ชัวร์ก่อนแชร์ : แนะกินยา Ivermectin ช่วยป้องกัน-รักษาโควิด-19 ได้ จริงหรือ?

30 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์


บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูล จาก American Journal of Therapeutic ยา Ivermectin ช่วยลดการตายและหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลแล้ว พบว่า ข้อมูลมีความจริงบางส่วน แต่ยังไม่ควรแชร์

บทสรุป :  จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์  


·        งานวิจัยดังกล่าวทางการแพทย์เรียกว่า “การทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน” หมายความว่าเป็นการนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ได้สืบค้นได้ นำมาทบทวนรวมกัน ซึ่งบางงานวิจัยก็มีคุณภาพดี บางงานวิจัยมีคุณภาพปานกลาง และบางงานวิจัยก็มีคุณภาพต่ำ

·        ไม่แนะนำให้ซื้อยาตัวนี้มาใช้ในการรักษาเอง ส่วนจะมีการใช้ยาตัวนี้ในอนาคตเพื่อรักษาโควิด-19 หรือไม่นั้น ขอให้ติดตามข้อมูลที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

·        ในประเทศไทย ไอเวอร์เมคติน เป็นยาที่ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สำหรับการฆ่าพยาธิ หากจะนำยาที่ขึ้นทะเบียนด้วยเหตุผลอย่างหนึ่ง มาใช้กับเหตุผลอีกอย่างนึง ก็ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ


·       ขณะนี้ยังไม่มีการนำยาไอเวอร์เมคตินมาใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย เพราะยังมีข้อมูลทางวิชาการไม่เพียงพอ

·       สำหรับไกด์ไลน์คำแนะนำในการรักษาของกรมการแพทย์ระบุว่า มีข้อมูลการศึกษาในหลอดทดลองเบื้องต้นว่าไอเวอร์เมคตินเสริมฤทธิ์กับฟาวิพิราเวียร์ แต่ยังไม่มีข้อมูลศึกษาวิจัยทางคลินิก

ข้อมูลที่ถูกแชร์

“ผลการวิจัยยา Ivermectin ในการรักษา ไวรัสโควิด-19 ได้ถูกประกาศอย่างเป็นทางการใน American Journal of Therapeutic แล้วนะครับ และผลของการวิจัยก็คือ: 1. Ivermectin สามารถลดจำนวนคนตายจากโควิด-19 ได้ 62%. 2. Ivermectin สามารถหยุดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ 86% ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนตัวไหนทำได้เลย. 3. ต้นทุนการผลิต Ivermectin ในอินเดียอยู่ที่ $2.90 ต่อ 100 เม็ด (ขนาดเม็ดละ 12-mg) หรือ เม็ดละ 90 สตางค์ หรือ 4.50 บาท ต่อการรักษา 1 ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 (วันละเม็ด เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน….”

นอกจากนี้ยังมีการแชร์ข้อมูล “เวลานี้ Ivermectin(ไอเวอร์เมคติน)  นิยมแพร่หลายมากในอินเดีย เพราะพิสูจน์แล้วว่ารักษาโควิด-19 ได้ ไม่เพียงแต่ Gua แต่ทุกรัฐในอินเดียหันมาใช้ยานี้รักษาโควิดกันหมดแล้ว ข่าวว่าประเทศยากจนต่างๆนับร้อยประเทศในทวีปอาฟริกาและอเมริกาใต้ที่ไม่มีเงินเข้าถึงวัคซีน ก็หันมาใช้ยานี้กันหมด…” โดยข้อมูลดังกล่าวได้ถูกส่งเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริงกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์จำนวนมาก

Fact Check : ตรวจสอบข้อมูล

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท. ตรวจสอบคำกล่าวอ้างข้างต้น กับ ดร.นพ.อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับคำตอบในแต่ละประเด็น ดังนี้

Q : มีการแชร์ข้อมูลบนสื่อออนไลน์ว่า ยา Ivermectin (ไอเวอร์เมคติน) สามารถใช้รักษาโควิด-19 ได้แล้ว จริงหรือไม่?

A : จากข้อมูลที่แชร์กัน ควรจะต้องดูข้อมูลจากงานวิจัยเรื่องนี้ให้ครบถ้วน ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่สนับสนุน และข้อมูลที่ยาไม่ได้ผลเมื่อเทียบกับการให้ยาตัวอื่นหรือยาหลอก แต่เดิมยาไอเวอร์เมคตินใช้สำหรับการรักษาพยาธิ แต่ขณะนี้มีข้อมูลว่ายาไอเวอร์เมคตินช่วยยับยั้งไวรัสได้ โดยเฉพาะไวรัสโควิด-19 ในหลอดทดลอง จึงทำให้มีคนสนใจเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามเมื่อเราดูข้อมูลงานวิจัยจะมีทั้งงานสนับสนุน และงานวิจัยที่บอกว่าไม่ได้ผล ซึ่งมีทั้งงานวิจัยชิ้นเล็ก ชิ้นใหญ่ที่ทำในโรงพยาบาล มีการศึกษากับผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน รวมถึงศึกษากับบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้หากจะระบุว่าการใช้ยาไอเวอร์เมคติน รักษาโควิด-19 ได้ผลหรือไม่ ต้องดูว่าบุคคลที่แชร์ข้อมูล มีข้อมูลงานวิจัยใดในการสนับสนุน

สำหรับไกด์ไลน์คำแนะนำในการรักษาของกรมการแพทย์ระบุว่า มีข้อมูลการศึกษาในหลอดทดลองเบื้องต้นว่าไอเวอร์เมคตินเสริมฤทธิ์กับฟาวิพิราเวียร์ แต่ยังไม่มีข้อมูลศึกษาวิจัยทางคลินิกเพียงพอ แต่เมื่อมีงานวิชาการชิ้นนี้ออกมา ก็อาจมีความเป็นไปได้ในอนาคต ที่ประเทศไทยจะทำการศึกษาในประเด็นนี้

Q : [แชร์กันว่า] เวลานี้ Ivermectin (ไอเวอร์เมคติน) นิยมแพร่หลายมากในอินเดีย เพราะพิสูจน์แล้วว่ารักษาโควิด-19 ได้ ไม่เพียงแต่ Gua แต่ทุกรัฐในอินเดียหันมาใช้ยานี้รักษาโควิดกันหมดแล้ว ข่าวว่าประเทศยากจนต่างๆ นับร้อยประเทศในทวีปอาฟริกาและอเมริกาใต้ที่ไม่มีเงินเข้าถึงวัคซีน ก็หันมาใช้ยานี้กันหมด เพราะใช้ง่ายและราคาถูก และเป็นยาสามัญไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เรื่องนี้จริงหรือไม่ อย่างไร

A :  อยากให้เข้าใจกันก่อนว่า ขณะนี้สถานการณ์ทางการแพทย์เป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างฉุกเฉินหรือเรียกว่าวิกฤตในเรื่องที่เกี่ยวกับโควิด-19 เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคระบาดใหม่ ก็จะมีความพยายามในการหาวิธีรักษามาอย่างต่อเนื่อง และในหลายประเทศก็พยายามหาวิธีการรักษา อย่างที่ระบุไปในตอนต้นว่า ในหลอดทดลองเราพบว่าตัวยาไอเวอร์เมคตินมีความสามารถในการยับยั้งไวรัสโดยเฉพาะไวรัสโควิด-19 ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ที่ประเทศต่างๆ จะมีการนำยาตัวนี้มาใช้รักษากับผู้ป่วยโควิด-19 อย่างประเทศที่มีการแชร์ข้อมูลกันหรือมีการพูดถึงอาจจะเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมาก และฐานะทางเศรษฐกิจอาจจะไม่ได้ร่ำรวย เพราะฉะนั้นยาตัวนี้อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประเทศเหล่านั้น นำมาใช้ อย่างไรก็ตามหากจะนำยาตัวนี้มาใช้ ก็ต้องดูผลที่ตามมาด้วยว่า ได้ผลจริงหรือไม่

Q : [แชร์กันว่า] ผลการวิจัยยา Ivermectin(ไอเวอร์เมคติน)  ในการรักษาไวรัสโควิด-19 ได้ถูกประกาศอย่างเป็นทางการใน American Journal of Therapeutic แล้ว และผลของการวิจัยคือ Ivermectin (ไอเวอร์เมคติน) สามารถลดจำนวนคนตายจากโควิด-19 ได้ 62% จริงหรือไม่?

A : งานวิจัยที่กำลังพูดถึงเป็นงานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมา ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีลักษณะ ที่เราเรียกว่า “การทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน” หมายความว่าผู้วิจัยนำงานวิจัยทั้งหมดที่สืบค้นมาได้ นำมาทบทวนรวมกันทั้งหมด และนำข้อมูลของงานวิจัย แต่ละงานวิจัยเอามารวมกัน เพื่อที่จะได้จำนวนผู้ป่วยเป็นจำนวนมากจากหลายๆ งานวิจัย แล้วก็นำผลมาสรุป ส่วนที่ระบุว่าช่วยลดการตายได้ 62 เปอร์เซ็นต์นั้น เมื่อพิจารณาจากงานวิจัยที่ได้ไปสืบค้นมาทั้งหมด และนำมาวิเคราะห์ผลในงานวิจัยนี้พบว่า ผู้ป่วยที่ได้กินยาไอเวอร์เมคตินจะมีการเสียชีวิต 2.3 เปอร์เซ็นต์  ขณะที่อีกกลุ่มที่ไม่ได้ยาไอเวอร์เมคตินมีการเสียชีวิตอยู่ที่ 6.8 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นในเรื่องนี้หากจะมองในเรื่องประโยชน์ของยาไอเวอร์เมคตินก็มีประโยชน์อยู่ แต่หากมองตามข้อเท็จจริง ความแตกต่างของอัตราการตายอยู่ที่ 4.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่งานวิจัยนี้พูดว่าลดอัตราการตาย 62 เปอร์เซ็นต์ เป็นการเทียบจากกลุ่มที่มีอัตราการตายเยอะ และลดลงมาเมื่อได้ยาไอเวอร์เมคติน

ทั้งนี้หากพิจารณาจากภาพรวมจะพบว่า ต้องให้ยาไอเวอร์เมคตินในคนจำนวน 22 คน ถึงจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้ 1 คน อีกประเด็นคือ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการนำข้อมูลจากหลายๆ งานวิจัยมารวมกัน ซึ่งมีการศึกษากับผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก และมีการให้ปริมาณโดสของยาที่แตกต่างกัน และบางงานวิจัยก็มีคุณภาพที่ดี บางงานวิจัยมีคุณภาพที่ปานกลาง บางงานวิจัยก็คุณภาพต่ำ ซึ่งส่งผลต่อการวิเคราะห์ผลด้วย อย่างไรก็ตามหากดูจากการสรุปโดยรวมระบุได้ว่า กลุ่มคนที่ได้ยาไอเวอร์เมคติน มีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาอื่นๆ หรือยาหลอก

Q : [แชร์กันว่า] ยา Ivermectin(ไอเวอร์เมคติน) สามารถหยุดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ 86% ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนตัวไหนทำได้เลย จริงหรือไม่?

A : ข้อความนี้ก็มาจากงานวิจัยชิ้นเดียวกัน โดยมาจากการวิเคราะห์งานวิจัย 3 งานวิจัย ซึ่งได้นำมารวมกันเป็นบทวิจัยนี้ และพบว่าในกลุ่มเสี่ยงที่ได้ยาไอเวอร์เมคตินมีอาการติดเชื้อโควิค-19  5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่มที่มีการควบคุมหรือเปรียบเทียบจะติดโควิด-19 ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ 

Q : [แชร์กันว่า] มีการแชร์ต่อว่าต้นทุนการผลิต ยาไอเวอร์เมคติน มีราคาถูกมาก?

A : ราคายาตัวนี้ไม่แพงมาก เนื่องจากเป็นยาที่ใช้ในการรักษาพยาธิ ซึ่งเป็นยาขึ้นทะเบียน และยาตัวนี้มีการใช้มานานแล้ว อย่างไรก็ตาม หากยาตัวนี้ได้ผลกับผู้ป่วยโควิด-19 จริง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต ส่วนไกด์ไลน์หรือแนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญ สมาคมวิชาชีพต่างๆ รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ระบุว่า ยาไอเวอร์เมคตินไม่ได้เป็นยาที่ใช้รักษาหลัก แต่เป็นส่วนที่อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ว่าแพทย์สามารถนำมาพิจารณาใช้ได้หากเห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม เหตุผลที่มีการใช้ยาไอเวอร์เมคตินขึ้นมาเพราะพบว่ามีผลในหลอดทดลอง แต่หากถามว่าไอเวอร์เมคตินมีประโยชน์หรือไม่ หากมองจากงานวิจัยชิ้นนี้ ก็จะพบว่ายานี้อาจมีประโยชน์ในอนาคต 

Q : ประเทศไทยได้สั่งนำเข้า ยา Ivermectin (ไอเวอร์เมคติน) เข้ามาหรือไม่ ถ้าสั่งเข้ามา นำมาใช้ในการรักษาโรคอะไร

A : ไอเวอร์เมคตินเป็นยาที่ขึ้นทะเบียนว่าใช้ในการฆ่าพยาธิ ถ้าจะนำยาที่ขึ้นทะเบียนด้วยข้อบ่งใช้อย่างหนึ่ง ไปใช้กับข้อบ่งใช้อีกอย่างหนึ่ง ก็ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ เพราะการขอขึ้นทะเบียนยา กับการนำมาใช้ด้วยเงื่อนไขที่ไม่เหมือนกัน

“ยาตัวนี้เป็นการขึ้นทะเบียนว่าใช้ในการฆ่าพยาธิ แต่ถ้าเราจะนำมาใช้กับผู้ป่วยโควิด-19 ก็จะต้องมีเงื่อนไขในการนำมาใช้ มีกระบวนการใด กระบวนการหนึ่ง ซึ่งในอนาคตอาจจะมีกระบวนการทำวิจัย เพราะในประเทศไทยก็มีผู้ป่วยโควิด-19 หรือถ้าเราคิดว่างานวิจัยที่มีในต่างประเทศมีความน่าเชื่อถือ และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยา ก็อาจจะต้องมาหาวิธีการต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไร” ดร.นพ.อรรถสิทธิ์ ระบุ

Q : ในประเทศไทยมีการใช้ยาตัวนี้กับผู้ป่วยโควิด-19 บ้างหรือยัง และถ้าต้องทำการรักษาจริง จะต้องใช้ในปริมาณเท่าไหร่ และเริ่มมีการทำวิจัยการศึกษายาตัวนี้ในประเทศไทยแล้วหรือยัง?

A : เคยได้ยินว่ามีอาจารย์บางท่านในประเทศไทยได้ทำวิจัยเรื่องนี้ แต่คงตอบได้ยากในตอนนี้ งานวิจัยที่ดีเพื่อตอบว่ายาได้ผลหรือไม่ จำเป็นต้องใช้เวลา เพราะต้องมีการควบคุมปัจจัยต่างๆ ของคนไข้ และปริมาณยาที่ให้ แต่จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศที่มีการเผยแพร่ออกมานี้ พบว่า มีการให้ยาในปริมาณและจำนวนวันที่แตกต่างกันมาก ซึ่งก็จะมีความหลากหลาย การใช้ยาจึงควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์หากพิจารณาว่ายาตัวนี้มีประโยชน์และจะนำมาใช้ต่อไป

ขณะนี้ยังไม่มีการนำยาไอเวอร์เมคตินมาใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่พบในประเทศไทย เพราะเรายังมีข้อมูลไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามถ้ามีข้อมูลงานวิจัยมากพอ อย่างงานของ American Journal of Therapeutic เป็นการรวบรวมข้อมูลถึงเดือนเมษายน 2564 ก็ถือว่าเป็นงานข้อมูลวิชาการชิ้นหนึ่ง ที่จะมีโอกาสผลักดันให้มีการนำไอเวอร์เมคตินมาใช้ในอนาคตได้

Q : มีการแนะนำว่า ไม่ต้องฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว เพราะ สามารถทานยา Ivermectin (ไอเวอร์เมคติน)  เพื่อรักษาโควิดได้ เป็นความคิดเห็นที่ถูกต้องหรือไม่? จะให้คำแนะนำกับประชาชนอย่างไร?  

A : การที่เราฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค ซึ่งการฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และอยากให้ประชาชนเข้ารับบริการการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดเพราะการฉีดวัคซีนได้มาก ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้โรคโควิด-19 ระบาดมากขึ้น และคงไม่ได้หมายความว่าเราฉีดวัคซีนแล้ว จะไม่สามารถติดเชื้อ แต่การได้รับวัคซีนแล้ว เมื่อได้รับเชื้อเข้ามาอาการก็จะไม่ค่อยรุนแรง ทั้งนี้หากเราฉีดวัคซีนแล้ว แต่ยังมีผู้ที่ติดเชื้ออยู่รอบตัวเรา โอกาสที่เราจะได้รับเชื้อก็ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้นยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการในการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันโควิด-19 ส่วนการนำยาไอเวอร์เมคตินมากินเพื่อป้องกันโรคนั้น ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอ แต่ว่าในอนาคตการนำยาไอเวอร์เมคตินเพื่อมาทำการรักษาคนติดเชื้อแล้วอาจมีความเป็นไปได้

Q : สรุปแล้วข้อมูลที่มีการแชร์บนสื่อโซเชียลมีเดียในเรื่องนี้ จริงเท็จอย่างไร ควรแชร์ต่อหรือไม่

A : ข้อมูลที่แชร์ในสื่อสังคมออนไลน์ในเรื่องนี้ มาจากข้อมูลงานวิชาการก็จริง แต่เวลาแชร์ต้องพิจารณาว่าข้อมูลบางอย่างในงานวิชาการนี้ไม่ได้สามารถแชร์ได้ทั้งหมด การนำข้อมูลมาแชร์เพียงบางส่วนมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้มาก ถ้าจะแนะนำว่าแชร์ได้มันก็ดูจะผิดไป เพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คาดเคลื่อนกันไปตลอด แต่ถ้าจะบอกว่าข้อมูลมันไม่ถูกต้องนั้น บางส่วนในข้อมูลงานวิชาการนี้ ก็มีส่วนที่ถูกต้องอยู่ ฉะนั้นผมขอแนะนำว่าอย่าแชร์ดีกว่า เพราะหากมีการแชร์ต่อไปเรื่อย ๆ แล้วนำยาตัวนี้มารักษาโควิด-19 ในเวลานี้ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ไม่ขอแนะนำให้ซื้อยาตัวนี้มาใช้ในการรักษาเอง ส่วนจะมีการใช้ยาตัวนี้ในอนาคตเพื่อรักษาโควิด-19 หรือไม่นั้น ขอให้ติดตามข้อมูลที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุขต่อไป และแพทย์จะเป็นคนพิจารณาเองว่าจะใช้หรือไม่ใช้กับใคร และใช้เมื่อไหร่ ปริมาณเท่าไหร่

ข้อมูลอ้างอิง
การสัมภาษณ์ ดร.นพ.อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า