลอม | #ชัวร์ก่อนแชร์

“จริงมั้ย ?”

คำนี้เป็นคำถามแรกที่จะหยุดการหลงเชื่อ ทำให้เราไม่ต้องตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะหลายเรื่องชักชวนหรือกระตุ้นอารมณ์ แบบที่เรียกว่า “ดีหรือร้ายมากเกินกว่าจะเป็นเรื่องจริง”

“เก่ามั้ย ?”

หนึ่งในเอกลักษณ์ของอินเทอร์เน็ต คือ ไม่มีปุ่มลบทิ้งอย่างถาวร ดังนั้น ข้อมูลใด ๆ ที่เข้าสู่อินเทอร์เน็ตแล้ว ก็จะวนว่ายเวียนวนอยู่ในนั้น รอวันคนผ่านมาพบ นำกลับไปใช้ใหม่ สร้างความตกใจ และ ถูกหลอก

“เกี่ยวมั้ย ?”

บางเรื่อง ถูกตัดหรือแยกออกจากบริบท แล้วเอาไปตัดต่อรวมกับอีกบริบทหนึ่ง ซึ่งทำได้ง่ายดายในยุคนี้ และแน่นอนว่า เนียนจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เช่น การโยงมั่ว

“ครบมั้ย ?”

หลายคนอยากสื่อสารโน้มน้าวให้คนเชื่อ แต่การบอกความจริงทั้งหมด มันโน้มน้าวยาก ก็เลยเลือกจะบอกแค่บางส่วน บอกครึ่ง ๆ กลาง ๆ บอกไม่ครบ บอกแค่ที่ตัวเองอยากบอก ที่ต้องระวังให้มากคือ ประเภทเนื้อหาที่ ทุกข้อความที่พูด เป็นเรื่องจริง แต่ไม่ใช่ทุกสิ่งที่พูดจะมีความครบถ้วน

และ “อคติมั้ย ?”

อคติเป็นอีกรากฐานสำคัญ ที่ทำให้หลายท่านจงใจส่งต่อข้อมูลเท็จทั้งที่รู้ว่าอาจเป็นเท็จ ซึ่งยิ่งทำให้การแยกแยะยากขึ้นไปอีก

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ คือ กระบวนการพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะช่วยให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ตกเป็นเครื่องมือ ของข้อมูลเท็จและภัยไซเบอร์ ที่รายล้อมและเพิ่มปริมาณยิ่งขึ้นในเวลานี้


  • สำหรับท่านที่ต้องการฝึกฝนทักษะการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อรับมือกับข้อมูลเท็จและภัยไซเบอร์ สามารถเรียนรู้กับหลักสูตรออนไลน์ FCDA101 ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ https://www.SUREcology.com
  • และ เร็ว ๆ นี้ เตรียมพบกับผลิตภัณฑ์ด้านการเรียนรู้เท่าทันใหม่จาก ชัวร์ก่อนแชร์ ติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ ชัวร์ก่อนแชร์ และ นักสืบสายชัวร์ x ชัวร์ก่อนแชร์สโมสร

– ทีมข่าวรู้เท่าทัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ –
ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ผลสอบ “ครูเบญ” เบื้องต้นไม่ผ่านเกณฑ์ ส่ง พฐ.ร่วมตรวจพิสูจน์

สพฐ. เผยผลสอบ “ครูเบญ” เบื้องต้นคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 ทั้งภาค ก. ภาค ข. และไม่ติด 1 ใน 10 ส่งข้อสอบให้ พฐ. ตรวจพิสูจน์เพื่อความโปร่งใส

นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานระดมช่วยผู้ประสบภัย

“นายกฯ แพทองธาร” ขอบคุณทุกหน่วยงานระดมช่วยผู้ประสบอุทกภัย หวัง ศปช.รับมือ-ช่วยเหลือรวดเร็วทันท่วงที รวมถึงการเยียวยาหลังจากนี้

ฟื้นฟูชายแดนแม่สาย-เร่งกู้ตลาดสายลมจอย

เจ้าหน้าที่เร่งฟื้นฟูชุมชนชายแดนแม่สายที่ถูกน้ำท่วมและจมโคลนมานาน 10 วัน รวมทั้งเร่งกู้ตลาดสายลมจอยแหล่งจำหน่ายสินค้าชายแดนที่เสียหายอย่างหนัก

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553