ภูมิต้านภัย : ยกระดับปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ตำรวจสอบสวนกลาง จับมือเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ยกระดับการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก พร้อมเดินหน้าบูรณาการความร่วมือทุกภาคส่วน ตั้งเป้าลดคดีภัยไซเบอร์ 30-4% ภายใน 6 เดือน ร่วมสร้างภูมิต้านภัย

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ระวัง ! ตั้งโอนล่วงหน้า มุกใหม่โจรออนไลน์

25 มิถุนายน 2567 ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเตือนภัยพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้าที่ทำธุรกรรมโอนเงินออนไลน์ ช่วงนี้มีมิจฉาชีพมาใหม่ “หลอกโอนเงินโดยใช้วิธีตั้งโอนล่วงหน้า” โดยมีวิธีการดังนี้ 1.เลือกร้านค้าที่มีผู้ขายเป็นคนสูงวัย และตั้งสลิปเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อลวงให้อ่านเข้าใจยากมากขึ้น 2.หลอกว่าโอนเงิน ชำระค่าสินค้าเรียบร้อยแล้ว และมีการโชว์สลิปให้เห็นการโอน แต่จะใช้อุบายเลื่อนสลิปปกปิดไม่ให้เห็นคำว่าตั้งเวลาโอนเป็นเวลาในอนาคต (Scheduled Fund Transfer Succesful) ทำให้เข้าใจผิดว่าโอนสำเร็จ แต่ความจริงเงินยังไม่เข้าบัญชี (ซึ่งมิจฉาชีพจะทำการยกเลิกการโอนภายหลัง) ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอแนะนำวิธีการสังเกตหากมีการโอนผ่านธนาคาร และมีสลิปการโอน ดังนี้-เลื่อนดูสลิปทั้งใบ ถ้าหากโอนสำเร็จ จะมีคำว่า ”โอนเงินสำเร็จ (Transfer Successful)”-ตั้งค่าเตือนเพื่อแจ้งยอดเงินเข้าในระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าชำระเงินเข้าบัญชีแล้วจริงๆ หากพบธุรกรรมต้องสงสัย หรือผิดปกติ หรือต้องการแจ้งความ หรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับมิจฉาชีพในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนศูนย์ AOC 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง

โจรปลอมเอกสาร AIS อ้างยกเลิกเบอร์ พัวพันกับเว็บพนัน l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

17 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊ก AIS ประกาศเตือนระวังมิจฉาชีพปลอมแปลงเอกสารบริษัท ยืนยัน ! ไม่มีนโยบายแจ้งการดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายทุกรูปแบบ ในทุกช่องทาง จากกรณีที่ลูกค้าได้รับเอกสารแจ้งเตือนการยกเลิกสัญญา เนื่องจากมีการกล่าวอ้างว่าหมายเลขดังกล่าวได้การเข้าไปพัวพันกับการพนันออนไลน์และนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และจะถูกระงับการใช้งานภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีการแอบอ้างโดยใช้แบบฟอร์มและลงนามโดยผู้บริหารจาก AIS ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ลูกค้า นั้น AIS จึงขอแจ้งเตือนลูกค้า และประชาชน อย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงเอกสาร หรือ ข้อความที่ส่งต่อ โดยขอยืนยันว่า บริษัทไม่มีนโยบายในการส่งเอกสาร หรือ ข้อความในทุกช่องทาง ให้ดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายในทุกรูปแบบ รวมถึงจะไม่มีการทัก หรือ ติดต่อลูกค้าไปในทุกช่องทางเช่นกัน ดังนั้นหากพบเจอ เอกสาร หรือ ข้อความ ในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งมาได้ที่ AIS Spam Report Center 1185 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ระวัง ! เพจปลอมอ้างธนาคารกรุงเทพหลอกปล่อยสินเชื่อ l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

15 พฤษภาคม 2567 เพจเฟซบุ๊กของธนาคารกรุงเทพ ประกาศเตือนเพจเฟซบุ๊กปลอมและโฆษณาปลอม แอบอ้างเป็นธนาคารกรุงเทพ โดยใช้โลโก้ธนาคารและตั้งชื่อเพจให้คล้ายกับชื่อธนาคารหรือสื่อถึงธนาคาร หลอกปล่อยสินเชื่อ ชี้จุดสังเกตเพจเฟซบุ๊กของแท้ ต้องใช้ชื่อ “Bangkok Bank” สะกดถูกต้องทุกตัวอักษร และมีเครื่องหมายถูกสีฟ้าต่อท้ายชื่อเท่านั้น ธนาคารกรุงเทพ เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุเพื่อผู้ประสบภัยทางการเงินที่ได้รับผลกระทบจากมิจฉาชีพ ลูกค้าธนาคารที่ได้รับความเสียหายหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่ โทร 1333 หรือ 02-645-5555 กด *3 ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

เตือนภัย ! เว็บไซต์ปลอมแอบอ้าง UOB หลอกจ่ายบิลบัตรเครดิต  l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

15 พฤษภาคม 2567 เพจเฟซบุ๊กธนาคาร UOB ประกาศเตือนภัยเว็บไซต์ปลอม สร้าง QR CODE สำหรับชำระเงินบิลค่าบัตรเครดิต Citi และ UOB โดยเว็บไซต์ของจริง ต้องชื่อ www.uob.co.th เท่านั้น และไลน์ Official @UOBThai เท่านั้น  สำหรับลูกค้าธนาคาร UOB ที่ได้รับผลกระทบหรือต้องการแจ้งเหตุหลอกลวงทางการเงิน สามารถแจ้งได้ที่เบอร์สายด่วน 02 344 9555 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง  ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมทเสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : 2 พ.ค. 67 วันรหัสผ่านโลก ! รหัสผ่านของคุณปลอดภัยแล้วหรือยัง ?

ทุกวันนี้พาสเวิร์ดได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่การล็อกอินเข้าโซเซียลมีเดีย ช็อปปิ้งออนไลน์ ดูหนังผ่านแพลตฟอร์มสตรีมมิง โอนเงินผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทางดิจิทัลอีกหลายอย่าง ล้วนต้องใช้พาสเวิร์ดด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นการตั้งรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ดที่รัดกุมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่รู้หรือไม่ว่า รหัสผ่านที่คนใช้มากที่สุดในโลก และครองแชมป์ติดต่อกันหลายปี กลับเป็นตัวเลขเรียงต่อกัน อย่าง 123456 ซึ่งเป็นรหัสผ่านที่ทั้งจดจำง่ายและแฮกได้ภายในไม่ถึง 1 นาที ทำให้วันรหัสผ่านโลก ถือกำเนิดขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของการตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม และวันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate จะพาทุกคนไปรู้จักกับที่มาของวันพาสเวิร์ดโลกกันค่ะ จุดเริ่มต้นของวันพาสเวิร์ดโลก  วันพาสเวิร์ดโลก (World Password Day) เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2556 โดยบริษัท Intel จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีแรกของเดือนพฤษภาคม ในปีนี้ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เพื่อเน้นย้ำให้ทุกคนเห็นความสำคัญในการตั้งค่ารหัสผ่านที่ปลอดภัย เนื่องจากปัญหาภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลบัญชีรั่วไหล หรือการโดนแฮกบัญชีออนไลน์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จากรายงานของบริษัท NordPass (2023) เผยให้เห็นว่า  86% ของการโจมตีทางโลกไซเบอร์ได้มาจากข้อมูลส่วนตัวที่ถูกขโมยมา โดยมีทั้ง บัญชีธนาคารออนไลน์ อีเมล และรหัสผ่าน ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายบ่อยที่สุดบน Dark Web […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังอย่าเปิดภาพถ่ายแผ่นดินไหว จะโดนแฮกโทรศัพท์ใน 10 วินาที จริงหรือ ?

บทสรุป : ❌ ข้อความนี้เป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกัน แต่ไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหาย ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความเตือนดังกล่าวเป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกันในหลายเวอร์ชัน และไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหายแต่อย่างใด โดยเมื่อนำข้อความที่แชร์กัน ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และตรวจเทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ  ทั้ง News Checker Africa Check  และ NBC News  พบว่า มีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่พบหลักฐานว่ามีการแฮกในลักษณะดังกล่าว โดยปกติแล้วการรับส่งภาพ GIF หรือคลิปวิดีโอที่มองเห็นได้ทันที ผ่านทาง Line, Whatsapp, Facebook ไม่มีความเสี่ยงจากไวรัส แต่ที่มีความเสี่ยงไวรัส ฟิชชิง คือ ไฟล์ที่ไม่ใช่ภาพหรือคลิป เช่น .doc .pdf .exe มักส่งมากับอีเมล์ หรือ แอปพลิเคชัน โดยไม่มีที่มาที่ไป รวมถึงลิงก์เว็บไซต์ที่ต้องกดเข้าไปดูอีกที อาจมีการหลอกให้ดีใจ ตกใจ หรือทำให้เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ดังนั้นควรพิจารณาให้แน่ใจ ก่อนกดไฟล์หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว  19 เมษายน 2567 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย […]

สูงวัยใส่ใจวางแผนการเงิน ไม่ตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์

วันนี้นอกจากจะเป็นวันสงกรานต์ ยังเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว แต่ผู้สูงอายุ 97% ยังเป็นผู้มีศักยภาพ ขณะที่อายุยืนยาวขึ้น จึงเป็นวัยที่ต้องเตรียมรับมือความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน รวมถึงด้านการเงิน ที่ต้องการความรู้ความเข้าใจการบริหารเงินและป้องกันตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวง

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : ROMANCE SCAM ? — ภัยร้ายลวงใจ ในยุคดิจิทัล

7 มกราคม 2567  สิ่งนี้… เป็นภัยการหลอกลวงที่ใช้ความรัก เป็นเครื่องมือและสิ่งนี้… เคยเป็นคดีที่สร้างความเสียหายกว่า 190 ล้านบาทมาแล้ว คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ Romance Scam คือ การหลอกให้หลงรัก ใช้ความรักความเชื่อใจหรือความหวังของเหยื่อเพื่อแสวงหาประโยชน์ กลวิธีของมิจฉาชีพแก๊งโรแมนซ์สแกม มีดังนี้ Romance Scam หรือการหลอกให้รักออนไลน์ ใช้ความรัก ความเชื่อใจ หรือความอ่อนไหวของเป้าหมาย หลอกลวงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นความสัมพันธ์กับใคร โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ อย่าลืมฉุกคิดว่าเราอาจไม่ได้กำลังเป็นที่รัก แต่อาจตกอยู่ในกับดักของมิจฉาชีพก็เป็นได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 28 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยงเรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ด้านมืด ของ Generative AI ตอนที่ 1| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

25 ธันวาคม 2566 Generative Ai ที่ดูดีมีประโยชน์ ช่วนสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตเรา แต่รู้หรือไม่ว่า สิ่งนี้ ก็อาจมีภัยที่แอบแฝงมาโดยที่เราอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ มาร่วมเรียนรู้ภัยจากด้านมืดของ Generative Ai ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : สถิติเผยคนไทยโดนหลอกทางโทรศัพท์มากสุดในเอเชีย !

15 ธันวาคม 2566 Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) และองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก GASA (The Global Anti-Scam Alliance) จัดงานประชุมต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ครั้งแรก ของเอเชีย Anti-Scam Asia Summit (ASAS) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน เผยแพร่รายงานที่น่าเป็นห่วงว่าคนเอเชียส่วนใหญ่ มีความมั่นใจเกินไป ว่ารู้ทันกลโกงออนไลน์ สวนทางกับแนวทางที่มิจฉาชีพใช้เทคโนโลยี AI ทำให้การหลอกลวงมีความแยบยลและยากต่อการสังเกต โดยคนเอเชียมากกว่าครึ่งต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในขณะที่คนไทยยังถูกหลอก ทางโทรศัพท์มากที่สุดในเอเชีย ผ่านทางเฟซบุ๊ก ไลน์ และอีเมล มากที่สุด  รายงาน Asia Scam Report 2023 จัดทำโดย GASA และ Gogolook เผยว่าเอเชียกำลังเป็นเป้าหมายสำคัญของเหล่าอาชญากร ที่มีแนวโน้มใช้เทคโนโลยี AI สร้างเครือข่ายหลอกลวงได้ง่าย รวดเร็ว และดำเนินการในต่างประเทศเพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบ และจับกุม การประชุม ASAS จึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย […]

1 2 3 9
...