จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 18 ต.ค.-ประธานบอรด์ องค์การเภสัชกรรม หวังปลดล็อคกัญชาได้โดยเร็ว หลัง รองนายกรัฐมนตรี เตรียมส่งเรื่องหารือพรุ่งนี้ คาดหากสำเร็จเดินหน้าผลิตสารสกัดกัญชา ใช้ทางการแพทย์ได้ พ.ค. ปี 62 ใช้รักษา 4 โรค หลัก มะเร็ง ลมชัก อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน ส่วนการควบคุมใช้มาตรฐานเดียวกับมอร์ฟีน
นพ.โสภณ เมฆธน ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า หลังจากทราบข่าวว่า ในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เตรียมหารือกับนายกรัฐมนตรี หลังมีการประชุมแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยคาดว่า อาจมีการหยิบยกเรื่องของกัญชาด้วย ส่วนแนวทางการปลดล็อคกัญชาจะเป็นอย่างไร มีได้ตั้งแต่ ใช้ ม.44 หรือ ยกร่างกฎหมายใหม่ หรือแก้แต่ประกาศแก้ในประกาศของกระทรวงสาธารณสุขให้กัญชา มาอยู่ในบัญชียาเสพติดประเภท 2 เช่นเดียวกับมอร์ฟีน ใช้ทางการแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควบคุม
นพ.โสภณ กล่าวว่า อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องทำให้สารสกัดจากกัญชาหลุดจากบัญชียาเสพติด เพื่อให้สามารถใช้ในการรักษาโรค 4 ชนิด มะเร็ง ลมชัก อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โดยสารสกัดจากกัญชา มีสารสำคัญ 2 ชนิด THC :Tetrahydrocannabinol ออกฤทธิ์ กับระบบประสาท กระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารโดปามิน ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และยังมีฤทธิ์หลอนประสาท มีปรโยชน์ทางการแพทย์ระงับอาหารปวด แก้คลื่นไว้อาเจียน ทำให้หลับง่าย ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า ขณะที่ สาร CBD : Cannabidol ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท มีส่วนช่วยการลดการคิดผิดปกติ ลดความกังวล ในทางการแพทย์ ใช้ระงับการปวด ช่วยลดการอักเสบ ลดความกังวล
รศ.ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล อดีตผอ.ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติ กล่าวว่า ในต่างประเทศมีการใช้สารสกัดกัญชากันอย่างแพร่หลายใน สหรัฐอเมริกา 30 รัฐ ใช้เพื่อการแพทย์ ขณะที่ 9 รัฐ ใช้เพื่อสันทนาการ และพบว่า มีการใช้กัญชาเป็นส่วนผสมในอาหารเสริม หรือแม้แต่อาหารสุนัข เพื่อให้สุนัขไม่เครียด จากข้อมูลไม่เคยพบว่า กัญชาเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ขณะเดียวกัน ในฐานะที่ตนเป็นคณะกรรมการร่วมในการศึกษาวิจัยสารสกัดจากกัญชา หากสามารถปลดล็อคเตรียมปลูกทดลองกัญชาแบบอากาศไร้ดิน เนื่องจากกัญชาดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี อาจทำให้ไม่สามารถคงคุณภาพของสารสกัดได้ในปริมาณที่เหมาะสม .-สำนักข่าวไทย