fbpx

[❌] แชร์ว่อนภาษาจีน เตือนห้ามเที่ยวไทย อ้าง 6 แสนคน โดนมอมยาลักพาตัว | ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand

26 เมษายน 2566ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand | ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องเมืองไทยตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ | ทำงานร่วมกับ Taiwan FactCheck Center ตามที่มีการแชร์เป็นภาษาจีน ทั้งแบบข้อความ และ คลิปวิดีโอ เตือนให้อย่าไปเที่ยวประเทศไทย เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวชาวเอเชียกว่า 600,000 คนถูกมอมยาและลักพาตัวไปสังหารและชำแหละอวัยวะนั้น บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รับการประสานตรวจสอบจาก Taiwan FactCheck Center หน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริงในไต้หวัน ระบุว่า พบข้อความแชร์คำเตือนห้ามไปเที่ยวประเทศไทย เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเอเชีย 600,000 คน ถูกมอมยาด้วยเครื่องดื่มในไทย และลักพาตัวหายไป พร้อมกับคลิปวิดีโอที่มีภาพสยดสยองของพฤติกรรมการชำแหละร่างมนุษย์นั้น ตรวจสอบข้อเท็จจริง : คดีลักพาตัวนักท่องเที่ยว ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.ต.ต.อภิชาติ สุริบุญญา รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ในฐานะโฆษกกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ได้รับการยืนยันว่า ข้อมูลที่แชร์กันในกลุ่มผู้ใช้ภาษาจีนดังกล่าว ที่ว่ามีนักท่องเที่ยวสูญหายมากกว่า 6 แสนคนนั้นไม่เป็นความจริงและไม่มีความเป็นไปได้ […]

[❌] นักเคลื่อนไหวชาวสเปนอ้าง ไทยใช้กฎหมาย “ตัดอัณฑะ” ลงโทษคดีข่มขืน | ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand

23 เมษายน 2566ชัวร์ก่อนแชร์ ABOUT🇹🇭Thailand | ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องเมืองไทยตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ | ทำงานร่วมกับ Juan Piero Solis จาก Verificador, La República เปรู ตามที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวสเปนคนหนึ่ง กล่าวในรายการโทรทัศน์เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ระบุว่า “ในประเทศไทย หากผู้ชายพยายามข่มขืน หรือ ข่มขืนผู้หญิง ชายคนนั้นจะถูกตัดอัณฑะ (physically castrated)” ซึ่งมีการแชร์และการปฏิสัมพันธ์บน Twitter Instagram และ Tiktok กว่า 20,000 ครั้งนั้น บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รับการประสานตรวจสอบจาก Verificador หน่วยตรวจยืนยันข้อมูล ของสื่อ La República ในประเทศเปรู ว่า มีการกล่าวอ้างที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย โดยมีนักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชื่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังข้าวยี่ห้อที่ไม่ควรซื้อ จริงหรือ ?

ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ | ชัวร์ก่อนแชร์ CLASSIC COLLECTION ตามที่มีการแชร์ ให้ระวัง “ข้าวหอมและไม่หอม ยี่ห้อที่ไม่ควรซื้อ เพราะมีอันตราย” นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ชุดข้อความดังกล่าวมีการเผยแพร่ส่งต่อกันตั้งแต่ปี 2556 สืบเนื่องมาจากกรณีเหตุการณ์ภายหลัง นายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ พิธีกรรายการ คนค้นฅน ได้โพสต์ข้อความบน Facebook ส่วนตัว เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ซึ่งมีเนื้อหาเตือนให้ระวังอันตรายข้าวจากโรงสีข้าวบางแห่ง และข้าวที่รับซื้อไปจำหน่าย ซึ่งในขณะนั้นทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง จนทำให้บริษัทและโรงสีข้าวที่ถูกกล่าวถึงออกมาตอบโต้และฟ้องร้องดำเนินคดี เว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ รายงานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงตราฉัตร แจ้งความดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ด้านเจ้าของโรงสีข้าวทรัพย์อนันต์ ได้เข้าแจ้งความที่ สภ.เมืองสุรินทร์ ขณะที่ บริษัท เอเชีย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนภัยร้อน 40-50 องศา อย่าดื่ม-อย่าอาบน้ำเย็นทันที จริงหรือ ?

ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์เตือนให้เตรียมรับมือกับอุณหภูมิ 40-50 องศา โดยเลี่ยงน้ำเย็นน้ำแข็ง เพราะจะทำให้เส้นเลือดปริแตก นั้น บทสรุป ⚠️ จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พ.อ.นพ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย อายุรแพทย์ โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายว่า เมื่ออากาศร้อน อุณหภูมิสูงขึ้น ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำเย็นจัดในปริมาณมากคราวเดียวอาจส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นกลไกการปรับตัวของร่างกายเพื่อรับกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “แต่ถามว่า จะถึงขั้นที่เส้นเลือดจะตีบขณะที่เป็นสโตรกไหม หรือว่า ที่บอกว่า เอาเท้าแช่น้ำ แล้วตาบอดนั้น ลักษณะนี้เกิดได้จริง แต่ว่าเกิดได้น้อย แต่มักเกิดกับคนไข้ที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดอยู่แล้ว เช่น คนที่มีหินปูนเกาะที่หลอดเลือด มีพวกเส้นเลือดสมองตีบบางส่วนอยู่แล้ว แล้วพอมันหดตัวลง การไหลของเลือดมันก็น้อยลง หรือกระทั่งที่ลูกตาก็เช่นกัน เส้นเลือดที่เลี้ยงลูกตา เล็กนิดเดียว พอหดตัวก็เกิด ตาบอดชั่วคราวได้ พอเส้นเลือดคลายตัวก็หาย ส่วนเรื่องเส้นเลือดแตก ก็เป็นกลไกตรงกันข้ามกัน เมื่อหดแล้วเกิดการคลายตัว ทำให้เส้นเลือดที่เปราะอยู่แล้ว เกิดการปริแตกง่ายเช่นกัน” พ.อ.นพ.วิริสสร […]

เปิดใจ อ.ปริญญา หอมเอนก เหยื่อรายแรกของแฮกเกอร์ 9Near | ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE

CyberAlert!🚨 โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ “ต้องขอบคุณ คุณแฮกเกอร์ ที่ให้เกียรติผมเป็นคนแรก” อ.ปริญญาเผยหลังข้อมูลถูกขึงสู่สาธารณะ โดนสายโทรเข้ากระหน่ำ ซ้ำโดนยิง SMS ด้วยบอต แนะแฮกเกอร์หันมาพูดคุย นำทักษะความเชี่ยวชาญที่มีกลับมาปกป้องคนไทยด้วยกัน ขณะที่หน่วยงานทุกแห่งควรเรียนรู้จากบทเรียนนี้ และยกระดับความปลอดภัยข้อมูลประชาชน จากกรณีแฮกเกอร์สร้างเว็บไซต์ 9Near.org โดยระบุว่ามีข้อมูลส่วนตัวหลุดรั่วของคนไทย 55 ล้านคน และขีดเส้นตาย 5 เมษายน 2566 เวลา 16.00 น. ให้หน่วยงานที่คิดว่าเป็นผู้ดูแลข้อมูลนั้นติดต่อกลับ ซึ่งล่าสุดเว็บไซต์ดังกล่าวถูกปิดกั้นโดยกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น พื้นที่ส่วนบนสุดของเว็บไซต์ แฮกเกอร์วางคลิปวิดีโอบทสัมภาษณ์ของ “อ.ปริญญา หอมเอนก” ซึ่งให้สัมภาษณ์กับสื่อแห่งหนึ่งเกี่ยวกับกรณีข้อมูลหลุด 55 ล้านคนดังกล่าว และด้านล่างวิดีโอยังมีข้อมูลส่วนบุคคล ทั้ง ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด หมายเลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ และ เบอร์โทรศัพท์มือถือ ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE สัมภาษณ์สด อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน […]

แฮกเกอร์ 9Near ประกาศ “OPERATION STOPPED” ยุติแผนเปิดข้อมูลส่วนตัวคนไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ กรุงเทพฯ 2 เม.ย. 66 – เมื่อเวลา 12.23 น. วันที่ 2 เมษายน 2566 ตัวแทนแฮกเกอร์ 9Near ประกาศผ่านข้อความซึ่งส่งในกลุ่มสนทนาของแอป Telegram ชื่อ 9Near.Aunouncement ซึ่งมีสมาชิกติดตามกว่า 2,200 ราย และเป็นกลุ่มที่ไม่อนุญาตให้มีการส่งข้อความใด ๆ ผู้ใช้งานชื่อ Smit Near ซึ่งเป็นเจ้าของกลุ่ม ได้ส่งข้อความเข้าในกลุ่มดังกล่าว โดยมีเนื้อหาสำคัญ ประกาศข่าวดีว่า “OPERATION STOPPED” as our sponsor conflict. ซึ่งหมายถึงว่า การปฏิบัติการได้หยุดลงแล้ว เนื่องจากความขัดแย้งไม่ลงรอยกับ “สปอนเซอร์” ของเรา เนื้อความซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ยังกล่าวถึงคนทั่วไปว่า พวกตนไม่ต้องการทำร้ายคุณทุกคน และเราไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติการทางการเมืองตามแผนการที่พวกเขาวางไว้ ซึ่งมันกำลังสกปรกยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เราจึงไม่มีเหตุผลใด ๆ […]

สุขสันต์ วันตรวจสอบข้อเท็จจริง 2 เมษายน 2566 | ชัวร์ก่อนแชร์

สุขสันต์ วันตรวจสอบข้อเท็จจริง 2 เมษายน 2566 | ชัวร์ก่อนแชร์

บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ สืบเนื่องจากกระแสทั่วโลกที่ “ข่าวปลอม” “ข่าวลวง” ข้อมูลเท็จโหมกระหน่ำ และ ลามไปถึงการหลอกลวงในรูปแบบภัยไซเบอร์ ซึ่งไม่เพียงสร้างความความเข้าใจผิดทางสุขภาพ การเมือง กฎหมาย ข่าวสาร  แต่ยังสร้างความเดือดร้อนถึงตัวตนและทรัพย์สินแก่ผู้คนมากมาย วันที่ 2 เมษายน 2566 จึงถูกกำหนดไว้ให้เป็น International Fact-Checking Day หรือ วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล ซึ่งวัตถุประสงค์ของการกำหนดวันนี้ขึ้นมา ก็ตรงไปตรงมาตามชื่อ นั่นคือ วันที่จะร่วมกันรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือ Fact-Checking หรือถ้าแปลเป็นไทยง่าย ๆ คือ การตรวจสอบข่าวปลอม การจับข่าวลวง เราจึงได้ยินการเรียกขานวันนี้ว่า “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” หรือแม้แต่ “วันชัวร์ก่อนแชร์” วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล นับเป็น “วันตั้งใหม่” เมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลของเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล (International Fact-Checking Network หรือ IFCN) บันทึกไว้ว่า วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล หรือ IFCD ถูกกล่าวถึงในการประชุมเครือข่ายเมื่อปี […]

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ถึงเวลาปัดฝุ่นฝีมือและวิจารณญาณกันอีกครั้ง เพื่อป้องกันภัยจากการหลอกลวงที่กำลังยกระดับไปอีกขั้น ในยุคที่ “คนร้าย” ร่วมมือกับ “เอไอ” เนื่องในวันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล 2 เมษายน 2566 “ชัวร์ก่อนแชร์” มีเทคนิคสั้นกระชับฉบับเข้าใจง่าย ทุกคนปฏิบัติได้มาฝากไว้ให้เป็นเคล็ดวิชาและวิธีคิดในการรับมือกับ ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ ที่มีอยู่ดาษดื่น เมื่อ “ข่าวปลอม” หล่อหลอมกับ “เอไอ” กลายเป็น “ภัยไซเบอร์” ที่ลึกล้ำ ย้อนไปในช่วงเริ่มต้น ไม่กี่ปีก่อนที่โลกนี้จะรู้จัก “ข่าวปลอม” แบบที่เรารู้จักกันอยู่ เรื่องราวของข้อมูลเท็จและคำลวงหลอก ถูกเผยแพร่ในรูปแบบ “ข่าวลือ” หรือเรื่องที่ “เขาเล่าว่า” ส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งปากต่อปาก ประชาคม หรือแม้กระทั่ง กระดานข่าว และ อีเมล แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทำให้คนเชื่อมต่อพูดคุยกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แบ่งกลุ่มลับได้ไม่จำกัด และการสร้างเนื้อหาทั้งข่าว ภาพ คลิป เผยแพร่สู่วงกว้าง เป็นไปได้โดยง่ายและราคาถูก ปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก จึงกลายเป็น […]

สรุปไทม์ไลน์ “ยุบสภา” 14 ครั้ง แห่งประวัติศาสตร์การเมืองไทย | ชัวร์ก่อนแชร์ เลือกตั้ง 66

สรุปไทม์ไลน์ “ยุบสภา” 14 ครั้ง แห่งประวัติศาสตร์การเมืองไทย | FACTSHEET

ชัวร์ก่อนแชร์ เลือกตั้ง 66 โดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ | กัญญาลักษณ์ ยอดเยี่ยมแกร, ปพิชยา นัยเนตร, พีรพล อนุตรโสตถิ์ การยุบสภาในวันที่ 20 มีนาคม 2566 นับเป็นการยุบสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งการยุบสภาในแต่ละครั้ง มีสาเหตุและบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ดังข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมมานำเสนอในบทความนี้ รู้จัก “ยุบสภา”          “ยุบสภา” หรือคำเต็มคือ การยุบสภาผู้แทนราษฎร ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Dissolution of Parliament หมายถึง การทำให้การดำรงสภาพของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันก่อนครบกำหนดตามวาระ โดยพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกาตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาพ้นจากตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อนำไปสู่จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่         ประเทศไทย เคยมีการประกาศ “ยุบสภา” มาแล้ว 15 ครั้ง โดยแบ่งเป็น การยุบสภาผู้แทนราษฎร 14 ครั้ง และ การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 1 ครั้ง การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ […]