ชัวร์ก่อนแชร์: นอนคว่ำ-นอนตะแคง เพิ่มออกซิเจนในปอด ให้ผู้ป่วยโควิด-19 จริงหรือ?

14 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์


บนสังคมออนไลน์ มีการแชร์คำแนะนำให้ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังไม่ได้เตียงในการรักษา ให้นอนคว่ำ นอนตะแคง นอนหงาย สลับกันไปทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดเกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น และช่วยในการขับเสมหะ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้วพบว่า แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ในกรณีที่พบการอักเสบของปอดทั้ง 2 ข้าง การนอนคว่ำจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในปอดให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น

บทสรุป แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง         


  • ในกรณีที่พบการอักเสบของปอดทั้ง 2 ข้าง การนอนคว่ำจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในปอดให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น
  • สำหรับคนที่ร่างกายปกติ สุขภาพแข็งแรง การนอนคว่ำ ไม่ได้ช่วยเพิ่มประโยชน์แต่อย่างใด

ข้อมูลที่ถูกแชร์

 “สำหรับคนที่ยังไม่ได้เตียง เริ่มเหนื่อยๆ ไม่รู้ระดับอ็อกซิเจนปลายนิ้ว ให้นอนคว่ำ ตะแคง หงาย หัวสูงวนไปนะคะ สลับทุก 2 ชม. หาหมอนมารองตามข้อต่อ เอาให้นอนแล้วสบายตัว ปกติถ้าอ็อกต่ำกว่า 94 จะเริ่มหายใจเร็ว หรือถ้าเดินในบ้านจะเริ่มเหนื่อยๆ ละ….บางคนงง อธิบายง่ายๆว่า ส่วนของปอดที่โดนกดทับจะขยายตัวไม่ดี แลกเปลี่ยนแก๊สไม่ดี ปอดแฟ่บได้ เสมหะค้างอีก ยิ่งเวลาเราป่วย เราจะนอนนาน นอนทั้งวัน การนอนแบบนี้จะทำให้ส่วนที่โดนกดทับได้ออกมาขยับขยายบ้าง สลับๆกัน”
              
นอกจากนี้ยังมีการแชร์ข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมภาพประกอบท่านอนในอิริยาบถต่างๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในปอด โดยข้อมูลดังกล่าวได้ถูกส่งเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริงกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

Fact Check : ตรวจสอบข้อมูล  


     ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อมูลกับ พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้คำตอบดังนี้ 

Q: มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโควิดที่ยังไม่ได้เตียง โดยให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ นอนตะแคง นอนหงาย ยกหัวให้สูง สลับกันไปทุก 2 ชั่วโมง รวมถึงหาหมอนมารองตามข้อต่อเพื่อไม่ให้ปอดถูกกดทับ เป็นคำแนะนำที่ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร 
A: ข้อมูลที่ถูกแชร์ ไม่ใช่การกล่าวอ้างที่ถูกต้องทั้งหมด คำแนะนำที่ถูกต้องคือ การนอนคว่ำจะมีประโยชน์กับคนไข้ที่พบการอักเสบของปอดทั้งสองข้าง ในกรณีที่ไม่ใส่ท่อหรือให้ยาสำหรับการช่วยหายใจ ในกรณีนี้มีคำแนะนำให้นอนคว่ำได้ 2 ชั่วโมง แต่ในความเป็นจริงก็อาจจะมีทั้งผู้ที่นอนได้และนอนไม่ได้ หากพบอาการปอดอักเสบทั้งสองข้างและมีระดับออกซิเจนตก การนอนคว่ำจะช่วยให้เนื้อปอดมีพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากหัวใจจะถูกสลับตำแหน่งให้อยู่บริเวณด้านล่างของร่างกายแทน เนื้อปอดก็จะมีพื้นที่มากขึ้น มากกว่าการที่เรานอนหงาย และทำให้ออกซิเจนไม่ตก อย่างไรก็ตามไม่ได้แนะนำว่าให้นอนคว่ำแล้วอาการของโรค จะหายไปในทันที แต่วิธีการดังกล่าวเป็นการช่วยประทังให้คนไข้ลดอาการเหนื่อยและภาวะที่มีออกซิเจนต่ำได้ เพราะฉะนั้นการนอนคว่ำจะแนะนำในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะปอดอักเสบแล้ว แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับเชื้อโควิด-19 ซึ่งยังไม่มีอาการปอดอักเสบหรือออกซิเจนตก

Q : หากภาวะปอดอักเสบข้างเดียว การนอนคว่ำสามารถช่วยเพิ่มออกซิเจนได้หรือไม่
A :
หากเป็นผู้ติดเชื้อด้วยโรคโควิด-19 จะเกิดการอักเสบของปอดทั้งสองข้างเท่าๆ กัน เพราะฉะนั้นการนอนคว่ำจะเป็นกระบวนการที่ดีที่สุด แต่หากบางคนเกิดอาการปอดอักเสบข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งพบได้น้อย แพทย์จะแนะนำให้นอนตะแคงในข้างที่ไม่ได้เกิดการอักเสบของปอด การนอนคว่ำจะเกิดประโยชน์ในกรณีที่ออกซิเจนต่ำ โดยคนปกติจะมีออกซิเจนจะอยู่ที่ 98-100 ถ้าออกซิเจนต่ำกว่านั้น การนอนคว่ำจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้นและช่วยลดภาวะอาการเหนื่อยหอบได้

Q : การนอนหงาย ช่วยให้ปอดขยายดีขึ้นหรือไม่ 
A:
หากสุขภาพร่างกายดีอยู่แล้ว การนอนคว่ำไม่ได้หมายความว่าจะทำอะไรให้ดีขึ้น เพราะร่างกายเราดี และมีออกซิเจนที่ปกติดีอยู่แล้ว

Q : มีการแชร์ข้อมูลว่า ถ้าออกซิเจนในร่างกายต่ำกว่า 94 เราจะเริ่มหายใจเร็วและมีอาการเหนื่อย จริงหรือไม่ และในผู้ป่วยโควิด-19 ระดับออกซิเจนควรจะอยู่ประมาณเท่าใด
A: ความเหนื่อยขึ้นอยู่กับการรับรู้ของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งความรู้สึกจากการเหนื่อยของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ถ้าถามว่าระดับออกซิเจนที่ 94 จะทำให้ทุกคนเหนื่อยได้หรือไม่ สามารถตอบได้ว่าอาจจะทำให้บางคนมีอาการเหนื่อยมาก บางคนมีอาการเหนื่อยน้อย เพราะการรับรู้ความเหนื่อยของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ถ้าถามว่าต้องมีระดับออกซิเจนเท่าไหร่ถึงจะทำให้รู้สึกเหนื่อยนั้น พบว่าจะเกิดขึ้นในกรณีที่มีออกซิเจนต่ำกว่า 90 สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับค่าออกซิเจนจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนตอบสนองได้ดี ได้ยาดี ออกซิเจนไม่ตกเลยก็มี ซึ่งต้องดูเป็นกรณีๆ ไป 

Q : ท่านอนที่ถูกต้อง และดีสำหรับปอด ควรนอนท่าใด
A : ยังไม่พบว่าการนอนท่าใดแล้วจะทำให้ปอดแข็งแรง และการนอนท่าไหน ไม่ได้มีผลทำให้ปอดแข็งแรง แต่จะมีการพูดเพียงว่าการนอนคว่ำทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น เนื่องจากเนื้อปอดมีการขยายตัวขึ้น และหัวใจตกไปอยู่ด้านล่างของร่างกาย ซึ่งจะทำให้ถุงลมขยายตัวได้เต็มที่ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องออกซิเจนต่ำและเกิดอาการปอดอักเสบทั้งสองข้าง อย่างไรก็ตามหากเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 แต่มีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย และออกซิเจนไม่ต่ำ ยังสามารถนอนท่าที่ถนัดได้ตามปกติ

Q : คำแนะนำในการปฏิบัติตัวช่วงป่วยโควิด-19
A : ผู้ป่วยโควิด-19 ควรดูแลร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่เหมาะสม ทั้งนี้หากยังไม่พบอาการเหนื่อย และยังเป็นเหมือนคนปกติ ยังสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ ก็สามารถทำได้ตามขีดจำกัดที่เรามี เพราะจะเป็นตัวช่วยที่ทำภูมิของเราดีขึ้น

Q: สรุปแล้วข้อความที่มีการแชร์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ และสามารถแชร์ต่อได้หรือไม่
A : ถามว่าแชร์ได้หรือไม่ ก็สามารถบอกได้ว่าไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี แต่ดีที่สุดคือต้องเข้าใจว่า ทำไมเราถึงต้องทำแบบนี้ และเรามีคุณสมบัติที่จะต้องทำตามหรือไม่ จำเป็นต้องนอนคว่ำหรือเปล่า หากคุณเป็นคนปกติและระดับออกซิเจนก็อยู่ในระดับปกติก็ไม่ได้มีประโยชน์ในการนอนคว่ำหรือทำตามที่โซเชียลมีเดียแชร์ข้อมูลกัน ข้อมูลนี้ไม่ได้เป็นข้อมูลเชิงลบว่าไม่ถูกต้อง แต่การที่เราเปลี่ยนอิริยาบถและขยับร่างกายก็จะช่วยในเรื่องการขับเสมหะได้ ฉะนั้นเรื่องนี้สามารถแชร์ต่อได้ แต่ต้องอธิบายเพิ่มว่าใครที่ทำแล้วได้ประโยชน์ ทำเพื่ออะไร เข้าใจวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติตามคำแนะนำ ส่วนการขยับร่างกายบ่อยๆ ก็เป็นเรื่องที่มีประโยชน์สำหรับทุกคนอยู่แล้ว 

ข้อมูลอ้างอิง
การสัมภาษณ์พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า