ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนฉีดยาชา-ทำฟัน หลังรับวัคซีนโควิด-19 ทำให้ตายได้ จริงหรือ ?

14 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์


ตามที่มีการแชร์ข้อมูลว่า ใครก็ตามที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ห้ามรับการฉีดยาชา ไม่ว่าจะไปถอนฟันหรือทำอะไรก็ตาม เพราะจะทำให้เสียชีวิตได้ ต้องรอให้ผ่าน 1 เดือนไปก่อน แล้วถึงจะฉีดยาชาได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่เป็นความจริง

บทสรุป :  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ


·        ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว สามารถฉีดยาชาและทำฟันได้ ไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตตามที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย  

·        ไม่มีข้อกำหนดใดระบุว่า ต้องรอ 4 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ถึงจะฉีดยาชาได้

ข้อมูลที่ถูกแชร์

มีการส่งต่อข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์จำนวนมาก โดยระบุว่า “นี่อะเพิ่งไปอ่านเจอข้อมูลของจีนมา. เขาบอกคนที่ฉีดวัคซันแล้ว ไม่เกิน 1 เดือน ห้ามฉีดยาชาเด็ดขาด. ไม่ว่าจะไปถอนฟัน. หรือทําอะไร.  ต้องผ่าน 1 เดือนไปแล้วถึงฉีดยาชาได้  ที่จีนมีคนไปฉีดวัคซีนแล้วไม่กี่วัน ก็ไปถอนฟัน หมอฟันฉีดยาชาเข้าไปไม่เกิน5 นาที ช็อคตายเลย”


รวมถึง “….ใครก็ตามที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน coronavirus นั้นถูกห้ามไม่ให้ใช้ยาชาทุกชนิดแม้แต่ยาชาเฉพาะที่หรือยาชาที่สำนักงานทันตแพทย์เพราะเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตของบุคคล ที่ได้รับการฉีดวัคซีน มีระดับอันตรายสูงและมีโอกาสเสียชีวิตทันที  ดังนั้นผู้ที่ได้รับวัคซีนจะต้องรอ 4 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีน…ญาติของเพื่อนคนหนึ่งได้รับวัคซีนเมื่อสองวันก่อน ไปหาหมอฟันเมื่อวานนี้ และเสียชีวิตทันทีหลังจากได้รับยาชาเฉพาะที่!…” โดยข้อความดังกล่าวได้ถูกส่งต่อเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริงกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์เป็นจำนวนมาก

Fack Check : ตรวจสอบข้อเท็จจริง

            ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบจาก เฟซบุ๊กชื่อ Matana Kettratad ซึ่งเป็นของ อ.ทพญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต อาจารย์คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยืนยันว่า ในระดับสากล ไม่มีคำแนะนำตามที่แชร์กัน ดังนั้น ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว สามารถฉีดยาชาและทำฟันได้ ไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตแต่อย่างใด

ทันตแพทย์ ยืนยัน สามารถทำฟันได้ทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19

อ.ทพญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต อาจารย์คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ไม่มีการห้ามเรื่องการใช้ยาชาเฉพาะที่กับผู้ที่เพิ่งได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และสามารถทำฟันได้ทั้งก่อน และหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ส่วนงานผ่าตัดถอนฟันถ้ามีอาการปวดบวมจำเป็นต้องทำ ก็สามารถทำได้เลยไม่ว่าจะฉีดวัคซีนวันไหน แต่ถ้าเป็นงาน elective สามารถรอก่อน 2-3 วัน แต่ไม่ควรรอเกิน 1 สัปดาห์

* Elective คือ งานที่ไม่เร่งด่วน เช่น อุดฟัน ขูดหินปูน ทำฟันปลอม ฟอกสีฟัน เป็นต้น

“รศ.ดร.เจษฎา” ระบุ ฉีดยาชาทำฟันแล้วเสียชีวิต ไม่ใช่เรื่องจริง

ขณะที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ระบุผ่าน   เฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “ฉีดวัคซีนโควิดแล้ว สามารถฉีดยาชา สามารถทำฟันได้นะครับ มีการแชร์ข้อความที่อ้างว่าเป็นข้อมูลมาจากเมืองจีนว่า “หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ในช่วง 1 เดือน ห้ามฉีดยาชา เพราะเคยมีคนจีนที่ฉีดวัคซีนแล้วไปทำฟัน เพราะฉีดยาชา ก็ตายไปใน 5 นาที”!? ไม่จริงนะครับ! คนที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว สามารถจะฉีดยาชาได้ตามปกติ ไม่ได้จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตอย่างที่ว่า”

ไม่มีข้อกำหนดใดระบุว่า ต้องรอ 4 สัปดาห์ แล้วถึงฉีดยาชาได้

รศ.ดร.เจษฎา ระบุต่อว่า ประการแรก ไม่ได้มีข้อห้ามเรื่องการฉีดยาชา การทำฟัน หรือจริงๆ แล้ว ก็ไม่ได้ห้ามอะไรเลยด้วยซ้ำ หลังจากที่เราฉีดวัคซีน covid19 แล้วเรายังกินดื่ม ออกกำลังกาย ดูทีวี เล่นเกม หรือมีเพศสัมพันธ์  ได้ตามปกติเหมือนก่อนที่จะรับการฉีดวัคซีน และชัดเจนว่าไม่มีข้อกำหนดที่ไหน ที่บอกว่าต้องรอ 4 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนแล้วถึงจะฉีดยาชาได้

วัคซีนโควิด-19 ไม่ได้ทำปฏิกิริยาแล้วเปลี่ยนให้ยาชากลายเป็นสารพิษได้

ประการต่อมา วัคซีนโรคโควิดไม่ได้จะไปทำให้ยาชาเปลี่ยนสภาพกลายเป็นยาพิษได้ เพราะการทำงานของวัคซีนนั้น ก็เพียงแค่ทำให้ร่างกายเรารับสัญญาณของการมีโปรตีนเชื้อไวรัสโควิดเข้ามา และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เรียนรู้จดจำวิธีการสร้างสารแอนติบอดี้ขึ้นมาต่อสู้ เมื่อมีเชื้อโรคเข้ามาอยู่จริงๆ วัคซีนไม่ได้จะไปทำปฏิกิริยาอื่นๆกับร่างกายที่จะไปเปลี่ยนให้ยาชากลายเป็นสารพิษได้

การใช้ยาชาในปริมาณที่สูงมากอาจมีผลต่อความดันโลหิตได้

“ประการสำคัญคือ ไม่เคยมีข่าวเรื่องที่คนฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วไปทำฟันและเสียชีวิตเพราะฉีดยาชา ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจริง ต้องเป็นข่าวใหญ่ระดับโลกไปแล้ว ดังนั้น เรื่องที่กล่าวอ้างกันรู้ ก็เป็นเพียงแค่ข่าวปลอมโรคโควิดจากประเทศจีนอีกเรื่องนึง ในหลายร้อยหลายพันเรื่อง ที่ผ่านมาแล้วครับ ปล. อย่างไรก็ตาม เวลาไปทำฟันหรือหาหมอด้วยโรคใดๆ ที่ต้องฉีดยาชา ก็อาจจะแจ้งคุณหมอหน่อยว่าไปฉีดวัคซีน covid มา เพราะการใช้ยาชาในปริมาณที่สูงมากๆ อาจจะมีผลต่อความดันโลหิตได้ ซึ่งถ้าพึ่งฉีดวัคซีนมาใหม่ๆ อาจส่งผลเสริมต่อผลข้างเคียงของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้น คุณหมอจะได้ปรับปริมาณยาชาให้เหมาะสม ข้อมูลจาก https://www.techarp.com/science/anaesthetic-kill-covid-19/?amp=1&fbclid=IwAR2lkeP_NIP24tZ5JpXKR93hbfJ54HIit49__H0gc4zqsyqDVBPD8bHdBCA” รศ.ดร.เจษฎา ระบุ

“RCS-CDC” ระบุตรงกันว่า การทันตกรรมหรือผ่าตัดเร่งด่วนสามารถทำได้ทันที

อ.ทพญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต อาจารย์คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังให้ข้อมูลอ้างอิงถึงแนวปฏิบัติ 2 ฉบับ ซึ่งตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่มีการระบุห้ามใช้ยาชาแต่อย่างใด

Royal College of Surgeons of England  (RCS) ระบุข้อมูลสําหรับศัลยแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนของผู้ป่วยที่รอการผ่าตัดว่า การผ่าตัดเร่งด่วนและจําเป็น ควรเกิดขึ้นโดยทันที โดยไม่ต้องคํานึงถึงสถานะการฉีดวัคซีน ส่วนการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วนสามารถรอก่อน 2-3 วันได้ หรือมากที่สุดคือ 1 สัปดาห์ เพื่อจะได้แยกอาการได้ว่า หากคนไข้มีไข้เป็นผลมาจากการฉีดวัคซีน หรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ระบุสิ่งที่สามารถทําได้ก่อนหรือหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ดังนี้ 1.งานที่เกี่ยวกับเลือด 2.ขั้นตอนทางทันตกรรม 3.การสแกน CT 4. สิ่งที่เกี่ยวกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKGs) 5. การทดสอบความเครียดของหัวใจ 6.การส่องกล้องลําไส้ใหญ่ 7.อัลตราซาวด์ 8.การสอบคัดกรองทางการแพทย์อื่น ๆ อย่างไรก็ตามสามารถปรึกษากับแพทย์หากมีคําถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนทั้งก่อนและหลัง 

กรมการแพทย์” โดยสถาบันทันตกรรมแจงวัคซีนโควิด 19 ไม่มีผลต่อการรักษาทางทันตกรรม

วันที่ 15 มิถุนายน 2564 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึง ปัจจุบันพบว่า มีการเผยแพร่ข่าวผ่านสื่อออนไลน์ ประเด็นมีผู้ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาชาในการรักษาทางทันตกรรม หลังรับวัคซีนโควิด 19 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อประชาชน โดยการรักษาทางทันตกรรมที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาชาร่วมด้วยนั้น สามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังการรับวัคซีนโควิด 19 ภายใต้ความปลอดภัยของผู้ป่วยและประสิทธิผลการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งก่อนการรักษาควรได้รับคำแนะนำและประเมินตามขั้นตอนโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ

“ทันตแพทย์” ระบุยาชาที่ใช้ทางทันตกรรมมี 2 รูปแบบ ไม่มีผลต่อภูมิคุ้มกันทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด

ทันตแพทย์หญิงสุมนา โพธิ์ศรีทอง ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ยาชาที่ใช้ในการรักษาทางทันตกรรม ประกอบด้วย ตัวยาชา ยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ส่วนของสารป้องกันการเสื่อมสลายของยาทั้งสองชนิด และส่วนของตัวทำละลาย โดยยาชาที่ใช้ทางทันตกรรม มี 2 รูปแบบคือ ยาชาชนิดฉีด และชนิดเจล ใช้เพื่อระงับความรู้สึกในบริเวณที่ต้องการทำการรักษา และบรรเทาอาการปวดภายหลังการรักษา ซึ่งไม่มีผลต่อภูมิคุ้มกันทั้งก่อนและหลังการรับวัคซีนโควิด 19 ในปริมาณยาชาที่เหมาะสมและถูกต้อง ดังนั้นผู้ที่เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมสามารถรับการฉีดยาชา เพื่อทำหัตถการทางทันตกรรมได้อย่างปลอดภัย

“ทั้งนี้ในหัตถการที่ไม่เร่งด่วน ควรเข้ารับการรักษาก่อนรับวัคซีนหรือภายหลังรับวัคซีนโควิด-19 2-3 วัน แต่ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยแยกโรค เช่น ภาวะไข้ ว่ามีอาการข้างเคียงจากการรักษาทางทันตกรรมหรืออาการข้างเคียงจากวัคซีน ส่วนในกรณีอาการฉุกเฉินเร่งด่วนทางทันตกรรม สามารถขอคำแนะนำและรับคำปรึกษา รวมถึงประเมินอาการจากทันตแพทย์ได้ ตามแนวทางบริการทางทันตกรรมวิถีใหม่ New Normal Dental Services”ทันตแพทย์หญิงสุมนา กล่าว

ข้อมูลอ้างอิง
https://m.facebook.com/728270582/posts/10157603795240583/?d=n
https://www.rcseng.ac.uk/coronavirus/vaccinated-patients-guidance/
https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/expect/other-procedures.html
https://www.facebook.com/jessada.denduangboripant/posts/2198595503604405
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2127880084021415&id=643148052494633

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ฆ่าควักหัวใจ

รวบชายชาวจีนฆ่าโหดคู่ขา กรีดหน้าอก ควักหัวใจ-ปอด

ตำรวจรวบชายชาวจีน ก่อเหตุสะเทือนขวัญฆ่าขู่ขาหมกห้องน้ำอพาร์ตเมนต์ กลางเมืองพัทยา พบร่องรอยถูกกรีดหน้าอก ควักหัวใจ ปอดหายไปข้างหนึ่ง

อุทาหรณ์! จอดรถยนต์ติดเครื่องไว้ เจอขโมยขับหนีหาย

อากาศร้อนเป็นเหตุ หนุ่มสตาร์ทเครื่องเปิดแอร์รถยนต์จอดไว้ ก่อนลงไปซื้อของ เดินออกมาอีกที เจอคนขโมยรถ ขับหนีหายไปแล้ว

ดับแล้ว 8 ราย รถชนบนมอเตอร์เวย์ อัดก๊อปปี้พังยับ

เกิดอุบัติเหตุใหญ่ช่วงกลางดึก บนมอเตอร์เวย์ สาย 7 มุ่งหน้าชลบุรี รถเทรลเลอร์ 2 คัน กับเอสยูวีอีก 1 คัน คนในรถเอสยูวี เสียชีวิต 8 ราย

ข่าวแนะนำ

นายกฯไปสกล

นายกฯ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำบึงหนองหาร

นายกฯ ลงพื้นที่ สกลนคร-นครพนม ก่อนประชุม ครม.สัญจร ติดตามสถานการณ์น้ำบึงหนองหาร แนะหน่วยงานลิสต์ปัญหาให้ชัดเจน หลังพื้นที่สะท้อนระบบนิเวศเสื่อมโทรม บึงตื้นเขิน ขณะ ม.เกษตร ของบฯ 50 ล้านบาท ตั้งศูนย์ Wellness Center ภาคอีสาน ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ได้เบาะแสเพิ่ม โจร 30 วิ ล็อกเป้าชิงทอง 1.6 ล้าน

เหตุคนร้ายสวมชุดไรเดอร์ควงปืนปลอม ชิงทองมูลค่า 1.6 ล้าน กลางห้างอุดรฯ ชุดสืบยังเร่งแกะรอยล่า ยืนยันได้วงจรปิดเส้นทางมาชิงทองและเส้นทางหนีแล้ว มั่นใจคนร้ายล็อกเป้ามาชิงทองร้านนี้ร้านเดียว

ป่วนใต้

คนร้ายซุ่มโจมตี ยะลา-ปัตตานี อส.ดับ 2 เจ็บ 1

คนร้ายซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ อส. ต่อเนื่อง 2 จุด ในพื้นที่ยะลาและปัตตานี เจ้าหน้าที่ อส. เสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 1 นาย พร้อมวางเพลิงเผารถยนต์และยิงถล่มฐานปฏิบัติการอย่างอุกอาจ

กกต.สรุปเลือกตั้งซ่อม สส.เขต 8 นครศรีฯ

กกต.สรุปการเลือกตั้งซ่อม สส.เขต 8 นครศรีธรรมราช “ก้องเกียรติ” กล้าธรรม คว้าชัย 38,680 คะแนน มีผู้มาใช้สิทธิ 69.45% บัตรเสีย 1,088 ใบ กกต.ลุยสอบเรื่องร้องเรียน หากไม่พบทุจริต ประกาศรับรองใน 60 วัน