ถกหาทางออกวิกฤติฝุ่นพิษ ยังไม่หายจากเมืองกรุง

ลาดกระบัง 14 มี.ค.-สจล.ถกประเด็นทางออกวิกฤติฝุ่นPM 2.5 อย่างยั่งยืน เสนอรัฐห้ามรถปล่อยควันดำวิ่งในกรุงเทพฯชั้นใน จัดเก็บภาษีฝุ่นหยุดมลพิษ ชี้ปัญหาฝุ่นในเมืองกรุงยังเกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะป้ายรถเมล์ ใต้สถานีรถไฟฟ้า พร้อมออกแบบป้ายรถเมล์อัจฉริยะเตือนภัยฝุ่น-ฟังก์ชั่นเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณฝุ่น-พัดลมระบายอากาศ เตรียมทดลองใช้เร็วๆนี้


สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ สำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) คณะแพทยศาสตร์ สจล.และสถาบันนวัตกรรมชุมชนอัจฉริยะ (ISCI) จัดเสวนาทางออกปัญหาวิกฤติฝุ่นประเทศไทย เพื่อเปิดโรดแมปการคาดการณ์วิกฤติฝุ่นในรอบปี พ.ศ.2532 – 2563 เฉพาะจุดและโครงการออกแบบป้ายรถเมล์อัจฉริยะเตือนภัยฝุ่น พร้อมถกประเด็นความร้ายแรงของปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็กและเยาวชนระยะยาว โดยมีนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สจล.,นายประพัทธ์พงษ์ อุปลา ผอ.สำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) และนพ.อนันต์ ศรีเกียรติขจร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ สจล. ร่วมเสวนาเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาฝุ่นละอองพิษ PM2.5 


โดยเสนอให้ภาครัฐคุมเข้มเอาจริงกับรถที่ปล่อยควันดำห้ามเข้ามาวิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน เน้นรณรงค์ลดกิจกรรมก่อฝุ่น ลดยานพาหนะก่อฝุ่น เสนอรัฐจัดเก็บภาษีฝุ่นหยุดมลพิษ จากสาเหตุที่มาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองใหญ่ การก่อสร้าง ที่ก่อให้เกิดฝุ่น 


นอกจากนี้ สำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) สจล.ได้ออกแบบป้ายรถเมล์อัจฉริยะเตือนภัยฝุ่นละอองขนาดเล็กในเขตพื้นที่เมือง เตรียมเสนอรัฐบาลและ กทม.เร็วๆนี้ โดยการติดตั้งเครื่องวัดค่าฝุ่นและจอมอนิ เตอร์รายงานสภาพอากาศ พร้อมติดตั้งพัดลมไล่ฝุ่นเพื่อแจ้งเตือนประชาชนตามป้ายรถเมล์ กว่า 5,000 แห่งทั่วกรุงเทพฯ ให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น ซึ่งการลงพื้นที่ตรวจวัดค่าฝุ่น PM.2.5 ของทีมวิจัย สจล.พบว่า ป้ายรถเมล์และใต้สถานีรถไฟฟ้าสี่แยกไฟแดงบริเวณที่มีรถหนาแน่น โดยเฉพาะถนนสีลม สยามสแควร์ พญาไท และสะพานควาย ค่าฝุ่นยังเกินค่ามาตรฐาน เป็นอันตรายกับประชาชน โดยจะเริ่มทดลองใช้ในบริเวณพื้นที่ของสจล.ก่อนเป็นที่แรก 

นายสุชัชวีร์ กล่าวว่า จากปัญหาวิกฤติฝุ่นละอองพิษขนาดเล็กPM 2.5 ใน ช่วงที่ผ่านมานั้น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนที่อาศัยในเขตเมืองใหญ่ของประเทศ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และขอนแก่น แต่สาเหตุการเกิดปัญหาฝุ่นในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันจากรูปแบบการพัฒนาเมืองและวิถีชีวิตประชาชน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯที่พบว่าปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เป็นผลมาจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์และการก่อสร้างสาธารณูปโภคและอสังหาริมทรัพย์พร้อมกันในหลายโครงการ ปัญหาดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นมาจากการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มทารก เด็ก และเยาวชน ที่ต้องการการดูและเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายเจริญเติบโต 

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว คือการลดการก่อฝุ่นในเขตพื้นที่มีมลพิษ เช่น ใช้ตาข่ายกันพื้นที่ก่อสร้างเพื่อดักจับฝุ่นละอองในโครงการก่อสร้างสำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ประสบปัญหาฝุ่นละอองPM 2.5 ป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยชนิดN95 หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน เป็นการแก้ปัญหาฝุ่นละอองในระยะสั้น ,ลดใช้ยานพาหนะก่อฝุ่น การตรวจสภาพเครื่องยนต์ยานพาหนะขนส่งสาธารณะและยาน พาหนะอื่นๆให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และในระบบยานพาหนะของภาครัฐควรใช้ระบบการเช่ารถมากกว่าการจัดซื้อ เนื่องจากมีความคุ้มค่าในเรื่องการบำรุงรักษาและมุ่งปรับเปลี่ยนยานพาหนะสู่การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเขตเมือง เป็นการแก้ปัญหาระยะกลาง, ภาษีฝุ่นหยุดมลพิษ การใช้แนวคิดการใช้ภาษีสิ่งแวดล้อมจูงใจให้ทั้งผู้ประกอบการและประชาชน เพื่อลดการก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนการเสนอมาตรการเรียกเก็บภาษีมลพิษและจะออกมาบังคับใช้ในอนาคต ซึ่งรัฐบาลวางแผน การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในเชิงรุกระยะยาว และไม่ผลักภาระของต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพไปให้ประชาชน เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว

ด้านนายประพัทธ์พงษ์ กล่าวว่า สำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ ได้ออกแบบป้ายรถเมล์อัจฉริยะเตือนภัยฝุ่นละอองขนาดเล็กในเขตพื้นที่เมือง เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บริการขนส่งสาธารณะอย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และสามารถเฝ้าระวังจุดเสี่ยงโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการจราจรแออัด สำหรับการก่อสร้างป้ายรถเมล์อัจฉริยะเตือนภัยฝุ่นละอองขนาดเล็กจะประยุกต์จากจุดรอรถเมล์ที่มีอยู่โดยติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่นละอองและพัดลม เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 หากเซ็นเซอร์ตรวจจับแจ้งว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในบริเวณนั้นมีสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน ระบบพัดลมจะทำงานโดยอัตโนมัติ พร้อมติดตั้งป้ายแจ้งเตือนบอกคุณภาพอากาศโดยรวมของกรุงเทพฯ

 

ทั้งนี้ ป้ายรถเมล์อัจฉริยะเตือนภัยฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถพัฒนาและปรับปรุงต่อเพื่อให้เป็นสมาร์ท บัส สตอป (Smart Bus Stop) เช่น การมีฟังก์ชั่นเรียกรถพยาบาลหรือตำรวจ  จอป้ายแจ้งเตือนที่มีปฏิสัมพันธ์กับคน (Interactive Panels) เป็นต้น โดยสำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะได้พัฒนานวัตกรรมสมาร์ท ซิตี้ อื่นๆ ในการแก้ปัญหาสังคมเมือง เช่น การพัฒนาเอไอ (AI) ช่วยในการแก้ไขปัญหาจราจรแบบเรียลไทม์ บิ๊กเดต้า (Big Data) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร การสร้างแก้มลิงใต้ดินสำหรับรองรับน้ำท่วมกทม. เป็นต้น

สำหรับโรดแมปการคาดการณ์วิกฤติฝุ่นในรอบปี พ.ศ.2562 –2563 สำนัก วิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) ได้จัดตั้งศูนย์รวบรวมติดตามข้อมูลมลพิษทางอากาศและวางแผนการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยทีมอาสาสมัครสม็อคแมน (SMOG Man) เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 แบบเรียลไทม์เฉพาะจุด รวมทั้ง การพัฒนาระบบการตรวจวัดฝุ่นละอองในแต่ละที่ตั้งเป้านำร่องสถานศึกษาทั่วกรุงเทพฯ โดยเขตลาดกระบังจะเป็นพื้นที่แรกในการเก็บสถิติเพื่อคาดการณ์ปริมาณฝุ่นละอองภายในเดือนก.ค.2562 ซึ่งแนวโน้มปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี จากการพัฒนาโครงการก่อสร้างต่างๆ ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปริมาณยานพาหนะบนท้องถนน และความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจากภาวะโลกร้อน ข้อมูลการพยากรณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในอนาคต จะได้รับการรายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านเฟซบุ๊ค SCiRA KMITL ด้วยการใช้เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศแบบเฉพาะจุดที่จะเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์ 

นพ.อนันต์ กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กPM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว คือกลุ่มทารก เด็ก และเยาวชน ที่มีกว่า 1,700,000 คน ที่อาศัยหรือเรียนในเขตพื้นที่กรุงเทพฯและเด็กอีกกว่า 2,500,000 คนในเขตเมืองใหญ่ ทั้งเชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี แพร่ ลำปาง เป็นต้น ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 โดยกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มที่เดินทางด้วยรถสาธารณะเป็นส่วนใหญ่และหน้ากากอนามัยN95 ที่ใช้ป้องกันฝุ่นนั้นไม่ได้ออกแบบให้รับกับสรีระใบหน้าของเด็กส่งผลให้ป้องกันได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพอาจก่อ ให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด โรคทางสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งถือเป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคตทางอ้อม .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้โรงอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

เพลิงไหม้โรงงานอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่เร่งนำรถดับเพลิงเข้าระงับเหตุ เพื่อควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้

พุ่งไม่หยุดราคาทองคำโลกนิวไฮอีก คาดไปต่อถึง 3 พันดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งแตะ 2,800 ดอลลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ นักวิเคราะห์คาดมีโอกาสพุ่งต่อถึง 3,000 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่งผลราคาทองไทยวันนี้ขึ้นต่อจากราคาปิดวานนี้ และทำนิวไฮเท่าวานนี้

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงทำเนียบขาว 2024 : คอมมาลา แฮร์ริส

รายงานศึกชิงทำเนียบขาว 2024 พาไปรู้จักกับนางคอมมาลา แฮร์ริส ที่เพิ่งได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต ไม่กี่เดือนก่อนเลือกตั้ง เปรียบเหมือนการเปลี่ยนม้าใหม่กลางศึก หากชนะได้เธอจะกลายเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐด้วย

เปิดโครงการ “เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต” ครั้งที่ 10

นายกฯ ควง “คุณหญิงพจมาน-ครอบครัว” นำ ครม.-ประชาชน ร่วมโครงการเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สาว อบต.ตกใจ ตำรวจตามรอยเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน

สาว อบต. ตกใจ ตำรวจมาถึงที่ทำงาน ถามถึงเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน ยันไม่เคยรู้จัก “มาดามอ้อย-ทนายตั้ม” มาก่อน