ที่มานายกรัฐมนตรีตามกฎหมายใหม่

กทม. 19 ก.ย. – ถึงเวลาที่ต้องจับตามองการเมืองเป็นพิเศษ เมื่อ คสช.เริ่มคลายล็อกให้พรรคการเมืองแล้ว เป็นสัญญาณว่าช่วงเวลาของการเลือกตั้งเดินเข้ามาใกล้ทุกขณะ แต่หลายคนยังสงสัยว่า  หลังการเลือกตั้งในปีหน้านี้ นายกรัฐมนตรีจะมีที่มาอย่างไรบ้าง ติดตามจากรายงานของทีมข่าวการเมือง



ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตรียมประกาศท่าทีในเส้นทางการเมืองหลังกฎหมายลูกมีผลบังคับใช้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน


ทั้งนี้ ที่มาของนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านๆ มา ในเรื่องช่วงเวลา ซึ่งช่วงเวลาปกติกำหนดไว้ว่า ในการเลือกตั้ง ส.ส.ที่กำลังจะมีขึ้น กำหนดให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองนั้นๆ มีมติว่าจะเสนอให้ ส.ส. พิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 รายชื่อ โดยแจ้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และให้ กกต.ประกาศรายชื่อให้ประชาชนทราบ เมื่อเลือกตั้งจนกระทั่งได้จำนวน ส.ส.ครบแล้ว ส.ส.ทั้งหมดก็จะให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี 

แต่สำหรับ 5 ปีแรกนับตั้งแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรก การให้ความเห็นชอบจะต้องดำเนินการในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา 750 คน ประกอบด้วย ส.ส.500 คน และ ส.ว. 250 คน โดยมติเห็นชอบจะต้องมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด คือตั้งแต่ 376 เสียงขึ้นไป 


แต่ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ให้สมาชิกทั้งสองสภารวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง จากนั้นให้ประธานรัฐสภาจัดประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เพื่อให้ยกเว้นได้ แล้วจึงกลับมาเลือกนายกรัฐมนตรีแบบเปิดกว้าง นั่นหมายถึงจะเลือกบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง หรือจะเลือกบุคคลภายนอกก็ย่อมได้ โดยมติที่เห็นชอบต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด

ย้ำว่าการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกันของ ส.ส.และ ส.ว. จะดำเนินการแค่ในช่วง 5 ปีแรกหลังการเลือกตั้งเท่านั้น หากรัฐสภาชุดแรกนี้อยู่ครบวาระ 4 ปี เท่ากับว่าต้องใช้วิธีการนี้ 2 สมัย หลังจากนั้นก็จะกลับมาใช้รูปแบบเดิม ที่ให้ ส.ส.เป็นผู้เสนอชื่อและเลือกนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม. – สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง