fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ จับมือ สสอท. และ ETDA ร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำนักศึกษา รู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ จับมือ สสอท. และ ETDA ลงนาม MOU ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักศึกษา และบุคคลากรฝ่ายกิจการนักศึกษา สมาชิกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้เท่าทันสื่อ และดิจิทัล กรุงเทพฯ 31 ก.ค. 66 – ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จับมือ  สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ (สสอท.) และ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ร่วมลงนาม (MOU) ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยมี ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ เป็นประธาน ร่วมกับ คุณนิมิต สุขประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักพัฒนาธุรกิจ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และ คุณมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมพิธีลงนาม  ทั้งนี้ เพื่อลงนามความร่วมมือสนับสนุนวิทยากร […]

กองทุนสื่อเผย 2 ทีมชนะเลิศ TMF-Hackathon ผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ พร้อมเงินสนับสนุน

กรุงเทพฯ 20 ก.ค. 66 – กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้จัดงานแถลงข่าวความสำเร็จของโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ “Thai Media Fund Hackathon 2023” เพื่อสร้างผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์สู่ธุรกิจ Start Up ร่วมกับภาคีผู้ร่วมจัดทำโครงการ “Thai Media Fund Hackathon 2023” โดยมีจุดประสงค์ เพื่อสร้างผู้ประกอบการ Start Up และ SMEs เป็นต้นแบบในการพัฒนาผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ให้สามารถผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ขึ้นได้เป็นอย่างดี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า นับตั้งแต่วันเปิดตัวโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ “Thai Media Fund Hackathon 2023” ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566  ที่ผ่านมา นับเป็นเวลากว่า 5 เดือน ที่ได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือก และเป็นผู้ให้คำแนะนำในการ Phitching วัตถุประสงค์ของกองทุน คือ การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จากสิ่งที่เป็นคุณค่าให้มีมูลค่า สร้างโอกาส สร้างธุรกิจ สร้างคน นับเป็นเป้าหมายสูงสุด […]

“กองทุนสื่อ” จับมือ “กรมราชทัณฑ์” เสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อก่อนพ้นโทษ

กรุงเทพฯ 7 มิ.ย. 66 –กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ กรมราชทัณฑ์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสู่การสร้างความร่วมมือในการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ เพิ่มพูนทักษะการรู้เท่าทัน และเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ ให้กับบุคลากรและผู้ต้องขัง ให้สามารถใช้สื่อเพื่อพัฒนาตนเองได้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ กล่าวว่า การลงนามดังกล่าว เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือซึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการฝึกอบรม เพื่อการแก้ไข และพัฒนาผู้ต้องขัง ตลอดจนสร้างการรับรู้ รวมถึงสร้างการยอมรับของภาคประชาชน สังคมภายนอก จะสามารถตอบโจทย์ข้อกังวลของสังคม ต่อการ “คืนคนดี มีคุณภาพกลับสู่สังคม” ได้ ด้าน ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ กล่าวว่า ข้อตกลงนี้เป็นการเริ่มต้นสู่การสร้างความร่วมมือในการสร้างสังคม สร้างคน ผ่านรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ สื่อดิจิทัล ประเภทวีดิทัศน์ ละคร สื่อการเรียนรู้ผ่านวารสาร และกิจกรรมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างการรับรู้ไปยังบุคคลภายนอก และสร้างโอกาสทางสังคมให้ผู้ต้องขังสามารถนำไปประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ ไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก ดร.อายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CYBER RESILIENCE ? — ทักษะสำคัญ เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์

27 พฤษภาคม 2566 สิ่งนี้…สร้างภูมิต้านทานภัยคุกคามทางไซเบอร์ สิ่งนี้…มีความสำคัญกับสภาวะไซเบอร์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก และสิ่งนี้…ช่วยยกระดับประสิทธิภาพความปลอดภัยขององค์กรให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัย ความหมายของ CYBER RESILIENCE CYBER RESILIENCE หมายถึง ความสามารถในการยืดหยุ่น การเตรียมตัว รับมือ กู้คืน และการตอบสนองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป้าหมายของ CYBER RESILIENCE ในปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และสร้างความเสียหายได้มหาศาล  CYBER RESILIENCE จึงเปรียบเสมือนภูมิคุ้มกัน เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นเราจึงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อม การรู้ทัน และสร้างเกราะป้องกันที่ดีขึ้น เพื่อรับมือภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น อาจารย์ปริญญาแนะนำแนวคิดมาปรับใช้ ดังนี้ “ปัจจุบันมีการใช้จ่ายผ่านออนไลน์มากขึ้น การใช้บัญชีเดียว บัตรเดียว มีความเสี่ยงในการถูกแฮกเงินได้ ดังนั้นจึงควรมีวิธีป้องกันเกี่ยวกับการผูกบัญชีกับแอปฯ ซื้อของออนไลน์ เช่น เราอาจจะมีบัญชีธนาคารที่มีเงินน้อย ๆ ใช้ทำธุรกรรมออนไลน์แทนบัญชีหลัก” สัมภาษณ์เมื่อ : 7 เมษายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

คุยเบื้องหลังโปรเจกต์ใหม่ ชัวร์ก่อนแชร์ – ‘หนูฮาแอนด์บีบี้’ ละครสั้นเตือนภัยไซเบอร์

12 พฤษภาคม 2566 ครั้งแรกของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท กับการทำละครสั้น “หนูฮาแอนด์บีบี้ ตะลุยภัยไซเบอร์” โดยมีตัวละครสมมติอย่าง “หนูฮา” และ “บีบี้” เด็กสาวสองเพื่อนซี้ มาถ่ายทอดภัยร้ายในมุมมองของผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อบนโลกไซเบอร์ในสถานการณ์ที่หลากหลาย อย่างที่ทราบกันดีว่า ในยุคที่โลกเดินไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด ข่าวสารก็แพร่กระจายได้รวดเร็วไม่ต่างกันผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้คนบางกลุ่มพยายามหาผลประโยชน์จากความสะดวกสบายนี้ หนูฮากับบีบี้จึงมาเป็นตัวแทนของคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน จนในบางทีก็หลงลืมที่จะป้องกันตัวเองจากภัยร้ายบนโลกออนไลน์ หรืออาจจะไม่เคยรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อน ละครสั้นสอดแทรกกลลวงบนโลกอินเทอร์เน็ตชุดนี้ เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ของนักศึกษาฝึกงานคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทยจากรั้ว มศว 4 คน ได้แก่ นางสาวพิชชาภา ชุกชุม (พิชชา) นางสาวพาพร พฤทธิสาริกร (เบลล์) นางสาวกัญญาลักษณ์ ยอดเยี่ยมแกร (นานา) และนางสาวเบญจมา ส้มเช้า (เมย์) น้อง ๆ ทั้งสี่คนได้ร่วมกันผลิตละครสั้นชุดนี้ขึ้นมา ภายใต้การดูแลของ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” หรือที่เรารู้จักกันดีในบทบาทของรายการตรวจสอบข้อมูลเท็จ ที่ออนแอร์ให้ทุกคนได้รับชมกันในช่วงข่าวค่ำของทุกวัน ผ่านช่อง 9 MCOT HD “การที่ทีมผลิตเนื้อหา ยกสถานการณ์ในห้องน้ำมาเป็นสถานที่ในการเล่าเรื่อง […]

กระตุ้นสังคมไทย ใส่ใจเด็ก “NEET”

12 เม.ย. 66 หากพูดถึงปัญหาร้อนแรงที่เยาวชนกำลังประสบปัญหามากกว่า  1.4 ล้านคน และยังคงเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง คงจะหนีไม่พ้น เรื่อง เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา การทำงาน หรือการฝึกอบรม  ซึ่งสามารถเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ ได้ว่า  “NEET”  ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดกลุ่มเยาวชน NEETข้อมูลจาก “งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Employment, Education, or Training: NEET) ในประเทศไทย” จัดทำโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสนับสนุนโดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ระบุว่า  เยาวชนไทย NEET มีอายุเฉลี่ยระหว่าง 15-24 ปี ประมาณ 1.4 ล้านคน เป็นร้อยละ 15 ของเยาวชนทั้งหมด  ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีความหลากหลาย ประกอบไปด้วย นักเรียนที่ออกจากระบบการศึกษาก่อนกําหนด เยาวชนว่างงานที่กําลังหางานทํา และไม่มีส่วนร่วมใด ๆ หรือเยาวชนที่รู้สึกท้อแท้ รวมถึงผู้ที่อยู่นอกเหนือตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่ต้องดูแลครอบครัว […]

สุขสันต์ วันตรวจสอบข้อเท็จจริง 2 เมษายน 2566 | ชัวร์ก่อนแชร์

สุขสันต์ วันตรวจสอบข้อเท็จจริง 2 เมษายน 2566 | ชัวร์ก่อนแชร์

บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ สืบเนื่องจากกระแสทั่วโลกที่ “ข่าวปลอม” “ข่าวลวง” ข้อมูลเท็จโหมกระหน่ำ และ ลามไปถึงการหลอกลวงในรูปแบบภัยไซเบอร์ ซึ่งไม่เพียงสร้างความความเข้าใจผิดทางสุขภาพ การเมือง กฎหมาย ข่าวสาร  แต่ยังสร้างความเดือดร้อนถึงตัวตนและทรัพย์สินแก่ผู้คนมากมาย วันที่ 2 เมษายน 2566 จึงถูกกำหนดไว้ให้เป็น International Fact-Checking Day หรือ วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล ซึ่งวัตถุประสงค์ของการกำหนดวันนี้ขึ้นมา ก็ตรงไปตรงมาตามชื่อ นั่นคือ วันที่จะร่วมกันรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือ Fact-Checking หรือถ้าแปลเป็นไทยง่าย ๆ คือ การตรวจสอบข่าวปลอม การจับข่าวลวง เราจึงได้ยินการเรียกขานวันนี้ว่า “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” หรือแม้แต่ “วันชัวร์ก่อนแชร์” วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล นับเป็น “วันตั้งใหม่” เมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลของเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล (International Fact-Checking Network หรือ IFCN) บันทึกไว้ว่า วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล หรือ IFCD ถูกกล่าวถึงในการประชุมเครือข่ายเมื่อปี […]

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ถึงเวลาปัดฝุ่นฝีมือและวิจารณญาณกันอีกครั้ง เพื่อป้องกันภัยจากการหลอกลวงที่กำลังยกระดับไปอีกขั้น ในยุคที่ “คนร้าย” ร่วมมือกับ “เอไอ” เนื่องในวันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล 2 เมษายน 2566 “ชัวร์ก่อนแชร์” มีเทคนิคสั้นกระชับฉบับเข้าใจง่าย ทุกคนปฏิบัติได้มาฝากไว้ให้เป็นเคล็ดวิชาและวิธีคิดในการรับมือกับ ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ ที่มีอยู่ดาษดื่น เมื่อ “ข่าวปลอม” หล่อหลอมกับ “เอไอ” กลายเป็น “ภัยไซเบอร์” ที่ลึกล้ำ ย้อนไปในช่วงเริ่มต้น ไม่กี่ปีก่อนที่โลกนี้จะรู้จัก “ข่าวปลอม” แบบที่เรารู้จักกันอยู่ เรื่องราวของข้อมูลเท็จและคำลวงหลอก ถูกเผยแพร่ในรูปแบบ “ข่าวลือ” หรือเรื่องที่ “เขาเล่าว่า” ส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งปากต่อปาก ประชาคม หรือแม้กระทั่ง กระดานข่าว และ อีเมล แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทำให้คนเชื่อมต่อพูดคุยกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แบ่งกลุ่มลับได้ไม่จำกัด และการสร้างเนื้อหาทั้งข่าว ภาพ คลิป เผยแพร่สู่วงกว้าง เป็นไปได้โดยง่ายและราคาถูก ปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก จึงกลายเป็น […]

UNICEF เผยเยาวชนไทย 1.4 ล้านคนเป็นกลุ่ม “NEET” ห่วงท้อแท้ เมินพัฒนาทักษะ

22 มีนาคม 2566 UNICEF จัดงานนำเสนอผลการศึกษางานวิจัยฯ เยาวชน NEET พบเยาวชนที่ว่างงานเกือบ 7 ใน 10 คนของประเทศไทย ขาดแรงกระตุ้นให้พัฒนาทักษะ พร้อมแนะแนวทางแก้ไขจากกลุ่มตัวอย่าง และองค์กรชั้นนำในประเทศไทย กรุงเทพฯ 22 มีนาคม 2566 — องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ประเทศไทย กระทรวงแรงงาน และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-ColLaR) จัดงาน การนำเสนอผลการศึกษา “งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Employment, Education, or Training: NEET) ในประเทศไทย” เพื่อร่วมแบ่งปันความรู้ในระดับประเทศเกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขเยาวชน NEET  นางคยองซัน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวเปิดงานและแสดงความห่วงใยปัญหา NEET ของเยาวชนไทยสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 15 ของเยาวชนไทยทั้งหมด รายงานพบปัจจัยหลักมาจากครอบครัว และสภาพจิตใจที่ส่งผลอย่างมากในปัจจุบัน พร้อมย้ำความตั้งใจที่จะร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรต่าง […]

...