Friendly labrador Aldo calms Ecuadorean kids at dentist's office

“ผู้ช่วยสี่ขา” ช่วยให้เด็กไม่กลัวหมอฟัน

กีโต 23 พ.ย.- ชมความน่ารักและแสนรู้ของสุนัขที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทันตแพทย์ ด้วยการเป็นเพื่อนปลอบใจ คลายความกังวลให้แก่เด็ก ๆ ในเวลาที่ต้องทำฟัน สุนัขแสนรู้ตัวนี้มีชื่อว่า “อัลโด” เป็นสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ อายุ 8 ปี ทำงานอยู่ที่คลินิกหมอฟันในกรุงกีโตของเอกวาดอร์ ทันตแพทย์หญิงเกลนดา อารีอัส ผู้เป็นเจ้าของอัลโดเผยว่า อัลโดได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี  สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ถึง 30 อย่างด้วยกัน ทุกวันนี้อัลโดมีหน้าที่เป็นเพื่อนปลอบใจเด็ก ๆ ที่มาทำฟัน โดยทันทีที่คนไข้เด็กขึ้นนอนบนเก้าอี้ทำฟัน อัลโดก็จะกระโดดขึ้นไปนอนข้าง ๆ  ให้เด็กได้เล่น ได้กอด ได้สัมผัส ช่วยทำให้เด็กเกิดความผ่อนคลาย  อยู่ในอาการสงบ ไม่กลัว ไม่วิตกกังวลกับการทำฟัน โดยเฉพาะเสียงดังจากเครื่องมือทำฟันที่อาจทำให้เกิดความเครียดได้ คุณแม่ของเด็กคนหนึ่งบอกว่า อัลโดช่วยทำให้พฤติกรรมของลูกเปลี่ยนไป จากที่เคยกลัวการมาหาหมอฟัน แต่ทุกวันนี้ไม่กลัวแล้ว เรียกได้ว่า อัลโด กำลังเป็นขวัญใจของเด็กๆ ที่มาหาหมอฟันที่คลินิกแห่งนี้ เพราะเป็นที่รักและขื่นชอบของเด็กๆ เป็นอย่างมาก.-816(814).-สำนักข่าวไทย  

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สรุปสิทธิทำฟัน ประกันสังคม

12 กุมภาพันธ์ 2567 – สรุปแล้วถือสิทธิประกันสังคม มีสิทธิทำฟันแบบไหนได้บ้าง แบบไหนมีวงเงิน แบบไหนไม่เกี่ยวกับวงเงิน แล้วถ้าอยากใส่ฟันปลอม ครอบคลุมแค่ไหน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนฉีดยาชา-ทำฟัน หลังรับวัคซีนโควิด-19 ทำให้ตายได้ จริงหรือ ?

14 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์ข้อมูลว่า ใครก็ตามที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ห้ามรับการฉีดยาชา ไม่ว่าจะไปถอนฟันหรือทำอะไรก็ตาม เพราะจะทำให้เสียชีวิตได้ ต้องรอให้ผ่าน 1 เดือนไปก่อน แล้วถึงจะฉีดยาชาได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่เป็นความจริง บทสรุป :  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ·        ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว สามารถฉีดยาชาและทำฟันได้ ไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตตามที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย   ·        ไม่มีข้อกำหนดใดระบุว่า ต้องรอ 4 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ถึงจะฉีดยาชาได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์ มีการส่งต่อข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์จำนวนมาก โดยระบุว่า “นี่อะเพิ่งไปอ่านเจอข้อมูลของจีนมา. เขาบอกคนที่ฉีดวัคซันแล้ว ไม่เกิน 1 เดือน ห้ามฉีดยาชาเด็ดขาด. ไม่ว่าจะไปถอนฟัน. หรือทําอะไร.  […]

ทำฟันยังน่ากลัวหรือไม่ในยุค New Normal

ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้การทำฟันต้องหยุดการให้บริการไปนานเกือบ 2 เดือน ตอนนี้กลับมาให้บริการแล้วในยุค New Normal แต่การทำฟันแบบใหม่เป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน

ทันตแพทยสภายันไม่ใช้โคเคนทำฟัน

ทันตแพทยสภา ยืนยันในไทยไม่เคยมีการนำโคเคนมาใช้ในงานด้านทันตกรรมแทนยาชา เพราะมียาชาจากสารสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า และไม่มีผลข้างเคียง

ทันตแพทยสภา ยันหมอฟันไม่ได้จ่ายโคเคน “บอส”

สำนักข่าวไทย 31 ก.ค.-อุปนายกทันตแพทยสภา เผยทันตแพทย์ผู้รักษา ยืนยันไม่มีการใช้โคเคนในการรักษาฟันให้กับ “บอส อยู่วิทยา” ทพ.เผด็จ ตั้งงามสกุล อุปนายกทันตแพทยสภา กล่าวว่าขณะนี้ทันตแพทย์ที่รักษา “บอส” วรยุทธ อยู่วิทยา นั้น ได้ติดต่อมาเป็นการส่วนตัวกับทางกรรมการทันตแพทยสภาท่านหนึ่ง ซึ่งยืนยันว่า ไม่ได้มีการใช้โคเคนในการรักษาฟันแต่อย่างใด เพราะคลินิกทันตกรรม หรือในวงการทันตกรรมไม่มีการใช้สารโคเคนอยู่แล้ว เพราะเป็นยาเสพติด จะมีการใช้เพียงยาชา ที่อนุญาตทางทันตกรรมเท่านั้น ส่วนที่จะมีการเชิญทันตแพทย์รายดังกล่าวมาที่ทันตแพทยสภาหรือไม่ ทพ.เผด็จ กล่าวว่า ขณะนี้ต้องรอให้เขาพร้อม และเตรียมข้อมูลการรักษา เนื่องจากผ่านมา 7 ปีกว่า แต่ที่จำได้คือยืนยันว่าไม่ได้ใช้โคเคนและก็สงสัยว่า เพราะเหตุใดจึงมีข่าวว่าเจ้าหน้าที่สอบสวนบอกว่า มีการใช้สารโคเคน อย่างไรก็ตาม ทันตแพทยสภา ขอรอเวลาสักระยะเพื่อติดต่อและประสาน ในการให้ข้อมูล เนื่องจากปัจจุบันยังมีคณะกรรมการอีกชุดที่นายกรัฐมนตรีตั้ง ดังนั้น คงต้องมีหลายฝ่ายอยู่ในการดำเนินการเรื่องนี้ แต่ขอยืนยันว่า ไม่มีการใช้โคเคนในวงการทันตกรรมแน่นอน.-สำนักข่าวไทย

อย.แจงการใช้โคเคนในการรักษา “ผ่าตัดจมูก-คอ”

สำนักข่าวไทย 31 ก.ค.-รองเลขาฯ อย.เผยการใช้โคเคนรักษา มีแค่ผ่าตัดจมูก คอ ส่วนยาชาผสมโคเคน ยืนยันมียาชาอื่นที่ประสิทธิภาพดีกว่า ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีสารโคเคนที่กำลังเป็นกระแสว่า มีการนำมาใช้ทางทันตกรรมหรือไม่ ว่า ปัจจุบันมีการใช้สารเสพติดทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือยาเสพติดให้โทษประเภท 2 และ 4 โดยสารออกฤทธิ์ประเภทที่ 2 มีอยู่ 20 ตัว อาทิ มอร์ฟีน โคเคน โดยกลุ่มนี้จะเป็นยาที่ อย.เป็นผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว ส่วนมากจะพบว่ามีการใช้ในห้องผ่าตัดเฉพาะจุด โดยเฉพาะจมูกและคอ ซึ่งที่ผ่านมา อย.จัดส่งให้สถานพยาบาล ตามการร้องขอและทำรายละเอียดว่ามีการใช้จำนวนมากเท่าไหร่ ซึ่งแต่ละปีจะมีการใช้ปริมาณ 1กิโลกรัม โดยข้อมูลปี 2562 ครึ่งกิโลกรัม ปี 2561 มีการใช้ 0.75 กิโลกรัม และปี 2560 มีการใช้ 1.2 กิโลกรัม แต่ปัจจุบันมียาชาตัวอื่นมีประสิทธิภาพกว่า เมื่อถามว่า […]

ทันตกรรมไม่ต้องสำรองเงินสด

เกือบ 2 ปีแล้วที่ประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตนทำฟันได้ปีละ 900 บาท โดยไม่ต้องสำรองเงินสด ล่าสุดมีผู้ประกันตนมาใช้บริการแล้วกว่า 200,000 ครั้ง

...