fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PATHOLOGICAL LIAR? — ติดโกหก มโนเก่ง จนเป็นโรค โดยไม่รู้ตัว !

30 มีนาคม 2567 สิ่งนี้…เป็นอาการผิดปกติทางจิต ที่ทำให้พูดโกหกเรื่อย ๆ จนคิดว่า เรื่องนั้นเป็นเรื่องจริง และสิ่งนี้… ถูกกระตุ้นให้เกิดมากยิ่งขึ้นในปัจจุบันจากโลกโซเชียลมีเดีย คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล PATHOLOGICAL LIAR คืออะไร ? คือ การหลอกตัวเอง สร้างเรื่องโกหกเพื่อเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง เพื่อสร้างความประทับใจต่อผู้อื่น สาเหตุของการหลอกตัวเอง มักจะเกิดจาก “ปม” ในอดีต พฤติกรรมนี้ทำไปเพื่อการปรับตัวและการอยู่รอดของมนุษย์ เมื่อทำบ่อย ๆ ก็จะเริ่มเกิดความเคยชิน และสิ่งที่อันตราย คือ จะเริ่มแยกไม่ออกว่าเรื่องไหนคือเรื่องจริง เรื่องไหนคือเรื่องโกหก ปัจจุบันโซเชียลมีเดีย ทำให้ผู้คนติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้เกิดการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นเช่นกัน หลายคนจึงสร้างตัวตนที่สมบูรณ์แบบขึ้นมา เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ตัวเองขาด ดังนั้นการโกหกอาจไม่ใช่วิธีที่ดีในการสร้างความสุข และยังอาจส่งผลกระทบกลับมาทำร้ายตัวเองได้ ดังนั้นการเปิดใจและยอมรับการเป็นตัวของตัวเอง ไม่หลอกลวง จะส่งผลในทางที่ดีกว่า สัมภาษณ์เมื่อ : 7 มีนาคม […]

สหรัฐสอบซีอีโอโซเชียลเรื่องเด็กตกเป็นเหยื่อทางเพศ

วอชิงตัน 1 ก.พ.- ผู้บริหารของโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ ถูกเรียกตัวไปพบคณะกรรมาธิการวุฒิสภาสหรัฐที่กำลังตรวจสอบกรณีเด็กตกเป็นเหยื่อทางเพศ คณะกรรมาธิการวุฒิสภาสหรัฐได้เรียกตัวนายมาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอของเมตา (Meta) เจ้าของเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม พร้อมกับซีอีโอของติ๊กต๊อก (TikTok) สแนป (Snap) ดิสคอร์ด (Discord) และเอ็กซ์ (X) หรือทวิตเตอร์เดิม เข้าให้ปากคำ ตอบคำถามเป็นเวลาหลายชั่วโมง มีการซักถามอย่างเผ็ดร้อนในประเด็นที่มีเยาวชนตกเป็นเหยื่อการหาประโยชน์ทางเพศผ่านโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะมาตรการในการป้องกันเด็กๆ คณะกรรมาธิการได้นำวีดีโอที่เหยื่อของโลกออนไลน์ให้การเอาไว้ว่าตกเป็นเหยื่ออย่างไร  จากนั้นได้ตั้งคำถามเรื่องการป้องกันเยาวชนจากการล่วงละเมิดออนไลน์ บางครั้งยังได้กล่าวว่า ซีอีโอเหล่านี้มือเปื้อนเลือด เพราะโซเชียลเป็นเหตุให้คนเสียชีวิต  ระหว่างนั้นบรรดาผู้ปกครองหลายสิบคนที่เข้าร่วมรับฟังได้แสดงอารมณ์ร่วมโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงแสดงความไม่พอใจหรือปรบมือ นายโช ซื่อ ชิว ซีอีโอของติ๊กต๊อกได้กล่าวตอนหนึ่งว่า เขาเป็นพ่อลูก 3 ที่เข้าใจดีว่า ปัญหานี้เป็นเรื่องร้ายแรงสำหรับผู้ปกครองทุกคน และยอมรับว่า ลูกของเขาเองไม่ได้ใช้ติ๊กต๊อก ขณะที่นายซัคเคอร์เบิร์ก ซึ่งขึ้นให้การในรัฐสภาเป็นครั้งที่ 8 แล้ว ถูกตั้งคำถามมากที่สุด เช่น เหตุใดจึงมีคำเตือนผู้ใช้ว่า อาจได้เห็นเนื้อหาเกี่ยวกับการละเมิดทางเพศ แต่กลับไม่กำจัดออกไปจากสื่อเลย ช่วงหนึ่งเขาได้หันไปหาครอบครัวของเหยื่อ และกล่าวขอโทษกับสิ่งเลวร้ายที่พวกเขาต้องประสบ ไม่มีใครควรได้รับสิ่งที่พวกเขาต้องทนทุกข์ ส่วนที่ด้านนอกอาคาร บรรดาผู้ปกครองได้ร่วมกันประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ออกกฎหมายเพื่อให้บริษัทเหล่านี้รับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น  เช่น […]

อินโดนีเซียสั่งห้ามซื้อ-ขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย

อินโดนีเซียสั่งห้ามการซื้อ-ขายสินค้าผ่านทางแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ ในขณะที่รัฐบาลมีเป้าหมายในการควบคุมการซื้อ-ขายโดยตรงของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่เนื่องจากส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กจำนวนหลายล้านบริษัท

ทวิตเตอร์จะเปลี่ยนชื่อเป็น “เอ็กซ์” พร้อมเปลี่ยนโลโก้

อีลอน มัสก์ เจ้าของทวิตเตอร์กล่าววานนี้ว่า ทวิตเตอร์จะเลิกใช้โลโก้นกสีฟ้าและจะรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เอ็กซ์” พร้อมกับจะเร่งมุ่งหน้าไปสู่ธุรกิจการชำระเงิน การธนาคารและการพาณิชย์ด้วยความรวดเร็ว

เผยประชากรโลกกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ใช้โซเชียลมีเดีย

เคพิออส บริษัทที่ปรึกษาด้านดิจิทัลกล่าวในรายงานรอบไตรมาสฉบับล่าสุดว่า ประชากรโลกเกือบ 5 พันล้านคน หรือ กว่าร้อยละ 60 ใช้งานโซเชียลมีเดีย หรือ สื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากเมื่อปีที่แล้ว

BAY แจงข่าวลูกค้าเงินฝาก Kept ถูกแฮก

กรุงเทพฯ 28 มี.ค.-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ชี้แจงกรณีมีผู้โพสต์ลงโซเชียลมีเดียว่าถูกลักลอบถอนเงินฝากดิจิทัลอยู่ในแอปพลิเคชัน Kept by krungsri กว่า 3 แสนบาท ธนาคารยยืนยันว่าลูกค้าทำธุรกรรมด้วยตัวเอง ระบบของธนาคารไม่ได้ถูกแฮ็ก 

สีสันผู้สมัครสายกิน

การเลือกตั้งรอบนี้ ทุกพรรคการเมืองมุ่งเน้นไปที่คนรุ่นใหม่ไฟแรง จึงไม่แปลกที่นักการเมืองจะหันมาใช้พื้นที่โซเชียลมีเดียเพื่อหาเสียงเข้าถึงตัวผู้มีสิทธิในรูปแบบน่ารักๆ มากขึ้น

ศรีลังกาห้ามเจ้าหน้าที่รัฐแสดงความเห็นในโซเชียลมีเดีย

โคลัมโบ 28 ก.ย. – รัฐบาลศรีลังกาสั่งห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐแสดงความคิดเห็นในสื่อโซเชียลมีเดีย หลังมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนโพสต์อ้างว่า มีเด็กนักเรียนหลายคนเป็นลมที่โรงเรียนเพราะปัญหาขาดแคลนอาหารที่เป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ กระทรวงบริหารจัดการสาธารณะของศรีลังการะบุในแถลงการณ์วันนี้สั่งห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐแสดงความคิดเห็นในสื่อโซเชียลมีเดีย เจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวจะถูกลงโทษทางวินัย คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐราว 1.5 ล้านคนให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว คำสั่งล่าสุดนี้ยังมีขึ้นหลังจากที่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและคุณครูในพื้นที่ชนบทของศรีลังกาออกมาอ้างว่า มีเด็กนักเรียนหลายสิบคนเป็นลมที่โรงเรียนเพราะปัญหาขาดแคลนอาหาร ในขณะเดียวกัน นายเคเฮลิยา รัมบุคเวลลา รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของศรีลังกา ปฏิเสธว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง ทั้งยังระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบางกลุ่มที่ต้องการประโคมปัญหาขาดแคลนอาหารให้รุนแรงเกินจริงเพื่อหวังผลทางการเมือง อย่างไรก็ดี โครงการอาหารโลก ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ระบุในรายงานล่าสุดว่า มีชาวศรีลังกา 6 ล้านคน หรือราวร้อยละ 33 จากประชากรทั้งหมด 22 ล้านคน ต้องเผชิญกับภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารและต้องได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งนี้ ชาวศรีลังกาต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 หลังรัฐบาลศรีลังกาประสบปัญหาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศเพื่อนำเข้าสินค้าจำเป็น. -สำนักข่าวไทย

เตือนอย่าเผยแพร่ 5 ข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญในโซเชียล เสี่ยงถูกจารกรรมจากมิจฉาชีพ

เตือนประชาชนระมัดระวัง อย่าเผยแพร่ 5 ข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญในโซเชียลมีเดีย เสี่ยงเกิดการรั่วไหลถูกจารกรรมจากมิจฉาชีพ สูญเสียเงินและทรัพย์สิน

เผยเฟซบุ๊กวางแผนเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่

วอชิงตัน 19 ต.ค. – เดอะเวิร์จ เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ของสหรัฐ รายงานว่า เฟซบุ๊ก อิงค์ สื่อโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ กำลังวางแผนปรับภาพลักษณ์องค์กร หรือรีแบรนด์ ด้วยการเปลี่ยนชื่อใหม่ในสัปดาห์หน้า เดอะเวิร์จรายงานอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดประเด็นดังกล่าวว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอของเฟซบุ๊ก วางแผนที่จะหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อใหม่ในการประชุมประจำปีของบริษัทในวันที่ 28 ตุลาคมนี้ แต่อาจจะเปิดเผยเรื่องดังกล่าวได้เร็วกว่านั้น ทั้งยังระบุว่า เฟซบุ๊กอาจจะใช้กลยุทธ์รีแบรนด์เพื่อควบรวมแอปพลิเคชั่นโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของเฟซบุ๊ก เช่น อินสตาแกรม วอทส์แอป โอคูลัส และอื่น ๆ ให้อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทแม่ อย่างไรก็ดี สำนักข่าวรอยเตอร์สยังไม่สามารถติดต่อเฟซบุ๊กเพื่อขอความเห็นในประเด็นดังกล่าวได้ในทันที ข่าวการเปลี่ยนชื่อของเฟซบุ๊กมีขึ้นในขณะที่บริษัทกำลังถูกตรวจสอบอีกครั้งในประเด็นอื้อฉาวที่เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น ฟรานเซส ฮาวเกน อดีตผู้จัดการฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ของเฟซบุ๊ก ที่ให้การต่อคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาสหรัฐว่าเฟซบุ๊กให้ความสำคัญต่อผลกำไรมากกว่าความปลอดภัยของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ เฟซบุ๊กยังเผยเมื่อวันจันทร์ว่า บริษัทต้องการจ้างพนักงาน 10,000 คนทั่วทวีปยุโรปเพื่อช่วยสร้างเทคโนโลยีเมทาเวิร์ส (metaverse) ซึ่งเป็นโลกดิจิทัลที่ทุกคนสามารถโต้ตอบกันได้ในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง.-สำนักข่าวไทย

แจงปมมอบ ‘ไฟเซอร์’ เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน

รองโฆษกรัฐบาล แจงประเด็นโซเชียลมีเดียวิจารณ์รองนายกฯ “อนุทิน” กรณีมอบวัคซีนไฟเซอร์ จังหวัดนครสวรรค์ เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน

1 2 3 5
...