ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ ผสมกับ น้ำยาฟอกผ้าขาว จริงหรือ ?

18 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์แชร์ “ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำผสมกับน้ำยาฟอกผ้าขาว เพราะจะทำให้เกิดก๊าซพิษ เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันว่า “เป็นความจริง” บทสรุป : จริง แชร์ต่อได้ • ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำผสมกับน้ำยาฟอกผ้าขาว ทำให้เกิดก๊าซพิษจริง• ต้องอ่านฉลากก่อนใช้งาน และออกห่างเมื่อสารเคมีรั่วไหล ข้อมูลที่ถูกแชร์ผู้ใช้งาน Facebook รายหนึ่งได้โพสต์ข้อความ เล่าประสบการณ์เฉียดตาย มีใจความสำคัญว่า ก่อนขัดห้องน้ำได้ทำการราดน้ำยาล้างห้องน้ำทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 นาที จากนั้นได้นำน้ำที่เหลือจากการซักผ้า ซึ่งมีน้ำยาฟอกผ้าขาวละลายอยู่มาราดทับ ส่งผลให้เกิดกลิ่นเหม็นสารเคมีอย่างรุนแรง เมื่อสูดดมเข้าไป มีอาการแสบคอ แสบจมูก หายใจติดขัด รู้สึกเหนื่อยแบบผิดปกติ แพทย์ทำการเอกซเรย์ปอดพบว่า มีของเหลวอยู่ในปอด ทั้งนี้ ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่า ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำผสมกับน้ำยาฟอกผ้าขาว เพราะจะทำให้เกิดก๊าซพิษ สามารถทำลายระบบทางเดินหายใจ ปอด และอาจทำให้เสียชีวิตได้ โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แนะกิน Fish Oil,ยาพารา,กล้วย, ฯลฯก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19จริงหรือ?

17 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดียถึงวิธีการเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับวัคซีนโควิด-19 เช่น ก่อนฉีดวัคซีนให้กินยาพาราเซตามอล, Fish Oil เพื่อป้องกันเลือดแข็งตัว แนะนำให้ทานกล้วย รวมถึงอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงๆ ตลอดจนงดเครื่องดื่มชา กาแฟนั้น เรื่องนี้จะเป็นอย่างไรมาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ “ชัวร์ก่อนแชร์” ข้อมูลที่ถูกแชร์ “ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19  แนะนำตามนี้ (ทุกท่านทั้งอายุ 18-59 และ อายุ 60 ขึ้นไป) ช่วง 2 สัปดาห์ ก่อนฉีด : 1. ทาน Fish Oil (โดย Fish Oil ที่ EPA มากๆ)  ช่วยป้องกันเลือดแข็งตัว 2. ทานแมกนีเซียม คีเลต , อาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น กล้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โพวิโดนไอโอดีน ป้องกันโควิด-19 จริงหรือ ?

15 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์แชร์ “กลั้วคอด้วยโพวิโดนไอโอดีน ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่จริง และ ไม่ควรแชร์ต่อ• ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ใช้สารโพวิโดนไอโอดีนกลั้วคอหรือพ่นคอ จะช่วยป้องกันโควิด-19 ได้• การใช้สารดังกล่าว ควรเป็นไปตามข้อบ่งใช้ เช่น ใช้เมื่อมีอาการ และไม่ควรใช้บ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองในช่องปากได้ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริงศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) ยืนยันว่า ในการป้องกันโรคโควิด-19 นั้น ไม่ควรใช้สารโพวิโดนไอโอดีน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สปสช. แจกประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

13 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ โซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูล บอร์ด สปสช. ไฟเขียว! เกณฑ์จ่ายเงินคุ้มครองคนไทย ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมแนบข้อความเชิญชวนลงทะเบียนประกันแพ้วัคซีนฟรีกับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ “ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช.” แล้วพบว่า เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน บทสรุป :  แชร์ได้ หากอธิบายเพิ่ม ·        เป็นการนำข้อมูลจริง 2 ชิ้นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน มาผสมรวมกัน จนทำให้เกิดความเข้าใจผิด ·        ข้อมูลชิ้นที่ 1 – บอร์ด สปสช. มีมติช่วยเหลือเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จริง ·        ข้อมูลชิ้นที่ 2 – […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : FACTSHEET ประมวลคำแนะนำขององค์กรแพทย์เรื่องวัคซีนโควิด-19

12 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์                ตามที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อโซเซียลมีเดียถึงผลข้างเคียงภายหลังการรับวัคซีนโควิด 19 จำนวนมาก อาทิ ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ มีเลือดออกในสมอง เกิดอาการชาทั้งตัว รวมถึงทำให้เนื้อในสมองบางลง นั้น ทำให้สังคมเกิดความวิตกกังวลต่อการรับวัคซีนโควิด-19 เป็นอย่างมาก สร้างความไม่ความมั่นใจ และความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับประชาชน ขณะที่ภาครัฐบาล รวมถึงองค์กรแพทย์ พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ต่างยืนยันว่า ประชาชนควรได้รับการวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดการเจ็บป่วยที่รุนแรง และลดการเสียชีวิต                “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” ได้รวบรวมแถลงการณ์จากองค์กรแพทย์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบก่อนตัดสินใจรับการฉีดวัคซีนโควิด-19       10 เม.ย. 64 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ ชี้แจงว่าตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงเรื่องการฉีดวัคนป้องกันโรคโควิด-19 โดยอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลของอาจารย์ท่านนั้นเพียงผู้เดียว สรุป คณะแพทย์จุฬา และสภากาชาดไทย สนับสนุนให้คนไทยทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แฉไทม์ไลน์ข่าวปลอม “สาวเล่าประสบการณ์แพ้วัคซีน”

12 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที สืบหาต้นตอ เผยข้อเท็จจริง กรณีข่าวปลอม “สาวแพ้วัคซีน” ที่แพร่สะพัด สร้างความตื่นตระหนกบนหน้าสื่อ ไล่เรียงไทม์ไลน์ แท้จริงแล้วมีที่มาที่ไปอย่างไร ? บทสรุป : ข้อมูลโยงมั่ว ไม่ควรแชร์ต่อ• ภาพและบทความ ไม่เกี่ยวข้องกัน• ภาพ ถูกนำมาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต มาจากจังหวัดลพบุรี ไม่ใช่จังหวัดอุดรธานี • บทความ เป็นเรื่องราวที่เล่าโดยหญิงคนหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งแพทย์ยืนยันว่ามีความจริงเพียงบางส่วน และหายดีแล้ว ข้อมูลที่ถูกแชร์รูปภาพแขนและขาที่มีผื่นสีแดงจำนวนมาก ถูกแชร์มาพร้อมกับ บทความเล่าประสบการณ์ฉีดวัคซีนซิโนแวค ของหญิงสาวชาวอุดรธานี ขึ้นต้นข้อความว่า… “ชิโนแวค มีปัญหาจริง ๆ เรื่องวัคซีนซิโนแวค ค่ะ ขออนุญาติ ใช้พื้นที่นี้แชร์ข้อมูล เพื่อเป็นข้อตัดสินใจ ในการฉีดซิโนแวค นะคะ ต้องบอกก่อนนะคะว่า side effect ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน เกิดแค่กับบางคน หนูขออนุญาติแชร์เรื่องของหนู […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : พบสุนัขติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตัวแรกในไทย ถ่ายทอดจากคนสู่สัตว์

6 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์, ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น ทำไมสุนัขถึงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากคนได้ แล้วการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จาก “สัตว์สู่คน” สามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่ เรามีวิธีการรับมืออย่างไรเมื่อสัตว์เลี้ยงป่วยเป็นโควิด-19 ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ “ชัวร์ก่อนแชร์”   บทสรุป : จริง แชร์ต่อได้ และควรอธิบายเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกจากความเข้าใจผิด·       ผู้เชี่ยวชาญยืนยันสุนัขติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากผู้เลี้ยงจริง·       เป็นสุนัขตัวแรกในไทยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 จากการตรวจสารพันธุกรรม·       โควิด-19 สามารถแพร่เชื้อจาก “คนไปสู่สัตว์” ได้ แต่ไม่ควรตื่นตระหนกเพราะโอกาสการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากคนไปสู่สัตว์เลี้ยงนั้น มีไม่มาก·       สำหรับการแพร่เชื้อโควิด-19 จาก “สัตว์ไปสู่คน” ขณะนี้ยังพบหลักฐานยืนยันเฉพาะในกรณีตัวมิงค์เท่านั้น  สืบหาต้นตอ สืบเนื่องมาจากประชาชนได้ส่งข้อมูลเข้ามาสอบถามกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” ว่า บนโซเซียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูลพบสุนัขติดเชื้อโควิด-19 และสอบถามว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ จากนั้น “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” ได้สืบหาต้นตอและพบว่าเป็นการแชร์ข้อมูลจากผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของสุนัขที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมคลิปวิดีโอขณะสุนัขนอนรักษาตัวอยู่ในกรง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สารก่อมะเร็งในข้าวสาร จริงหรือ ?

6 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์แชร์ “ข้าวที่ไม่มีมอดเพราะใช้สารเคมีอบ เป็นสารก่อมะเร็งและทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ หากไม่พบมอดในข้าวสารควรซาวข้าวมากกว่า 2 ครั้ง” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญที่สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยันว่า “จริงเพียงบางส่วน” บทสรุป : จริงบางส่วน และ ไม่ควรแชร์ต่อ• มีการใช้สารเมทิลโบรไมด์และโบรไมด์ไอออนรมข้าวเพื่อกำจัดมอดจริง แต่สารดังกล่าวไม่ใช่สารก่อมะเร็ง และมีการควบคุมปริมาณไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สามารถกำจัดสารดังกล่าวได้ด้วยการซาวข้าวและหุงต้มผ่านความร้อน• มีโอกาสที่โบรไมด์ไอออนจะแย่งจับไอโอดีนในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำจริง เป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการใช้ไอโอดีน แต่สำหรับบุคคลทั่วไปไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นกังวล สืบหาต้นตอ ข้อมูลที่ถูกแชร์มีการแชร์ภาพอินโฟกราฟิกคำเตือนเรื่องสารก่อมะเร็งในข้าวสาร ซึ่ง มีใจความสำคัญว่า ข้าวสารที่ไม่มีมอดเพราะใช้สารเมทิลโบรไมด์ (methyl bromide) และโบรไมด์ไอออน (bromide ion) อบข้าว ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและอาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ หากไม่พบมอดในข้าวสารควรซาวข้าวมากกว่า 2 ครั้ง ชุดข้อความนี้ถูกแชร์บน Facebook มาตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใบมะขามสดคั้นผสมเหล้าขาว แก้โควิด-19 ได้ จริงหรือ?

4 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอพร้อมข้อความผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย ให้นำใบมะขามสดมาคั้นผสมกับเหล้าขาวจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ นั้น ไม่เป็นความจริง   บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่ายังไม่มีงานวิจัยใด พิสูจน์ได้ว่าการรับประทานใบมะขามกับเหล้าขาวสามารถป้องกันโควิด-19 ได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์“รอดแล้วพวกเรา แค่ใบมะขามกับเหล้าขาวก็สู้โควิด19ได้(ตรงกับตำราที่พ่อเคยบอกไว้เลยว่าไข้หวัดทุกชนิดหรือจะสู้ใบมะขาวกับเหล้าขาว)“ม.ขอนแก่น วิจัยแล้วได้ผล ใบมะขาม + เหล้าขาว ต้านโควิท 19 ลองทำดูนะครับ”นอกจากนี้ยังมีการแชร์คลิปวิดีโอความยาว 2.57 นาที จากสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง แนะนำว่าเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่ผลิตขึ้นจากใบมะขามและเหล้าขาวแล้ว ให้นอนคลุมโปงเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ให้เหงื่อออกเพื่อขับสารพิษออกจากร่างกาย ภาพคลิปวิดีโอที่ถูกแชร์ Fact check : ตรวจสอบข้อมูล “กรมการแพทย์แผนไทยฯ” ระบุยังไม่พบผลการศึกษายืนยันว่าตำใบมะขามผสมเหล้าขาวช่วยแก้โควิด-19 ได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ตรวจสอบข้อมูลกับ นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : รวมคลิป-ภาพ “ดับเพราะโควิด-19” จริงหรือ ?

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 3 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บนสังคมออนไลน์ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย มีการส่งต่อภาพและคลิปวิดีโอจำนวนมาก ซึ่งอ้างว่า เป็นภาพเหตุการณ์ผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง สืบหาต้นตอแล้ว โดยส่วนใหญ่ภาพและคลิปเหล่านั้น มักจะไม่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 แต่อย่างใด เทคนิคการพิจารณา ภาพหรือคลิปผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตที่มีการส่งต่อกัน เข้าใจว่า การที่เจ้าหน้าที่สวมชุดป้องกันดังภาพและคลิปต่าง ๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตเป็นโควิด-19 แต่เป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามมาตรการป้องกันขั้นสูงสุดเท่านั้น กระบวนการในการตรวจหาเชื้อจะเกิดขึ้นภายหลัง ตั้งสมมติฐานว่า อาจเป็นคลิปหรือภาพเก่า ตั้งสมมติฐานว่า อาจเป็นคลิปหรือภาพที่ไม่เกี่ยวข้อง สืบหาต้นตอของคลิป เช่น ค้นหาจากชื่อสถานที่ที่มีการกล่าวอ้างถึง ค้นหาจากเพจของกู้ภัย เพื่อทำให้เข้าใจบริบทของเหตุการณ์อย่างแท้จริง ค้นหาข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานทางการ เช่น หากระบุว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเขตหรืออำเภอใด อาจจะติดต่อหรือเข้าไปยังเว็บไซต์หรือเพจของสำนักงานเขต หรือ ที่ทำการท้องที่นั้น ซึ่งอาจมีการชี้แจงไว้ก่อนแล้ว พึงตระหนักว่า การแชร์ข้อมูลภาพผู้เสียชีวิต ไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับประชาชนทั่วไปเสมอไป ประชาชนบางท่านอาจไม่ต้องการเห็นภาพเหล่านี้ และหลายครั้งเป็นการละเมิดสิทธิของผู้เสียชีวิตหรือผู้ป่วยอีกด้วย “ใกล้เข้ามาแล้วสุรวงศ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด จริงหรือ ?

2 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์แชร์ “ใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันว่า “มีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง” บทสรุป• ใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ มีโอกาสติดเชื้อในปอด และหากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้• ไม่ควรใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ หากเป็นหน้ากากผ้าควรซักทำความสะอาด ตากแดดก่อนนำไปใช้ใหม่ สืบหาต้นตอ ข้อมูลที่ถูกแชร์บนสังคมออนไลน์ แชร์ข้อความระบุว่า ห้ามใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ เพราะมีโอกาสติดเชื้อในปอด และหากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ชุดข้อความนี้ถูกแชร์บน Facebook มาตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่ง ณ เดือนพฤษภาคม 2564 มียอดผู้ถูกใจมากกว่า 1 หมื่นคน กดแชร์ข้อมูลมากกว่า 2.9 หมื่นครั้ง และกดแสดงความคิดเห็นมากกว่า 2.8 พันครั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ท้องอิ่มดื่มน้ำอุ่น ก่อนฉีดวัคซีน ป้องกันอาการไม่สบาย จริงหรือ ?

1 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์คำแนะนำว่า “ท้องต้องอิ่ม ดื่มน้ำอุ่น ก่อนฉีดวัคซีน ช่วยป้องกันอาการไม่สบายได้” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่จริง และ ไม่ควรแชร์ต่อ• ไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่า ท้องอิ่มและดื่มน้ำอุ่นก่อนฉีดวัคซีน จะช่วยป้องกันอาการไม่สบายได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์เพื่อนนักเรียนเก่า เป็นคนเห๋อเป่ยคุยกับคนสิงคโปร์ เรื่องการฉีดวัคซืนโควิด สิ่งที่ต้องระวังก่อนฉีดวัคซีนโควิด1. ท้องต้องอิ่ม (ฉีดหลังอาหาร)2. ดื่มน้ำอุ่น หรือ น้ำอุณหภูมิห้อง 250 ซีซี (หนึ่งแก้วกาแฟ)ถ้าทำได้สองอย่างนี้ ตอนฉีดวัคซีนจะไม่มีอาการไม่สบาย ความรู้สึกแย่มากปกติคนเราก็ต้องกินอาหาร ดื่มน้ำอยู่แล้ว โปรดทำสองสิ่งนี้ก่อนฉีดวัคซีนโควิด อย่า ฉีดวัคซีนตอนหิว หรือท้องว่าง ให้ฉีดหลังอาหาร และอย่าดื่มน้ำเย็น ให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง หรืออุ่นๆ หนึ่งแก้วเต็ม 250 ซีซีหลังฉีดวัคซีนอาจจะรู้สึกไม่ค่อยสบาย 10-15 นาทีเท่านั้น […]

1 2 3 4 5 6
...