เร่งวิจัย “ฟ้าทะลายโจร” หวังต้านโควิด-19

กรุงเทพฯ 7 มี.ค. – ประชาชนแห่ซื้อสมุนไพร “ฟ้าทะลายโจร” หลังพบข้อมูลว่า น่าจะมีศักยภาพในการป้องกันเชื้อโควิด-19 งานวิจัยยังพบมีสารสำคัญ “แอนโดรกราโฟไลด์” ที่ป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ ก.สาธารณสุข เร่งวิจัยให้รู้ผลภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ 


แม้จะยังไม่ถึงเวลาจำหน่ายสมุนไพรฟ้าทะลายโจรแบบแคปซูล แต่ประชาชนก็มาต่อแถวรอรับบัตรคิว เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์จากฟ้าทะลายโจร ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี หลังมีข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขว่า สมุนไพรชนิดนี้น่าจะมีศักยภาพช่วยป้องกันไวรัสโคโรนา โดยตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว มีประชาชนวันละกว่า 100 คน มาซื้อฟ้าทะลายโจรแบบแคปซูลคนละหลายกล่อง จนสินค้าที่ถูกส่งมาที่นี่หลายพันกล่องต่อวัน หมดลงในเวลาไม่ถึงชั่วโมง


“ฟ้าทะลายโจร” เป็นสมุนไพรประจำถิ่นทั้งของไทยและจีน มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการไข้ เจ็บคอ และท้องเสีย เมื่อปี 2546 ช่วงที่โรคซาร์สระบาดในจีน มีการศึกษาวิจัยในหลอดทดลอง จนพบว่า ฟ้าทะลายโจรช่วยป้องกันไวรัสโคโรนา ที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส ซึ่งเป็นไวรัสตระกูลเดียวกับโควิด-19 เข้าสู่เซลล์ 


และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีงานวิจัยจากจีนที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ ที่นำสมุนไพรและยาต้านไวรัส 1,066 ชนิด มาทดสอบด้วยเทคนิคการจับกันของโมเลกุลยากับเชื้อโควิด-19 จนเหลือ 78 ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ฟ้าทะลายโจร ที่พบว่ามีบทบาทสำคัญในการจับกับเชื้อโควิด-19 

เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุว่า ฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญ 4 ชนิด ที่มีฤทธิ์รักษาโรค หนึ่งในนั้นคือ สารแอนโดรกราโฟไลด์ โดยเมื่อปี 2560 มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ พบว่า ช่วยป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ ลดการแบ่งตัวไวรัสภายในเซลล์ เพิ่มภูมิคุ้มกัน และลดการอักเสบที่ปอดจากการติดเชื้อไวรัส อีกทั้งยังพบสมุนไพรอย่าง “มะขามป้อม” ก็มีศักยภาพในการต้านเชื้อเช่นเดียวกัน

แม้มีการศึกษาจากจีนยืนยันว่า ฟ้าทะลายโจรมีศักยภาพช่วยยับยั้งไวรัสโคโรนาได้ แต่เป็นเพียงการทดลองในหลอดทดลองเท่านั้น ทำให้เมื่อกลางเดือนที่แล้ว กระทรวงสาธารณสุข เริ่มวิจัยฟ้าทะลายโจรเป็นยารักษาโควิด-19 โดยจะเริ่มต้นในหลอดทดลองในห้องปฏิบัติการ จากนั้นทดลองในสัตว์ ก่อนไปทดลองด้านคลินิกในมนุษย์ ซึ่งเป็นอาสาสมัคร 10 คน ให้กินฟ้าทะลายโจร ก่อนสกัดเซรุ่มไปใส่ในเชื้อโควิด-19 เพื่อดูว่าสามารถทำให้เชื้อตายได้หรือไม่ โดยจะใช้เวลาทดลอง 1 เดือน คาดว่าจะรู้ผลภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ 

และระหว่างที่ยังไม่ทราบผลการทดลอง คนทั่วไปที่ไม่ป่วย และไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก หรือผู้ที่ตั้งครรภ์ ก็สามารถกินฟ้าทะลายโจร ในปริมาณ 400 มิลลิกรัม หรือ 1 เม็ด วันเว้นวัน ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ในช่วงที่ยังพบการระบาดของโรค และยังไม่มียารักษา. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อขอให้ติดคุกจริง

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่น

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่นคนอายุ 60+ ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ว

“จิรายุ” ย้ำเงินหมื่นเฟส 2 มอบคนอายุ 60+ รัฐบาลพร้อมโอนไม่มีเปลี่ยนแปลงแล้ววันจันทร์ที่ 27 ม.ค.นี้แน่นอน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ววันนี้ ส่วนคนไม่มีสมาร์ทโฟนฝากลูกหลานช่วยด้วย

นายกฯหารือบริษัทยา

นายกฯ ถกบริษัทยา Astrazeneca พร้อมร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในไทย

บริษัทยาระดับโลก Astrazeneca หารือ นายกฯ ยืนยันไทยยังเป็นพันธมิตรที่ดีมายาวนาน พร้อมร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ นายกฯ มั่นใจการแพทย์ของไทยติดระดับในโลก ยืนยันหลายประเทศทั่วโลกบินมารักษาในประเทศไทยจำนวนมาก

ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 60 จังหวัด สูงต่อเนื่องถึง 27 ม.ค.

กรมควบคุมมลพิษ เผยวันนี้ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 60 จังหวัด สูงต่อเนื่องถึง 27 ม.ค. ประสานทุกหน่วยงานยกระดับการแก้ไขปัญหา พร้อมเตือนประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข