fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม่ควรสวมหน้ากากผ้าในขณะนี้ เพื่อป้องกันโควิด-19 จริงหรือ ?

2 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์


ตามที่มีการสอบถามข้อมูลเข้ามายังศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า การสวมใส่หน้ากากผ้า ไม่ปลอดภัยในช่วงเวลานี้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวกับ นางนภพรรณ นันทพงษ์ ผอ.กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ การชี้แจงข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก “Tor Phiboonbanakit” ของ พ.อ.(พิเศษ) นพ.ธนะพันธ์ พิบูลย์บรรณกิจ ที่ปรึกษาแผนกโรคติดเชื้อ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองให้คำแนะนำตรงกันว่า หน้ากากอนามัยเหมาะสมกับการใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง และหากจะสวมหน้ากาก 2 ชั้น ควรสวมหน้ากากอนามัยไว้ด้านในแนบหน้า ส่วนหน้ากากผ้าสวมใส่ข้างนอก

บทสรุป : แชร์ได้ แต่ควรอธิบายเพิ่มเติมให้ครบถ้วน


  • ควรใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ เพื่อยกระดับการป้องกันเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 
  • หน้ากากผ้ายังสามารถใช้ได้ในพื้นที่ที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสูง มีหรือมีความแออัด และยอดผู้ป่วยไม่ได้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น
  • การใช้หน้ากากอย่างเดียวไม่ได้เป็นการการันตีว่าจะไม่ได้รับเชื้อโควิด-19 เพราะการติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ ด้วย

Fact check : ตรวจสอบข้อมูล 

            ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อมูลกับ  นางนภพรรณ นันทพงษ์ ผอ.กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้คำตอบในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 

Q: มีการแชร์ข้อมูลว่าการใช้หน้ากากผ้าในปัจจุบัน ไม่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ เรื่องนี้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร?
A: นางนภพรรณระบุว่าต้องยอมรับว่าหน้ากากอนามัยมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าหน้ากากผ้า เพราะด้วยลักษณะของวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นมา มีประสิทธิภาพ 3 ชั้นในการกรอง สำหรับหน้ากากผ้าประสิทธิภาพการใช้งาน ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อผ้าว่าทำจากผ้าชนิดใด เมื่อเราใช้หน้ากากผ้าและซักไปเรื่อย ๆ ก็เหมือนกับการใช้เสื้อผ้า เส้นใยก็จะบางลง แต่ถามว่ายังสามารถใช้หน้ากากผ้าได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูงหรือพื้นที่ที่แออัดมากก็ยังสามารถใช้ได้อยู่ ไม่อยากให้ประชาชนเกิดการตื่นตระหนกที่จะต้องซื้อหน้ากากอนามัยมาใช้ แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้มหรือพื้นที่เสี่ยงสูงก็ควรต้องสวมใส่หน้ากากให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยสวมหน้ากากอนามัยด้านในให้แนบชิดกับใบหน้า และสวมหน้ากากผ้าไว้ด้านนอกเพื่ออุดช่องโหว่รอยรั่วต่างๆ และเก็บรายละเอียดข้างแก้ม


ไม่แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น เพราะยังมีรอยรั่วเกิดขึ้นได้
“ขณะเดียวกันไม่แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น เพราะถึงแม้จะสวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้นแต่หน้ากากอนามัยยังมีช่องโหว่ บริเวณข้างแก้ม ซึ่งยังสามารถเกิดรอยรั่วและความไม่แนบสนิทได้อยู่  แต่ถ้าใช้หน้ากากอนามัยควบคู่กับหน้ากากผ้าก็จะได้ทั้งความฟิตและความกระชับ” นางนภพรรณระบุ

เผยผลการทดสอบประสิทธิภาพการกรองของหน้ากากอนามัยชนิดต่างๆ
ผอ.กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ระบุต่อว่า  การจะใส่หน้ากากชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่และบริเวณที่เราอาศัยอยู่ หน้ากากผ้ายังมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรคได้ และจากการทดสอบก็ใช้ได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อผ้าด้วย จากการศึกษาทางวิชาการของ ดร.พานิช อินต๊ะ อาจารย์ประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ทำการศึกษาโดยทดสอบประสิทธิภาพการกรองของหน้ากากแต่ละชนิดด้วยอนุภาค 0.3 ไมครอน พบว่า ถ้าเป็นหน้ากากอนามัยประสิทธิภาพการกรองมีถึง 97 เปอร์เซ็นต์, หน้ากาก N95  99.3 เปอร์เซ็นต์, หน้ากากผ้าอยู่ที่ 53-54 เปอร์เซ็นต์ สำหรับหน้ากากอนามัย 2 ชั้นอยู่ที่ 99.07 เปอร์เซ็นต์ และการสวมหน้ากากอนามัยพร้อมกับหน้ากากผ้าผลทดสอบอยู่ที่ 97.4 เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้เมื่อสวมใส่แล้ว ประสิทธิภาพการป้องกัน นอกจากชนิดหรือประเภทของหน้ากากแล้ว ยังขึ้นกับความแนบกระชับเมื่อสวมใส่ด้วย

จะเลือกสวมใส่หน้ากากชนิดใดให้พิจารณาความเสี่ยงในพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่
“การจะใส่หน้ากากชนิดใด ขอเน้นย้ำว่าขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสูงมาก และไม่ได้มีจำนวนตัวเลขของผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นตลอด การใส่หน้ากากผ้าก็ใช้ได้อยู่ และขึ้นอยู่กับชนิดของผ้าที่ใช้ด้วย แต่หน้ากากผ้าที่ใช้ จะต้องถูกเย็บอย่างน้อย 2 ชั้น ส่วนหน้ากากแฟชั่นบางชนิดที่มีลักษณะนิ่มๆ และมีฟองน้ำ จากผลการทดสอบพบว่าหน้ากากตัวนี้ไม่สามารถป้องกันอะไรได้ ขอให้ระมัดระวังและเลือกหน้ากากที่ที่เหมาะสมกับการใช้งาน”นางนภพรรณกล่าว 

สวมใส่หน้ากากอนามัยแล้วยังต้องดำเนินควบคู่กับมาตรการอื่นๆ เพื่อป้องกันโควิด-19
ผอ.กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กล่าวย้ำต่อว่า การใช้หน้ากากอย่างเดียวไม่ได้เป็นการการันตีว่าจะไม่ได้รับเชื้อโควิด-19 เพราะการติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ ด้วย เช่น การชอบสัมผัสใบหน้าโดยไม่ได้ล้างมือ การใช้มือสัมผัสสิ่งของต่างๆ แล้วนำมาขยี้ตา ขยี้จมูก ซึ่งจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ฉะนั้นการใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโควิด-19  ต้องทำร่วมกับมาตรการอื่นๆ เสมอ ยังต้องใช้มาตรการ D-M-H-T-T  และการดูแลสุขอนามัยต่างๆ 

การสวมหน้ากากที่ถูกวิธีจะช่วยป้องกันเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผอ.กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ระบุว่า การจะใส่หน้ากากให้มีประสิทธิผลได้ผลดี ต้องดูเรื่องของประสิทธิภาพการกรองและต้องสวมใส่ให้ถูกต้อง โดยใส่ให้ครอบปาก ครอบจมูก และมีความกระชับกับใบหน้า ก่อนที่จะสวมหน้ากากควรที่จะต้องล้างมือให้สะอาดก่อน แต่บางคนก็ตั้งคำถามว่าก็สวมหน้ากากตลอดแต่ทำไมยังติดได้ เรื่องนี้ก็ขึ้นกับพฤติกรรมอื่นๆ ด้วย เช่น เมื่อจะหยิบหน้ากากมาใช้ก็ต้องดูว่ามือเราสะอาดพอหรือไม่ และจังหวะในการที่ถอดวางหน้ากากอยู่ในพื้นที่ที่สะอาดหรือไม่ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัย เมื่อมีการใช้แล้ว 6 ถึง 8 ชั่วโมง หากเป็นหน้ากากผ้าก็ต้องมีชิ้นสำรอง

Q: เมื่อถามว่าการสวมหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าทั้ง 2 ชั้นสามารถป้องกันไวรัสเบต้าเดลต้าได้หรือไม่
A: ผอ.กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ระบุว่า ยังไม่ขอพูดถึงเรื่องของสายพันธุ์ เพราะเรื่องสายพันธุ์มีความละเอียดอ่อน ต่อให้ตอนนี้เป็นสายพันธุ์ อัลฟ่า เบต้า ไวรัสก็จะมีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ เชื้อโรคก็เหมือนคนเรา พอรู้ว่าเราจะเอาชนะมัน มันก็ต้องเอาตัวรอด เอาชีวิตให้รอด โดยการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ซึ่งเราก็จะต้องจัดการตัวเองให้มีวินัยกับตัวเอง มีวินัยในการดูแลเรื่องต่างๆ การปฏิบัติตนให้สวมหน้ากากที่ถูกต้อง

“อนามัยโพล” เผย เปอร์เซ็นต์การปฏิบัติตัวของประชาชนในการสวมใส่หน้ากากเมื่ออยู่ภายนอก
การสำรวจของอนามัยโพลจากทั่วประเทศระหว่างวันที่ 17 พ.ค.64 -18 มิ.ย. 64 จากประชาชนจำนวน 14,953 คน โดยเป็นผู้หญิงจำนวน 78 เปอร์เซ็นต์ ผู้ชายจำนวน 22 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ประชาชนสวมหน้ากากเป็นประจำเมื่อออกนอกบ้านร้อยละ 97.8  การเว้นระยะห่างร้อยละ 93 การล้างมือร้อยละ 93.6 การวัดอุณหภูมิร้อยละ 93.9 การใช้ไทยชนะร้อยละ 70.4 และยังพบว่าประชาชนสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่อเข้าร้านสะดวกซื้อ ไปตลาดสด ตลาดนัด และห้างสรรพสินค้า อยู่ที่ 90.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสถานที่ที่พบผู้สวมหน้ากากอนามัยน้อย เช่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬา 

Q : สรุปแล้วเรายังสามารถใช้หน้ากากผ้าได้หรือไม่ ?
A : ผอ.กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ระบุว่า ถามว่าหน้ากากผ้ายังใช้ได้หรือไม่ ไม่สามารถตอบได้ 100% ว่าชัวร์หรือไม่ชัวร์ แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมถ้าอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงสูงก็ต้องมีการป้องกันตัวเองสูงสุดโดยต้องใช้หน้ากากอนามัย หรือหากใช้หน้ากากอนามัยเพียงชิ้นเดียวก็สามารถทำได้ แต่ต้องกดให้กระชับกับใบหน้า แต่ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจกับความปลอดภัยหรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ก็สามารถสวมหน้ากากผ้าทับอีกชั้นได้ โดยหลักการหน้ากากผ้ายังใช้ได้ แต่ใช้ในพื้นที่ ที่ไม่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความรุนแรง และไม่ได้มีอัตราการเกิดโรคสูง ส่วนจะป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้หรือไม่ ยังไม่ทราบ เพราะยังไม่มีใครทดสอบเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ถ้าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูงและเรามีศักยภาพในการจัดหาหน้ากากอนามัยได้นั้น ก็จะป้องกันได้ดีกว่าหน้ากากผ้า แต่ก็ต้องสวมใส่ให้ถูกวิธี

“นพ.ธนะพันธ์” ระบุ หน้ากากผ้ายังไม่ดีพอที่จะกันเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
ขณะที่ พ.อ.(พิเศษ) นพ.ธนะพันธ์ พิบูลย์บรรณกิจ ที่ปรึกษาแผนกโรคติดเชื้อ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Tor Phiboonbanakit”  ถึงเรื่องการใช้หน้ากากผ้า สรุปใจความได้ว่า  เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เปลี่ยนไป แนวทางการปฏิบัติตัวก็ต้องปรับตามให้เหมาะสม กรณีการใช้เพียงหน้ากากผ้า โอกาสที่จะได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายก็จะมีสูงขึ้น โดย “หน้ากากผ้าไม่ดีพอที่จะกันเชื้อเข้า” ที่สำคัญ  และขณะนี้ ยังไม่มีการนำหน้ากากผ้า ไม่ว่าจะมาตรฐานใด มาใช้ทดแทนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ สำหรับการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล
นพ.ธนะพันธ์ ระบุต่อว่า คุณสมบัติของหน้ากากผ้าในการป้องกันละอองฝอยน้ำลาย ยังคงอาจมีส่วนช่วยป้องกันแพร่เชื้อได้บ้าง เพื่อลดการแพร่เชื้อ ส่วนหน้ากากอนามัยเหมาะสำหรับคนที่ยังไม่ป่วย ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามหากจะสวมหน้ากาก 2 ชั้น ควรสวมหน้ากากอนามัยไว้ด้านในแนบหน้า ส่วนหน้ากากผ้าสวมใส่ข้างนอก

ประวัติการแก้ไข
แก้ไขเมื่อ 4 ก.ค. 2564 : ปรับแก้ข้อความในย่อหน้าสุดท้ายให้ชัดเจน ในการสื่อสารเกี่ยวกับการใช้งานหน้ากากผ้า อย่างไรก็ตามกรมอนามัยแนะนำให้ผู้ป่วยใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นหลัก เพื่อป้องกันในระดับที่สูงกว่า

ข้อมูลอ้างอิง
1. การสัมภาษณ์ นางนภพรรณ นันทพงษ์ ผอ.กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564
2. เฟซบุ๊ก “Tor Phiboonbanakit” : https://www.facebook.com/100001034752567/posts/4380431822001266/?d=n

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องหมิ่น “ทนายรัชพล” กล่าวหาจับแพะติดคุกฟรีปีกว่า

“สารวัตรแจ๊ะ” พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททนายดัง และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ยันไม่ได้นําตัวไปเซฟเฮาส์ ด้านทนายเผยพบหลักฐานทนายคู่กรณีบีบผู้เสียหายกลับคําให้การ แบ่งเงินคนละครึ่ง

ข่าวแนะนำ

เร่งตรวจสอบเหตุสารเคมีรั่วไหลโรงงานย่านพระราม 2

เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบเหตุสารเคมีรั่วไหลในโรงงานย่านพระราม 2 ควันสีขาวลอยโขมง เบื้องต้นพบเป็นสารไทโอยูเรีย

อุตุฯ เผยไทยตอนบนร้อนจัด แนะเลี่ยงทำงานในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด แนะหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานาน ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัดบางแห่ง

คดีสะเทือนขวัญ ฆ่าหั่นศพ “ยากูซ่า” จ.นนทบุรี

คดีสะเทือนขวัญ พบชิ้นส่วนมือ ในพื้นที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ล่าสุดตำรวจจับกุมหนึ่งในผู้ต้องหาได้แล้ว และทราบว่าทั้งผู้ตายและผู้ลงมือฆ่าหั่นศพ เป็นแก๊งยากูซ่าชาวญี่ปุ่น

ชาวบ้านร้องโรงงานเก็บสารเคมีเร่งเยียวยาเหตุไฟไหม้

ชาวบ้านที่เดือดร้อนจากเหตุไฟไหม้โกดังเก็บสารเคมีอุตสาหกรรม จ.ระยอง เรียกร้องโรงงานช่วยเหลือ บอกน้ำสักขวดก็ไม่ได้