สธ. เข้าร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 75

กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 75 (WHA75) ภายใต้หัวข้อ “Health for Peace and Peace for Health” ชี้นโยบายประเทศไทยดูแลทั้งสุขภาพกายและจิตใจเพราะ “ความเข้มแข็งทางใจ ทำให้ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ได้”

ยูเอ็นจะลงมติในวันนี้เรื่องคว่ำบาตรเกาหลีเหนือเพิ่ม

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะลงมติในวันนี้ในเรื่องที่สหรัฐพยายามผลักดันให้เพิ่มมาตรการลงโทษเกาหลีเหนือ จากการที่เกาหลีเหนือกลับไปทดสอบยิงขีปนาวุธทิ้งตัวอีกครั้ง ในขณะที่จีน ซึ่งมีอำนาจยับยั้งมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ระบุว่า ความพยายามของสหรัฐไม่ช่วยแก้ปัญหาใด ๆ

“สี จิ้นผิง” คุยกับข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนระหว่างเยือนจีน

ปักกิ่ง 25 พ.ค. – ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พูดคุยผ่านระบบวิดีโอกับนางมิเชล บาเชเลต์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในระหว่างที่นางบาเชลต์เยือนจีนเป็นเวลา 6 วัน ซึ่งรวมถึงการลงพื้นที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ที่จีนถูกกล่าวหาว่าควบคุม ทารุณ และบังคับใช้แรงงานชาวมุสลิมอุยกูร์โดยผิดกฎหมาย ประธานาธิบดีสีกล่าวกับนางบาเชเลต์ว่า การพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของจีนมีความเหมาะสมภายใต้เงื่อนไขของประเทศ เขามองว่าสิทธิมนุษยชนด้านการดำรงชีพและการพัฒนาเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศชาติ การเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงและการลอกเลียนตัวแบบสถาบันจากประเทศอื่นไม่เพียงทำให้เกิดความไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น แต่ยังก่อให้เกิดผลร้ายตามมาอีกด้วย ท้ายที่สุด ประชาชนจำนวนมากก็จะได้รับความเดือดร้อน ในขณะเดียวกัน นางบาเชเลต์ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า การได้พบกับประธานาธิบดีสีถือเป็นโอกาสอันล้ำค่าที่ทำให้เธอเปิดใจพูดเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนในจีนได้โดยตรง เธอยังได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาในด้านดังกล่าวว่าต้องอาศัยสันติภาพและความปลอดภัยที่ยั่งยืน โดยยึดแกนหลักในด้านสิทธิมนุษชน ความยุติธรรม และการมีส่วนร่วมโดยไม่มีข้อยกเว้น อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์หลายรายไม่เชื่อว่า จีนจะอนุญาตให้นางบาเชเลต์เข้าไปประเมินสภาพแวดล้อมด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างเต็มที่ในเขตซินเจียงอุยกูร์ เนื่องจากกระทรวงต่างประเทศจีนระบุว่า การเดินทางเยือนจีนของนางบาเชเลต์เป็นไปตามแนวทางควบคุมแบบปิดเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ด้านนายเนด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ เผยว่า การเดินทางเยือนจีนของนางบาเชเลต์ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวถือเป็นความผิดพลาดอย่างมาก.-สำนักข่าวไทย

ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนยูเอ็นจะเยือนเขตซินเจียงของจีน

ปักกิ่ง 23 พ.ค. – นางมิเชล บาเชเลต์ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จะเริ่มต้นภารกิจเยือนจีนในวันนี้เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นคนแรกที่เดินทางเยือนจีนในรอบเกือบ 20 ปี แหล่งข่าวไม่เผยนามด้านการทูตของจีนระบุว่า นางบาเชเลต์ ซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีชิลี มีกำหนดเข้าร่วมประชุมแบบเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์กับคณะทูตราว 70 คนในวันนี้ จากนั้น เธอจะเดินทางไปยังนครอุรุมชีและเมืองคัชการ์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ รวมถึงนครกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน ขณะที่สำนักงานของนางบาเชเลต์ระบุว่า นางบาเชเลต์จะพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนหลายคน องค์กรภาคสังคม ตัวแทนธุรกิจ และนักวิชาการ ทั้งนี้ การเดินทางเยือนจีนของนางบาเชเลต์มีขึ้นในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกกล่าวหาว่า คุมขังชาวมุสลิมอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยมุสลิมอื่น ๆ ไว้ที่ค่ายปรับทัศนคติในเขตซินเจียงมาเป็นเวลานานหลายปี จีนให้เหตุผลว่าเป็นการปราบปรามด้านความมั่นคง ขณะที่สหรัฐระบุว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่จีนปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่าเป็นเรื่องโกหกครั้งใหญ่ ในขณะเดียวกัน นายเนด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเดินทางเยือนจีนของนางบาเชเลต์ว่า สหรัฐไม่ได้คาดหวังว่าจีนจะอนุญาตให้นางบาเชเลต์สามารถประเมินสภาพแวดล้อมด้านสิทธิมนุษยชนในเขตซินเจียงโดยสมบูรณ์และไร้การควบคุมจากรัฐบาลจีน. -สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นเตือนสงครามยูเครนอาจก่อปัญหาขาดแคลนอาหารทั่วโลก

นิวยอร์ก 19 พ.ค. – องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เตือนว่า การบุกโจมตียูเครนของรัสเซียอาจทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหารทั่วโลกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็น กล่าวในนครนิวยอร์กของสหรัฐเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า สถานการณ์ขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนทำให้ประชากรหลายสิบล้านคนทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ภาวะอดอยาก และภาวะข้าวยากหมากแพง ถ้าทุกคนร่วมมือกัน ทั่วโลกก็จะมีปริมาณอาหารเพียงพอ แต่ถ้ายังไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวได้ ก็จะต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนอาหารทั่วโลกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า นายกูเตอร์เรสยังเตือนว่า ไม่มีวิธีใดที่จะแก้ปัญหาวิกฤตอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากยูเครนยังไม่สามารถผลิตอาหารเพื่อส่งออกสู่ตลาดโลก ซึ่งรวมถึงการผลิตปุ๋ยจากรัสเซียและเบลารุส ทั้งยังระบุว่า ขณะนี้เขากำลังติดต่อรัสเซียกับยูเครนเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างจริงจัง รวมถึงสหรัฐและสหภาพยุโรป หรืออียู เพื่อหาทางฟื้นฟูการส่งออกอาหารให้กลับคืนสู่ระดับปกติ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 30 ขณะที่ยูเครนได้รับสมญานามว่าเป็น ตะกร้าขนมปังของโลก (world’s bread basket) โดยส่งออกผลผลิตทางการเกษตรได้มากถึงเดือนละ 4.5 ล้านตันก่อนเกิดสงครามยูเครน.-สำนักข่าวไทย

UN เร่งอพยพพลเรือนจากมาริอูโพล

สถานการณ์ในยูเครนยังคงต้องจับตาที่เมืองมาริอูโพล ที่รัสเซียพยายามรุกเข้าไปยึดที่มั่นสุดท้ายของทหารยูเครน และความพยายามของสหประชาชาติในการอพยพประชาชนที่ติดค้างอยู่

เลขาฯ ยูเอ็นยอมรับ “UNSC” ล้มเหลวเรื่องสงครามยูเครน

เคียฟ 29 เม.ย. – นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ยอมรับว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอสซี ประสบความล้มเหลวในการป้องกันหรือยุติสงครามในยูเครน ขณะที่กรุงเคียฟเกิดเหตุระเบิดขึ้น 2 ครั้งในระหว่างที่นายกูเตอร์เรสเดินทางเยือนยูเครน นายกูเตอร์เรสกล่าวในงานแถลงข่าวร่วมกับประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนเมื่อช่วงค่ำวันพฤหัสบดีว่า ยูเอ็นเอสซีประสบความล้มเหลวในการใช้อำนาจที่มีอยู่เพื่อป้องกันหรือยุติสงครามในยูเครน ซึ่งทำให้หลายคนผิดหวัง คับข้องใจ และโกรธเคือง แต่เขาขอยืนยันกับประธานาธิบดีเซเลนสกีและประชาชนยูเครนตรงนี้ว่า ยูเอ็นจะไม่ล้มเลิกความตั้งใจในการดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อยุติในสงครามครั้งนี้ ทั้งนี้ รัสเซียเป็น 1 ใน 5 ประเทศสมาชิกถาวรของยูเอ็นเอสซีและได้ใช้สิทธิยับยั้ง หรือวีโต้ (Veto) มติของยูเอ็นเอสซีที่เรียกร้องให้รัสเซียยุติการโจมตียูเครนมากกว่า 1 ครั้ง ทางด้านประธานาธิบดีเซเลนสกีแถลงว่า นายกูเตอร์เรสได้มีโอกาสลงพื้นที่สำรวจความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมสงครามของรัสเซียด้วยตาตัวเองเมื่อวันพฤหัสบดี พร้อมทั้งกล่าวหาการกระทำดังกล่าวของรัสเซียในยูเครนว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในขณะเดียวกัน นายกเทศมนตรีของกรุงเคียฟเผยว่า เกิดเหตุระเบิดขึ้น 2 ครั้งที่เขตเชฟเชนโกของกรุงเคียฟในขณะที่นายกูเตอร์เรสเดินทางเยือนยูเครน.-สำนักข่าวไทย

เลขาฯ ยูเอ็นลงพื้นที่สำรวจเมืองรอบกรุงเคียฟของยูเครน

เคียฟ 28 เม.ย. – นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ได้เดินทางไปสำรวจความเสียหายในหลายเมืองรอบกรุงเคียฟของยูเครน เช่น เมืองโบโรเดียนกาและเมืองบูจาที่ถูกกองทัพรัสเซียคุมพื้นที่หลายสัปดาห์ในช่วงเดือนมีนาคม พร้อมทั้งระบุว่า สงครามเป็นสิ่งชั่วร้ายและขอสนับสนุนการสืบสวนเรื่องนี้ของศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือไอซีซี บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า นายกูเตอร์เรสได้เดินทางไปสำรวจความเสียหายที่เมืองโบโรเดียนกา ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเคียฟ เป็นที่แรกในขณะที่ปฏิบัติภารกิจเดินทางเยือนยูเครนในวันนี้ โดยที่เมืองดังกล่าวเป็นเมืองที่ถูกกองทัพรัสเซียโจมตีทางอากาศและทิ้งระเบิดจนเสียหายหนัก นายกูเตอร์เรสกล่าวในระหว่างที่ยืนอยู่ใกล้ซากปรักหักพังของอาคารที่พักอาศัยบนถนนสายหนึ่งของเมืองโบโรเดียนกาว่า ซากปรักหักพังของอาคารที่พักทำให้เขาจินตนาการถึงภาพหลานสาวของตัวเองกำลังวิ่งหนีด้วยความหวาดกลัว การทำสงครามไม่ควรเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 และไม่มีใครยอมรับการทำสงครามในยุคสมัยนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นในเมืองนี้เป็นข้อพิสูจน์ชัดเจนว่าสงครามเป็นสิ่งชั่วร้าย และเขาขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากสงครามในครั้งนี้ จากนั้น นายกูเตอร์เรสได้เดินทางไปเมืองบูจาเพื่อสำรวจหลุมศพหมู่ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่หลังโบสถ์แห่งหนึ่งและฟังเจ้าหน้าที่ยูเครนเล่าถึงเหตุสังหารพลเรือนในเมืองนี้ของกองทัพรัสเซีย นายกูเตอร์เรสระบุว่า ที่แห่งนี้จะทำให้ทุกคนรู้ซึ้งถึงความสำคัญของการเดินหน้าสืบสวนเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด เขาขอสนับสนุนศาลอาญาระหว่างประเทศให้สืบสวนเรื่องนี้อย่างเต็มที่ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลรัสเซียให้ความร่วมมือกับไอซีซีด้วย.-สำนักข่าวไทย

เลขาฯ ยูเอ็นจะพบ “ปูติน” หารือเรื่องยูเครนวันนี้

มอสโก 26 เม.ย. – นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น มีกำหนดหารือร่วมกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียที่กรุงมอสโกวันนี้ แต่คาดว่าผลการประชุมอาจไม่มีความคืบหน้ามากนักเช่นเดียวกับการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียกับยูเครนหลายครั้งก่อนหน้านี้ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า การหารือร่วมกันระหว่างนายกูเตอร์เรสกับประธานาธิบดีปูตินในวันนี้จะเน้นไปที่สถานการณ์ในเมืองมารีอูปอล ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญทางตอนใต้ของยูเครนที่ถูกรัสเซียปิดล้อมมานานหลายสัปดาห์ แม้รัสเซียได้ประกาศชัยชนะที่เมืองนี้แล้ว แต่กองทัพรัสเซียก็ยังไม่อาจยึดโรงงานเหล็กอาซอฟสตอล ซึ่งเป็นฐานที่มั่นหลักสุดท้ายของกองทัพยูเครนได้ นอกจากนี้ นายกูเตอร์เรสยังมีกำหนดเดินทางเยือนกรุงเคียฟในวันพฤหัสบดีเพื่อพบหารือกับประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กองทัพยูเครนได้เผยเมื่อวันอังคารที่แล้วว่า กองทัพรัสเซียยังคงปิดล้อมโรงงานอาซอฟสตอลอย่างแน่นหนา และทางการยูเครนได้ขอให้นายกูเตอร์เรสรับประกันเรื่องการเปิดเส้นทางอพยพเพื่อช่วยพลเรือนที่หลบซ่อนอยู่ในโรงงานแห่งนี้ ในขณะเดียวกัน สหรัฐเตรียมเปิดการเจรจาด้านกลาโหมเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครนร่วมกับอีกหลายประเทศในวันนี้ โดยมีพลเอกลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในเยอรมนี การหารือเหล่านี้มีขึ้นในขณะที่นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของรัสเซีย ได้ออกมาเตือนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการเกิดสงครามโลกครั้งที่สามและตำหนิแนวทางของรัฐบาลยูเครนที่ทำให้การเจรจาสันติภาพไร้ความคืบหน้า อย่างไรก็ดี นายดมิโตร คูเลบา รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของยูเครน ได้กล่าวตอบโต้คำพูดของนายลาฟรอฟว่า รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียพยายามทำให้ทั้งโลกตกใจกลัวและเลิกสนับสนุนยูเครน. -สำนักข่าวไทย

กูเตียร์เรสแวะตุรกีก่อนไปรัสเซีย-ยูเครน

เลขาธิการสหประชาชาติ จะเยือนตุรกี ก่อนเริ่มภารกิจเดินทางไปรัสเซียและยูเครน เพื่อพยายามผลักดันให้เปิดเส้นทางอพยพ และเจรจาสันติภาพ

ยูเอ็นโหวตระงับสถานะสมาชิกรัสเซียในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน

นิวยอร์ก 8 เม.ย. – สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ลงมติระงับสถานะสมาชิกภาพของรัสเซียในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) หลังได้รับรายงานว่ารัสเซียได้กระทำการข่มเหงและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบในยูเครน และรัสเซียก็ประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในทันที สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งมีประเทศสมาชิก 47 ประเทศ ลงมติระงับสถานะสมาชิกภาพของรัสเซียในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ด้วยเสียงสนับสนุน 93 เสียง ขณะที่มี 24 ประเทศลงมติคัดค้าน และมี 58 ประเทศงดออกเสียง ประเทศที่ลงมติสนับสนุนการระงับสถานะสมาชิกภาพของรัสเซียในครั้งนี้นำโดยสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเมียนมา ส่วนประเทศที่คัดค้าน เช่น จีน ลาว และเวียดนาม ด้านไทยลงมติงดออกเสียงร่วมกับประเทศต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย กัมพูชา อินโดนีเซีย และอินเดีย นายเยนนาดี คุซมิน ผู้ช่วยทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติ หรือยูเอ็น กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการลงมติในครั้งนี้ว่า มติดังกล่าวเป็นขั้นตอนที่ผิดกฎหมายและมีแรงจูงใจทางการเมือง ก่อนที่จะประกาศว่า รัสเซียได้ตัดสินใจลาออกจากการเป็นสมาชิกภาพของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ขณะที่นายเซอร์กี คิสลิสยา […]

ผู้นำยูเครนแนะชาติตะวันตกแบนน้ำมันจากรัสเซียเต็มรูปแบบ

เคียฟ 7 เม.ย. – ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน รู้สึกยินดีที่ชาติตะวันตกได้ประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซีย แต่ระบุว่ามาตรการเหล่านี้ยังคงไม่เพียงพอ และต้องการให้ชาติตะวันตกสั่งห้ามนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ประธานาธิบดีเซเลนสกีแถลงผ่านคลิปวิดีโอล่าสุดว่า เขาขอเรียกร้องให้ชาติตะวันตกใช้มาตรการที่รุนแรงขึ้นและสั่งห้ามการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันมากเป็นอันดับสามของโลกและส่งออกน้ำมันกว่าครึ่งไปยังทวีปยุโรป การที่ชาติตะวันตกประสบความล้มเหลวในการลงมติร่วมกันเพื่อสั่งห้ามค้าขายกับรัสเซียจะยิ่งทำให้มีชาวยูเครนเสียชีวิตมากขึ้น ทั้งยังระบุว่า รัสเซียมีรายได้เข้าประเทศเป็นกอบเป็นกำจากการส่งออกน้ำมันจนทำให้รัสเซียไม่เห็นความจำเป็นของการเจรจาเพื่อสันติภาพอย่างจริงจัง และเขาขอยืนกรานให้ใช้มาตรการตัดธนาคารของรัสเซียออกจากระบบการเงินระหว่างประเทศโดยสิ้นเชิง ในขณะเดียวกัน องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น จะเปิดประชุมในวันนี้เพื่อลงมติว่า ควรขับรัสเซียพ้นการเป็นสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) หรือไม่ หลังมีรายงานระบุว่ากองทัพรัสเซียสังหารพลเรือนยูเครนอย่างโหดร้ายทารุณในหลายเมืองของยูเครนที่รัสเซียยึดไว้ โดยมีสหรัฐเป็นผู้เสนอให้ใช้แนวทางนี้หลังได้รับหลักฐานที่ชี้ว่ากองทัพรัสเซียได้สังหารพลเรือนหลายร้อยรายในเมืองบูจา ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเคียฟ สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานอ้างจดหมายที่ส่งถึงนักการทูตของประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ระบุว่า หากมีประเทศใดในประเทศสมาชิกคณะมนตรีฯ ทั้ง 47 ประเทศที่ต้องการขับรัสเซียพ้นจากการเป็นสมาชิก รัสเซียจะขึ้นบัญชีประเทศเหล่านั้นเป็นประเทศที่ไม่เป็นมิตรต่อรัสเซียทันที ขณะที่สำนักข่าวทาสส์ของรัสเซียรายงานอ้างแถลงการณ์ของหัวหน้าภารกิจสหประชาชาติของรัสเซียว่า หากประเทศสมาชิกลงมติขับรัสเซียพ้นจากการเป็นสมาชิกคณะมนตรีฯ กลุ่มชาติตะวันตกจะสามารถกำหนดแนวคิดและวิสัยทัศน์ด้านสิทธิมนุษยชนต่อประเทศอื่น ๆ ได้อย่างอิสระ ซึ่งจะส่งผลดีต่อกลุ่มชาติตะวันตกและผู้สนับสนุนที่เป็นพวกเดียวกันเท่านั้น.-สำนักข่าวไทย

1 6 7 8 9 10 38
...