ชัวร์ก่อนแชร์ : เปิดไทม์ไลน์ข่าวปลอม “ไทยกำลังเข้าสู่การแพร่ระบาดโควิด-19 เฟส 3”

30 มีนาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่า “ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เฟส 3” พร้อมระบุรายชื่อสถานที่ที่ไม่ควรเดินทางไปนั้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวแล้วพบว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่เป็นความจริง เป็นประเด็นเก่าที่มีการแชร์ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ในปี 2563 ที่ผ่านมา และถูกนำกลับมาแชร์ซ้ำอีกครั้ง ไทม์ไลน์ ·      26 ก.พ. 63 เริ่มพบต้นตอการแชร์ข้อมูล “ด่วน สาธารณสุขประกาศฉุกเฉิน…”·      24 ก.พ. 63 สธ. แถลงข่าวพร้อมรับมือหากเกิดการระบาดในระยะ 3·      12 มี.ค. 63 สธ.แถลงพบผู้ป่วยโควิดเป็นกลุ่มก้อน 11 ราย·  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใช้หม้อทอดไร้น้ำมันประกอบอาหารทำให้เกิดสารก่อมะเร็งจริงหรือ?

22 มีนาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความ ไม่ควรกินอาหารจากหม้อทอดไร้น้ำมันเพราะมีความเสี่ยงในการสร้างสารก่อมะเร็งอะคริลาไมด์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบแล้วพบว่า จริง แชร์ได้แต่ต้องอธิบายเพิ่ม บทสรุป : จริง หากแชร์ต่อต้องอธิบายข้อมูลเพิ่ม เป็นเรื่องจริงแต่ต้องดูว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารคืออะไร สารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในอาหารมี 2 ประเภท 1. สารที่มาจากกลุ่มพืชแป้ง (Starchy food) และ 2.สารที่มาจากอาหารประเภทโปรตีน สืบหาต้นตอของข้อมูล เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เว็บไซต์ Consumer Council ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้หม้อทอดไร้น้ำมัน โดยระบุให้ระวังอาหารที่ทอดด้วยอุณหภูมิสูงเพื่อลดความเสี่ยงในการก่อมะเร็ง จากนั้นเว็บไซต์ scmp.com ได้เผยแพร่ข่าวดังกล่าวเกี่ยวกับการประกอบอาหารผ่านหม้อทอดไร้น้ำมันใจความว่า สมาคมผู้บริโภคชาวฮ่องกงได้แนะนำผู้บริโภคไม่ควรรับประทานอาหารจากหม้อทอดไร้น้ำมัน เพราะมีความเสี่ยงในการได้รับสารก่อมะเร็ง โดยได้ทำการทดลองนำมันฝรั่งทอดชิ้นบางมาอบในหม้อทอดไร้น้ำมันถึง 12 รุ่น และพบสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า อะคริลาไมด์ ซึ่งจะเกิดขึ้นกับอาหารบางชนิดเมื่อได้รับความร้อนจากอุณหภูมิที่สูงมาก จากนั้นได้มีการแชร์ข้อมูลผ่าน เฟซบุ๊ก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อินเดียพบตะปูในแคปซูลยา จริงหรือ ?

22 มีนาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปวิดีโอพร้อมข้อความระบุว่า ที่อินเดียพบตะปูอยู่ในแคปซูลยา ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบแล้วพบว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่จริง และ ไม่ควรแชร์ต่อ• ไม่ใช่ที่อินเดีย และยังไม่พบที่มาของคลิปวิดีโอที่แน่ชัด คลิปวิดีโอและข้อความที่ถูกแชร์คลิปวิดีโอความยาว 0.30 นาที ถูกแชร์มาพร้อมข้อความระบุว่า ที่อินเดียพบตะปูอยู่ในแคปซูลยา และเตือนภัยให้ประเทศอื่นระวัง ในคลิปวิดีโอมีการทดลองแกะแคปซูลยาออกจากแผงเพื่อดูสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในแคปซูล นาทีที่ 0.10 พบตะปูขนาดเล็ก 1 ตัว ในแคปซูลยาสีน้ำเงิน และนาทีที่ 0.24 พบตะปูขนาดเล็ก 6 ตัว ในแคปซูลยาสีเหลือง กลายเป็นคลิปที่ถูกแชร์ต่ออย่างแพร่หลายบนสังคมออนไลน์ และมีผู้ส่งเรื่องเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริงกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริงของคลิปวิดีโอที่ถูกแชร์ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ตรวจสอบพบว่า หน่วยงานด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศอินเดีย 2 แห่ง คือ Factly […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เทน้ำอัดลมค้นหาพยาธิในเนื้อหมู จริงหรือ?

17 มีนาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปการทดสอบเทน้ำอัดลมสีดำลงบนเนื้อหมู ทิ้งไว้สักครู่ จะมีพยาธิโผล่ขึ้นมา ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบแล้ว พบว่า ไม่เป็นความจริง บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อในเนื้อหมูไม่มีปรสิตหรือพยาธิที่มีลักษณะดังที่ปรากฎในคลิปวิดีโอ แต่พยาธิที่สามารถพบได้ในเนื้อหมู มีลักษณะเป็นเม็ดสาคู หรือเป็นระยะตัวอ่อนขนาดเล็กที่พบได้ในกล้ามเนื้อหมู และส่วนมากจะพบได้เพียง 2 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ พยาธิตืดหมู และพยาธิทริคิเนลลา ที่มาของคลิปวิดีโอที่ถูกแชร์ผู้ใช้ TikTok รายหนึ่ง ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอความยาว 3.00 นาที เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 ซึ่งเป็นคลิปวิดีที่ชาวต่างชาติได้ทดสอบเทน้ำอัดลมสีดำลงบนเนื้อหมู ทิ้งไว้สักครู่จะปรากฎก้อนกลมๆ เล็กๆ สีขาวโผล่ขึ้นมา และเมื่อเทน้ำอัดลมลงบนเนื้อหมูซ้ำอีกหลายๆ ครั้ง ก้อนกลมๆ เล็กๆ ดังกล่าว กลายเป็นเส้นสีขาวที่มีลักษณะยาวขึ้นและพุ่งออกมาจากเนื้อหมู โดยมีผู้กดถูกใจคลิปวิดีโอดังกล่าวจำนวน 36 คน และมีการแชร์ต่อกว่า 136 ครั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ค่าอาหาร ส.ส./ส.ว. ที่รัฐสภา คนละ 2,500 บาท จริงหรือ?

8 มีนาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์ข้อความผ่านโซเซียลมีเดียเกี่ยวกับ ค่าอาหารของส.ส. และ ส.ว. ที่รัฐสภา คนละ 2,500 บาทต่อคนต่อวัน ซึ่งมีจำนวนเงินสูงกว่าเบี้ยคนชราและค่าอาหารเด็กนักเรียน นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่า “เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและคาดเคลื่อน” บทสรุป : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ยืนยันว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและคาดเคลื่อน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ชี้แจงว่า ในการประชุมวุฒิสภาในสมัยประชุมสมัยสามัญครั้งล่าสุด ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 วุฒิสภาได้มีการประชุมจำนวนทั้งสิ้น 24 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายการเลี้ยงอาหารรับรองส.ว. เฉลี่ยต่อคนต่อวัน คิดเป็น 630 บาท สำนักเลขาธิการวุฒิสภา ยืนยันว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวดำเนินการตามระเบียบรัฐสภาว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา พ.ศ.2557 ข้อ 12 ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้สอย ลำดับที่ 5 ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมราชการใช้จ่ายไม่เกิน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปรถบรรทุกพุ่งชนรถจักรยานยนต์ที่สงขลา จริงหรือ ?

8 มีนาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปวิดีโอ รถบรรทุกพุ่งชนรถจักรยานยนต์มากกว่า 20 คัน ขณะจอดติดไฟแดง ระบุว่าเป็นเหตุการณ์ที่สี่แยกคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบแล้วพบว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่จริง และ ไม่ควรแชร์ต่อ• เป็นคลิปอุบัติเหตุที่เวียดนาม ไม่ใช่ที่จังหวัดสงขลา คลิปและข้อความที่ถูกแชร์คลิปวิดีโอความยาว 0.30 นาที ถูกแชร์มาพร้อมข้อความระบุว่า “เหตุเกิดที่สี่แยกคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา” โดยในคลิปวิดีโอมีภาพรถบรรทุกและรถจักรยานยนต์จำนวนหนึ่งหยุดรอสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยก ในนาทีที่ 0.05 รถบรรทุกขนาดใหญ่คันหนึ่ง ได้เร่งความเร็วแซงรถคันที่จอดอยู่ด้านหน้า และพุ่งชนรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่กว่า 20 คัน กลายเป็นคลิปที่ถูกแชร์ต่ออย่างแพร่หลายบนสังคมออนไลน์ และมีผู้ส่งเรื่องเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริงกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ภาพจากคลิปวิดีโอความยาว 0.30 นาที ถูกแชร์มาพร้อมข้อความระบุว่า “เหตุเกิดที่สี่แยกคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา” FACT CHECK : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผลิตภัณฑ์ช่วยคืนความอ่อนเยาว์ได้ 20 – 30 ปี จริงหรือ ?

19 กุมภาพันธ์ 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์ภาพพร้อมข้อความแนะนำ ผลิตภัณฑ์ช่วยต่อสู้กับริ้วรอยและความหย่อนคล้อย คืนความอ่อนเยาว์กลับไปได้ 20-30 ปี  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ยืนยันว่าข้อมูลดังกล่าว “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป “ไม่จริง และ ไม่ควรแชร์ต่อ” ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า ไม่มีครีมหรือสารชนิดใดที่จะชะลอวัยคนได้ 20 – 30 ปี และไม่มีครีมตัวไหนที่ทำให้เราขาวขึ้นอย่างปลอดภัยภายใน 3 – 7 วัน คำแนะนำจากแพทย์ : เคล็ดลับการมีผิวที่สุขภาพดี และสวยได้อย่างปลอดภัย คือการดื่มน้ำมาก ๆ หลบเลี่ยงแสงแดด ใช้ครีมบำรุงผิว และทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ สืบหาต้นตอ ข้อมูลที่ถูกแชร์บนสังคมออนไลน์ แชร์เว็บไซต์โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมความงามชนิดหนึ่ง ซึ่งมีภาพและข้อความ อ้างว่าเจ้าสาวอายุ 64 ปี แต่งงานกับชายหนุ่มอายุเพียง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ต้องระวังสารสีฟ้าบนขั้วมะนาว จริงหรือ ?

11 กุมภาพันธ์ 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์, จิราพัชร สุวรรณพันธ์, กลาง ณัฐนที ตามที่มีการแชร์เตือนบนโซเชียลว่า ให้ระวังสารสีฟ้าที่ติดอยู่ที่ขั้วมะนาว นั่นคือสารเคมีอันตราย ต้องล้างออกก่อนการประกอบอาหาร นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบแล้วพบว่า “เป็นจริง” บทสรุป : ชัวร์ แชร์ได้ ร่องรอยสารสีฟ้าที่ขั้วมะนาว มีโอกาสเป็นสารเคมีคอปเปอร์ไฮดร๊อกไซด์ (copper hydroxide) ซึ่งใช้ในการป้องกันโรคพืชในมะนาว สารคอปเปอร์ไฮดร๊อกไซด์ มีข้อมูลบ่งชี้ว่าเป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อดวงตา สืบหาต้นตอชุดข้อมูลดังกล่าวมีการแชร์ผ่านทาง Facebook มาตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เผยแพร่ข้อมูลลงในกลุ่ม “เรื่องเล่า ชาวอยุธยา” ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มมากกว่า 2 แสนคน และโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีผู้กดถูกใจมากกว่า 2 พันคน และกดแชร์ข้อมูลมากกว่า 630 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีผู้ส่งเรื่องดังกล่าวเข้ามาสอบถามผ่านทาง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : “ถั่งเช่า” ทำให้ไตวาย ไม่ควรรับประทานจริงหรือ ?

10 กุมภาพันธ์ 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง, เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที สังคมออนไลน์แชร์ ไม่ควรรับประทาน “ถั่งเช่า” เพราะทำให้ “ไตวาย” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ ยืนยันว่าข้อมูลดังกล่าว “มีส่วนจริง” ตามที่มีการแชร์ข้อมูลในโซเชียล ว่ามีผู้รับประทานสมุนไพรหรืออาหารเสริม “ถั่งเช่า” แล้วไตวาย บางคนหยุดทานแล้วอาการดีขึ้น แต่บางคนไตพังจนต้องล้างไตตลอดชีวิต รวมถึงมีผู้เสียชีวิตหลังจากรับประทานถั่งเช่าด้วย ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ตรวจสอบกับ พลอากาศโท นายแพทย์อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ยืนยันว่า “ถั่งเช่าทำให้ไตวายได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รับประทานถั่งเช่าแล้วจะไตวาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย” ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคไต และ อดีตนายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พลอากาศโท นายแพทย์อนุตตร ระบุว่า แพทย์ผู้รักษาโรคไตหลายคนพบแนวโน้มว่า ผู้ป่วยที่รับประทานถั่งเช่าบางคน มีการทำงานของไตแย่ลง และเมื่อให้หยุดการรับประทานถั่งเช่าแล้วการทำงานของไตดีขึ้น ดังนั้น จึงเห็นความเป็นไปได้ว่า การรับประทานถั่งเช่าอย่างต่อเนื่องอาจจะส่งผลให้ไตวายได้ในที่สุด ถั่งเช่าที่เป็นยาโบราณคือ “ถั่งเช่าทิเบต”พล.อ.ท.นพ.อนุตตร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : คนนอร์เวย์เสียชีวิต 23 คน เพราะฉีดวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ ?

หน่วยงาน Fact Checker จากนอร์เวย์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีข่าวดังไปทั่วโลกว่า ภายหลังการฉีดวัคซีน มีคนนอร์เวย์เสียชีวิตถึง 23 คน โดยเตือนผู้รับข้อมูลข่าวสารว่า “อย่าเพิ่งด่วนสรุป” พร้อมนำเสนอ “5 ข้อเท็จจริง” ที่ควรรู้ ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวที่ระบุว่า “คนนอร์เวย์เสียชีวิต 23 คน เพราะฉีดวัคซีนโควิด-19” นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รับการยืนยันจากบรรณาธิการของ Faktisk หน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือ Fact Checker ในประเทศนอร์เวย์ ว่ายังไม่สามารถสรุปได้ว่า การเสียชีวิตนั้นเป็นเพราะวัคซีน  เว็บไซต์ของ Faktisk ยังเผยแพร่บทความที่ระบุว่า “มันเป็นการด่วนสรุปเกินไปที่จะระบุว่า ชาวนอร์เวย์ 23 คน เสียชีวิตเพราะวัคซีนป้องกันโควิด-19” [ อ่านบทความเพิ่มเติม ] https://www.faktisk.no/artikler/1wY/too-soon-to-say-whether-23-norwegians-died-because-of-the-covid-19-vaccine สำนักงานยาแห่งนอร์เวย์ (The Norwegian Medicines Agency: NMA) ได้ทำการตรวจประเมินศพผู้เสียชีวิต 23 ราย ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนไวรัสโคโรนา การรายงานนี้ทำให้ผู้คนคิดว่าพวกเขาเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน หากแต่นั่นยังไม่เป็นที่ระบุแน่ชัด […]

ไขข้อข้องใจ แอปฯ หมอชนะ คืออะไร และหากไม่ใช้จะมีความผิดหรือไม่?

ข้อเท็จจริงเรื่องแอป #หมอชนะFACT About #MorChana App รู้จักกับแอปฯ หมอชนะ แอปพลิเคชันที่ประชาชนทุกคนต้องโหลดเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัส COVID-19 8 มกราคม 2564บทความโดย : ชณิดา ภิรมณ์ยินดี / ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ :: แอปฯ หมอชนะ คืออะไร ? :: แอปฯ ‘หมอชนะ’ เปิดตัวตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ช่วงแรกของการระบาดโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เพื่อเป็นแอปฯ ช่วยประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19  โดยลักษณะการทำงานจะเป็นการเก็บข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้แบบเรียลไทม์ และคอยแจ้งเตือนหากผู้ใช้กำลังอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 บนเว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ระบุถึงแอปนี้ว่า “หมอชนะ” เป็นแอปพลิเคชันที่บันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code เช่น ไทยชนะ เพื่อเช็คอินตามสถานที่ต่าง ๆ  ทำให้บันทึกการเดินทางของผู้ใช้งานแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กรมควบคุมโรคและบุคลากรทางการแพทย์สอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว โดยหมอชนะจะแจ้งไปยังกลุ่มผู้ใช้งานที่มีประวัติสัมผัสหรือเข้าใกล้กับผู้ติดเชื้อ Covid-19 ถึงวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง [https://www.dga.or.th/th/profile/2176/] นอกจากนี้ แอปหมอชนะ […]

1 3 4 5 6
...