fbpx
5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ถึงเวลาปัดฝุ่นฝีมือและวิจารณญาณกันอีกครั้ง เพื่อป้องกันภัยจากการหลอกลวงที่กำลังยกระดับไปอีกขั้น ในยุคที่ “คนร้าย” ร่วมมือกับ “เอไอ” เนื่องในวันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล 2 เมษายน 2566 “ชัวร์ก่อนแชร์” มีเทคนิคสั้นกระชับฉบับเข้าใจง่าย ทุกคนปฏิบัติได้มาฝากไว้ให้เป็นเคล็ดวิชาและวิธีคิดในการรับมือกับ ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ ที่มีอยู่ดาษดื่น เมื่อ “ข่าวปลอม” หล่อหลอมกับ “เอไอ” กลายเป็น “ภัยไซเบอร์” ที่ลึกล้ำ ย้อนไปในช่วงเริ่มต้น ไม่กี่ปีก่อนที่โลกนี้จะรู้จัก “ข่าวปลอม” แบบที่เรารู้จักกันอยู่ เรื่องราวของข้อมูลเท็จและคำลวงหลอก ถูกเผยแพร่ในรูปแบบ “ข่าวลือ” หรือเรื่องที่ “เขาเล่าว่า” ส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งปากต่อปาก ประชาคม หรือแม้กระทั่ง กระดานข่าว และ อีเมล แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทำให้คนเชื่อมต่อพูดคุยกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แบ่งกลุ่มลับได้ไม่จำกัด และการสร้างเนื้อหาทั้งข่าว ภาพ คลิป เผยแพร่สู่วงกว้าง เป็นไปได้โดยง่ายและราคาถูก ปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก จึงกลายเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถยนต์ไฟฟ้า สามารถลุยน้ำได้ดีกว่ารถทั่วไป จริงหรือ ?

บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม

เหตุผลที่รถยนต์ไฟฟ้า สามารถลุยน้ำได้ดีกว่ารถทั่วไปนั้น เป็นเพราะอุปกรณ์ภายในรถยนต์ไฟฟ้า ถูกออกแบบตามค่ามาตรฐานที่เรียกว่า IP Rating (Ingress Protection)  จะเป็นระดับในการกันน้ำหรือทนต่อความชื้น ซึ่งค่ามาตรฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปอยู่ที่ IP67 รับรองได้ว่าสามารถลุยน้ำได้ลึกถึง 1 เมตร แต่แช่น้ำได้ไม่เกิน 30 นาที โดยที่อุปกรณ์ภายในยังไม่เสียหาย

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิป ต่างประเทศนำผู้ป่วยโควิด-19 บรรจุในถุงพลาสติก จริงหรือ ?

22 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่ต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ หรือ อินโดนีเซีย ว่าเป็นการนำผู้ป่วยใกล้เสียชีวิตจากโควิด-19 บรรจุในถุงพลาสติกใส ๆ นั้น บทสรุป : ไม่จริง เป็นคลิปที่ถูกโยงมั่ว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า คลิปดังกล่าวมาจากเหตุการณ์ส่วนหนึ่งของการประท้วงรัฐบาลโคลอมเบีย โดยโพสต์อินสตาแกรมหนึ่งระบุว่า เป็นที่เมืองเมเดยิน จังหวัดอันติโอเกีย ในประเทศโคลอมเบีย เมื่อราวปลายเดือนพฤษภาคม 2564 และคลิป YouTube หนึ่ง ระบุว่า กิจกรรมการแสดงดังกล่าว ชื่อว่า “Packaged” จัดขึ้นที่ Poblado Park เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ดังนั้น ภาพที่ปรากฏในคลิปดังกล่าว เป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ ของผู้ประท้วง ไม่ใช่เหตุการณ์ที่มีการนำศพผู้เสียชีวิตบรรจุลงในถุงแต่อย่างใด รวมทั้งไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย หรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์:เดินวิ่ง ปั่นจักรยานที่สาธารณะ แพร่เชื้อโควิดไกล 10 เมตรจริงหรือ?

21 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอโดยระบุว่า การออกกำลังกายนอกบ้านสามารถแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ไกลถึง 10 เท่า และการเดิน วิ่ง ปั่นจักรยานในสวนสาธารณะ สามารถแพร่เชื้อโควิด-19 ได้ไกลถึง 10 เมตร พร้อมแนะนำว่าควรออกกำลังกายให้อยู่เหนือลมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และดีที่สุดในขณะนี้ ควรออกกำลังกายภายในบ้าน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้วพบว่า จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ บทสรุป : จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ คลิปวิดีโอหรือข้อความที่ระบุว่า การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน ในสวนสาธารณะและที่โล่งแจ้ง สามารถแพร่เชื้อโควิด-19 ได้ไกล 10 เมตร ไม่ใช่เรื่องจริง ข้อมูลที่แชร์เป็นการทดสอบในระบบจำลอง โดยปริมาณละอองฝอยที่ไปไกลได้ถึงขนาดนั้น ไม่ได้มีจำนวนมากพอ ที่จะทำให้สามารถติดเชื้อได้ ออกกำลังกายเหนือลมเป็นเรื่องที่ดี แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ตลอด ฉะนั้นควรเว้นระยะห่างการออกกำลังกายในพื้นที่สาธารณะ โดยห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร การออกกำลังกายภายในบ้านเป็นเรื่องที่ดี แต่หากจะออกกำลังกายในสวนสาธารณะต้องปฏิบัติตนตามวิถีใหม่อย่างเคร่งครัด ข้อมูลที่ถูกแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นอนคว่ำ-นอนตะแคง เพิ่มออกซิเจนในปอด ให้ผู้ป่วยโควิด-19 จริงหรือ?

14 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ บนสังคมออนไลน์ มีการแชร์คำแนะนำให้ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังไม่ได้เตียงในการรักษา ให้นอนคว่ำ นอนตะแคง นอนหงาย สลับกันไปทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดเกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น และช่วยในการขับเสมหะ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้วพบว่า แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ในกรณีที่พบการอักเสบของปอดทั้ง 2 ข้าง การนอนคว่ำจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในปอดให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น บทสรุป แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง          ในกรณีที่พบการอักเสบของปอดทั้ง 2 ข้าง การนอนคว่ำจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในปอดให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น สำหรับคนที่ร่างกายปกติ สุขภาพแข็งแรง การนอนคว่ำ ไม่ได้ช่วยเพิ่มประโยชน์แต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์  “สำหรับคนที่ยังไม่ได้เตียง เริ่มเหนื่อยๆ ไม่รู้ระดับอ็อกซิเจนปลายนิ้ว ให้นอนคว่ำ ตะแคง หงาย หัวสูงวนไปนะคะ สลับทุก 2 ชม. หาหมอนมารองตามข้อต่อ เอาให้นอนแล้วสบายตัว ปกติถ้าอ็อกต่ำกว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใช้เจลแอลกอฮอล์ในรถจะทำให้คอยล์แอร์ตัน จริงหรือ ?

9 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ บนสังคมออนไลน์ แชร์คลิปพร้อมข้อความเตือนผู้ใช้รถยนต์ว่า การใช้แอลกอฮอล์เจลในรถจะทำให้คอยล์แอร์ตัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พบว่า เจลแอลกอฮอล์ไม่ใช่สาเหตุหลักในการเกิดคราบดังกล่าว บทสรุป :  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ·       เจลแอลกอฮอล์ ไม่ใช่สาเหตุหลักในการทำให้คอยล์แอร์ตัน แต่ความสกปรกจากฝุ่นก็สามารถทำให้เกิดคราบเหมือนในคลิปวิดีโอได้ ·       เมือกดังกล่าว เคยพบในกรณีที่เจลน้ำหอมรวมตัวกับฝุ่น ถ้าไม่ได้ทำความสะอาดตัวคอยล์เย็น ก็จะทำให้เกิดเมือกในลักษณะนี้ ·       ควรล้างแอร์ หรือเปลี่ยน “พรี ฟิลเตอร์” ปีละครั้งเพื่อยืดอายุการใช้งานแอร์ในรถยนต์ ข้อมูลที่ถูกแชร์ “ใครมีรถใช้เองในช่วงโควิดดูหน่อยนะ เจลแอลกอฮอล์และสเปรย์ที่ฉีดในรถ แอร์ดูดเข้าไปหมด ผ่านแผงคอยล์เย็นมันก็จะตันอย่างรวดเร็ว ครับ จริงหรือไม่ครับ”   ข้อความดังกล่าวถูกแชร์มาพร้อมกับคลิปวิดีโอที่พบลักษณะเมือกเหนียวใสบนแผงคอยล์รถยนต์ ซึ่งข้อความพร้อมคลิปวิดีโอดังกล่าวถูกส่งเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริงกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” เป็นจำนวนมาก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม่ควรสวมหน้ากากผ้าในขณะนี้ เพื่อป้องกันโควิด-19 จริงหรือ ?

2 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการสอบถามข้อมูลเข้ามายังศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า การสวมใส่หน้ากากผ้า ไม่ปลอดภัยในช่วงเวลานี้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวกับ นางนภพรรณ นันทพงษ์ ผอ.กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ การชี้แจงข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก “Tor Phiboonbanakit” ของ พ.อ.(พิเศษ) นพ.ธนะพันธ์ พิบูลย์บรรณกิจ ที่ปรึกษาแผนกโรคติดเชื้อ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองให้คำแนะนำตรงกันว่า หน้ากากอนามัยเหมาะสมกับการใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง และหากจะสวมหน้ากาก 2 ชั้น ควรสวมหน้ากากอนามัยไว้ด้านในแนบหน้า ส่วนหน้ากากผ้าสวมใส่ข้างนอก บทสรุป : แชร์ได้ แต่ควรอธิบายเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ควรใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ เพื่อยกระดับการป้องกันเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป  หน้ากากผ้ายังสามารถใช้ได้ในพื้นที่ที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสูง มีหรือมีความแออัด และยอดผู้ป่วยไม่ได้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น การใช้หน้ากากอย่างเดียวไม่ได้เป็นการการันตีว่าจะไม่ได้รับเชื้อโควิด-19 เพราะการติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ ด้วย Fact check : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แนะกินยา Ivermectin ช่วยป้องกัน-รักษาโควิด-19 ได้ จริงหรือ?

30 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูล จาก American Journal of Therapeutic ยา Ivermectin ช่วยลดการตายและหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลแล้ว พบว่า ข้อมูลมีความจริงบางส่วน แต่ยังไม่ควรแชร์ บทสรุป :  จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์   ·        งานวิจัยดังกล่าวทางการแพทย์เรียกว่า “การทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน” หมายความว่าเป็นการนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ได้สืบค้นได้ นำมาทบทวนรวมกัน ซึ่งบางงานวิจัยก็มีคุณภาพดี บางงานวิจัยมีคุณภาพปานกลาง และบางงานวิจัยก็มีคุณภาพต่ำ ·        ไม่แนะนำให้ซื้อยาตัวนี้มาใช้ในการรักษาเอง ส่วนจะมีการใช้ยาตัวนี้ในอนาคตเพื่อรักษาโควิด-19 หรือไม่นั้น ขอให้ติดตามข้อมูลที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุขต่อไป ·        ในประเทศไทย ไอเวอร์เมคติน เป็นยาที่ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สำหรับการฆ่าพยาธิ หากจะนำยาที่ขึ้นทะเบียนด้วยเหตุผลอย่างหนึ่ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หลังฉีดแอสตร้าฯ ต้องเฝ้าระวังลิ่มเลือดอุดตัน 5-28 วัน จริงหรือ?

25 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูล หากหายไข้หลังจากฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว ให้ประชาชนเฝ้าระวังอาการลิ่มเลือดอุดตัน หลังจากฉีดวัคซีนฯ ไปอีก 5-28 วัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวพบว่า เป็นเรื่องจริง บทสรุป แชร์ได้ แต่ต้องอธิบายเพิ่ม เพื่อให้เข้าใจข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน ประเทศไทยมีการเฝ้าระวังอาการของผู้รับวัคซีนอย่างน้อย 28 วัน หรือ ประมาณ 4 สัปดาห์ อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อยมาก ๆ และเกิดได้น้อยในคนเอเชีย แม้หากมีอาการไม่พึงประสงค์ หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็สามารถรักษาอาการให้หายได้ วัคซีนซิโนแวคพบโอกาสการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้น้อยกว่าแอสตร้าเซนเนก้า  การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นสิ่งที่ดี สามารถลดอาการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้  ข้อมูลที่ถูกแชร์ “ 💉 ใครฉีดวัคซีน AstraZeneca หายไข้แล้ว อย่าเพิ่งวางใจกันนะคะ คอยสังเกตอาการ หลังฉีด 5 -28 […]

ชัวร์ก่อนแชร์:ช่วง1เดือนครึ่ง หลังฉีดวัคซีนโควิด ภูมิคุ้มกันลดต่ำลงมาก จริงหรือ?

21 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในช่วง 1 เดือนครึ่ง ระบบภูมิคุ้มกันจะลดต่ำลงมาก หากออกนอกบ้านในช่วงหนึ่งเดือนครึ่งนี้จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ แต่เมื่อพ้นรอบ 1 เดือนครึ่งแล้ว ภูมิคุ้มกันร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น 100 ถึง 200 เท่า เรื่องนี้จะเป็นอย่างไร มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ “ชัวร์ก่อนแชร์” บทสรุป ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ภายหลังการฉีดวัคซีน 1 เดือนครึ่งไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำลง และยิ่งฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกันก็จะยิ่งดีขึ้น โดยภูมิคุ้มกันสามารถสูงขึ้นเป็น 10 เท่า 100 เท่า หรือ 1,000 เท่าได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล  แม้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงยังต้องป้องกันตนเองอยู่ ข้อมูลที่ถูกแชร์ “ถึง ทุกท่านที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว!  👋🏽 เรื่องที่ควรทราบและระวังว่าเหตุใดคนที่ฉีดวัคซีนครบ 2 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ภาพศพกองรวมกับปลา เป็นศพชาวอินเดียที่ติดเชื้อโควิด-19 จริงหรือ ?

15 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์ภาพศพกองรวมกับปลา พร้อมระบุว่า เป็นศพชาวอินเดียที่ติดเชื้อโควิด-19 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : เป็นการโยงมั่ว ไม่ควรแชร์ต่อ• ภาพดังกล่าวเป็นศพที่ถูกพบในชายฝั่งทะเลประเทศมาเลเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ซึ่งขณะนั้นยังไม่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 • ข้อความที่แชร์ว่า “ให้หยุดบริโภคอาหารทะเล” สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า “การทิ้งศพลงแม่น้ำคงคา” ไม่มีผลกระทบต่อ “อาหารทะเล” ในประเทศไทย ข้อมูลที่ถูกแชร์บนสังคมออนไลน์ มีการเผยแพร่ ชุดรูปภาพจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพศพเพศชายในสภาพเปลือยกาย ถูกกองรวมอยู่กับปลาทะเลจำนวนมากบนเรือลำหนึ่ง โดยชุดรูปภาพดังกล่าวถูกแชร์มาพร้อมกับข้อความหลากหลายรูปแบบ ดังนี้ “คนอินเดียตาย โควิด โยนน้ำ ตอนนี้เข้ามาถึง มาเลแล้ว (อย่า) ห้ามกินอาหารทะเลทุกชนิด (อันตราย) (อันตราย)” “เรายังกินปลาทะเลกันไหม ตอนนี้ ห้ามประชาชน กินอาหารทะเล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนฉีดยาชา-ทำฟัน หลังรับวัคซีนโควิด-19 ทำให้ตายได้ จริงหรือ ?

14 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์ข้อมูลว่า ใครก็ตามที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ห้ามรับการฉีดยาชา ไม่ว่าจะไปถอนฟันหรือทำอะไรก็ตาม เพราะจะทำให้เสียชีวิตได้ ต้องรอให้ผ่าน 1 เดือนไปก่อน แล้วถึงจะฉีดยาชาได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่เป็นความจริง บทสรุป :  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ·        ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว สามารถฉีดยาชาและทำฟันได้ ไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตตามที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย   ·        ไม่มีข้อกำหนดใดระบุว่า ต้องรอ 4 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ถึงจะฉีดยาชาได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์ มีการส่งต่อข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์จำนวนมาก โดยระบุว่า “นี่อะเพิ่งไปอ่านเจอข้อมูลของจีนมา. เขาบอกคนที่ฉีดวัคซันแล้ว ไม่เกิน 1 เดือน ห้ามฉีดยาชาเด็ดขาด. ไม่ว่าจะไปถอนฟัน. หรือทําอะไร.  […]

1 2 3 6
...