“นิกร” ห่วงองค์ประชุมสภาฯ ชี้ยุบสภาไม่ได้อยู่ที่นายกฯ คนเดียว

กรุงเทพฯ 11 ธ.ค. – “นิกร” ห่วงองค์ประชุมสภาฯ ชี้ยุบสภาไม่ได้อยู่ที่นายกฯ คนเดียว เหตุสถานการณ์ในสภาฯ หากเป็นเสียงข้างน้อย ไม่อยากยุบก็ต้องยุบ


วันนี้ (11 ธ.ค.) นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ห่วงบรรยากาศสภาฯ ไม่แน่นอน เกรงอุบัติเหตุยุบสภา ให้ ส.ส.เร่งทำงาน ว่า ตนเห็นตรงกัน ซึ่งนายชวน เป็นประธานสภาฯ ก็ต้องห่วงงานของสภาฯ เป็นสภาวะที่น่าห่วงจริง ในขณะที่ ส.ส.เองก็ห่วงเรื่องการเมือง เพราะการเมืองคือการเมือง สภาคือสภา และเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งแล้ว ดังนั้น ในตัวสภาจึงจะมีปัญหา ซึ่งเราก็โทษ ส.ส.ไม่ได้ เพราะเขาก็ต้องเตรียมการเพื่อการเลือกตั้ง ส.ส.ที่อยู่ในพื้นที่ จึงต้องรักษาสถานะความเป็น ส.ส.ในการเลือกตั้งที่จะมาถึง

นายนิกร ยังกล่าวด้วยว่า ส่วน ส.ส.ที่กำลังคิดจะมีการเปลี่ยนแปลงในการย้ายพรรค ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่ครั้งนี้จะเกิดขึ้นมาก เพราะครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบกฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง จึงมีแรงส่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวย้ายพรรคกันมาก และมากกว่าปกติ ขนาดคนที่อยู่ในพรรคเดิมยังต้องออกไปหาเสียง แล้วนับประสาอะไรกับคนที่จะต้องเปลี่ยนพรรค ที่ต้องทำงานเป็นสองเท่า


นายนิกร กล่าวว่า การที่จะมี ส.ส. ลาออกกันเป็นจำนวนมาก จึงอาจเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งจะทำให้สภาฯ มีปัญหาเรื่ององค์ประชุม เมื่อทราบว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในการลาออกเพื่อไปเตรียมการในการเลือกตั้งในนามพรรคใหม่ จำนวน ส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลในสภาฯ จะลดลง ถ้ากึ่งหนึ่งก็พอประคองได้ แต่ถ้าฝ่ายรัฐบาลลดไปมากจะมีปัญหาเสียงของรัฐบาลจะไม่พอสู้กับฝ่ายค้าน จะลำบาก ปริ่มน้ำ ทำให้มีปัญหามากในสภาฯ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเองโดยที่คอนโทรลไม่ได้” นายนิกร กล่าว

นายนิกร กล่าวว่า ถ้าสภาฯ ยังล่มอยู่แบบนี้ การพูดถึงการยุบสภามันก็มี เพราะสภาฯ ไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น แต่จะมีปัญหาที่สาหัสอยู่มาก คือ กฎหมายลูก 2 ฉบับ ยังไม่ประกาศใช้ หากยุบสภาตอนนี้จะเกิดปัญหาตามมามาก เพราะฉะนั้นอาจจำเป็นต้องทำใจ ตอนนี้จึงต้องทนๆ กันไป ทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เท่าที่โอกาสและปัจจัยเป็นแบบนี้ เราระงับปัญหาไม่ได้ จึงต้องรอกฎหมายลูก 2 ฉบับก่อน

“ผมเป็นห่วงมาก ว่าสถานการณ์มันพร้อมจะยุบสภา แต่จะยุบเมื่อไหร่อาจจะไม่ได้อยู่ที่นายกฯ คนเดียวแล้ว อยู่ที่สถานการณ์ในสภาฯ ด้วย แม้ไม่อยากยุบก็ต้องยุบ ถ้าย้ายพรรค 2 ข้างพอๆ กัน เสียงของ ส.ส.ที่เอามานับก็ลดลงทั้งคู่ อันนี้เสมอกัน แต่กลัวว่าถ้าฝ่ายรัฐบาลย้ายมากกว่า เสียงฝ่ายค้านที่เคยอยู่แต่จะย้ายออกเหมือนพวกงูเห่า เมื่อไม่อยู่แล้วแกนเสียงก็จะเปลี่ยนไปทันที ถ้าฝ่ายรัฐบาลเป็นเสียงข้างน้อยแล้ว สภาฯ จะไปต่ออย่างไร สถานการณ์จึงคับขัน น่าห่วง อยากให้ทนๆ กันไป” นายนิกร กล่าว. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง