สธ.วาง 4 แนวทางเพิ่มคุณภาพแพทย์จบใหม่

ปลัด สธ. ห่วงใยแพทย์ทำงานหนัก พร้อมวางแนวทาง 4 ข้อเพิ่มคุณภาพแพทย์ พร้อมเร่งผลิตเติมในระบบให้เพียงพอกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น

กรุงเทพฯ 21 พ.ค. – ปลัด สธ. ห่วงใยแพทย์และบุคลากรที่ทำงานหนักพร้อมวางแนวทาง 4 ข้อเพิ่มคุณภาพแพทย์ 
พร้อมเร่งผลิตเติมในระบบให้เพียงพอกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น


นพ.โสภณ เมฆธน
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)
ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาความขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทยว่า เป็นห่วง เห็นใจ และเข้าใจถึงความยากลำบากในการทำงานของแพทย์
และบุคลากรสาธารณสุขทุกคน พยายามทำงานเพื่อประชาชนให้ดีที่สุดภายใต้ทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด  ผู้บริหารทุกคน ได้เร่งแก้ปัญหา
ทั้งการปฎิรูประบบบริการ แผนพัฒนากำลังคน เชื่อมั่นว่าระบบสุขภาพของประเทศจะดีขึ้น
มีความสมดุลระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ


        

เบื้องต้นวางแนวทางการแก้ปัญหาในอนาคต
4 ข้อดังนี้ 1. มอบผู้ตรวจราชการ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร่วมหารือจัดเวลาทำงานให้เหมาะสมตามสภาพของโรงพยาบาล
และจำนวนผู้ป่วยหรือปริมาณงาน   
2.ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและผู้บริหารศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษา ดูแลแพทย์จบใหม่
อย่าให้รู้สึกโดดเดี่ยว ช่วยให้คำแนะนำเมื่อมีปัญหา รวมทั้งร่วมแก้ปัญหา  
3.เร่งรัดจัดทำระเบียบช่วยเหลือเบื้องต้นกับบุคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการให้บริการและเสนอให้มีระเบียบเยียวยาช่วยเหลือ
 และ  
4.พัฒนาระบบฉุกเฉินให้มีแพทย์สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินดูแลในห้องฉุกเฉิน

        


 “ปัญหาการขาดแคลนแพทย์มีมานาน และมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหามาโดยตลอด เมื่อ 20 ปีก่อน สัดส่วนแพทย์ 1 คนต้องดูแลประชากร
ถึง
5000 คน  แต่ในบางพื้นที่ต้องดูแลถึง1:30,000 คน จึงเกิดโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท  โดยตลอด 23 ปีของโครงการฯ เพิ่มแพทย์เข้าสู่ระบบได้มากถึง 7,000 คน ทำให้ปัจจุบันสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรในภาพรวมดีขึ้นเป็น 1 ต่อ 1,900 คน และบางพื้นที่อาจ 1:10,000 ซึ่งยังไม่เพียงพอตามภาระงานและจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น  ล่าสุดได้เพิ่มการผลิตแพทย์ ในโครงการฯจากปีละ 3,000 เป็นปีละ 3,200 คน  คาดว่าใน 10 ปีข้างหน้าจะมีแพทย์ต่อประชากร 1 ต่อ 1250 คนนพ.โสภณ  กล่าว

       

นอกจากจะเพิ่มจำนวนแพทย์แล้ว
สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือ มาตรฐานการรักษา  โดยเฉพาะในกลุ่มแพทย์จบใหม่ ซึ่งกระทรวงฯ
ได้ร่วมมือกับแพทยสภา  ดูแลแพทย์กลุ่มนี้เป็นพิเศษ
กำหนดให้มีหลักสูตร “แพทย์เพิ่มพูนทักษะ”
เพื่อให้แพทย์จบใหม่ทุกคนในประเทศไทย ผ่านหลักสูตรนี้เป็นระยะเวลา
1 ปี 
ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์พี่เลี้ยงและอาจารย์แพทย์
 นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการ ตรวจประเมินสถาบันและโรงพยาบาลที่ฝึกอบรมแพทย์กลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดทั้งในระดับเขตสุขภาพ
และในระดับโรงพยาบาลที่มีองค์กรแพทย์ ร่วมกันดูแลอย่างใกล้ชิด  เพื่อให้แพทย์จบใหม่ทุกคนมีทักษะ ประสบการการณ์
ให้บริการประชาชนด้วยความมั่นใจ และจะร่วมหารือแพทยสภา ราชวิทยาลัย
และคณะแพทย์เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ที่เหมาะสมต่อไป
. –สำนักข่าว

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง