
เผยไซโคลน “เฟรดดี” กระทบ 500,000 คน ในมาลาวี
สหประชาชาติกล่าววานนี้ว่า พายุไซโคลน เฟรดดี ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 460 รายในภาคใต้ของทวีปแอฟริกาและส่งผลกระทบกับประชาชนมากกว่า ครึ่งล้านคนในประเทศมาลาวี
สหประชาชาติกล่าววานนี้ว่า พายุไซโคลน เฟรดดี ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 460 รายในภาคใต้ของทวีปแอฟริกาและส่งผลกระทบกับประชาชนมากกว่า ครึ่งล้านคนในประเทศมาลาวี
รัฐบาลทหารเมียนมากล่าวโจมตีข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่าแสดงความเห็นไม่เหมาะสม หลังจากที่เขากล่าวว่า กองทัพเมียนมาอาจจะลงมือก่ออาชญากรรมสงครามในขณะที่ปราบปรามผู้ที่เห็นต่างและไม่ยอมรับการปกครองของรัฐบาลทหาร
โฟลเกอร์ เติร์ก (Volker Türk) ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าววานนี้เรียกร้องให้จีนลงมือดำเนินการเพื่อจัดการกับประเด็นที่น่ากังวลที่สุดในเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในมณฑลซินเจียง
นายอันโตนิโอ กูแตร์เรซ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติเดินทางถึงยูเครนแล้วเมื่อวานนี้ตามเวลาท้องถิ่นเพื่อพบกับประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ซึ่งเป็นการเยือนยูเครนครั้งที่ 3 ของนายกูแตร์เรซ นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบ
ชาติสมาชิกองค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น สามารถตกลงกันได้ในที่สุดเกี่ยวกับถ้อยคำในสนธิสัญญาระหว่างประเทศฉบับแรกในการปกป้องทะเลหลวง หลังจากใช้เวลาในการเจรจามายาวนานหลายปี
สหประชาชาติลงมติเมื่อวานนี้ตามเวลาในนครนิวยอร์คของสหรัฐ เรียกร้องให้รัสเซียถอนทหารออกจากยูเครนในทันทีแบบไม่มีเงื่อนไข ในขณะที่ในวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 ปีที่รัสเซียรุกรานยูเครน
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN General Assembly) จะเปิดประชุมที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ในนครนิวยอร์คในวันนี้ ขณะที่อีก 2 วัน จะครบรอบ 1 ปี ที่รัสเซียรุกรานยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ โดยรัฐบาลยูเครนและพันธมิตรคาดหวังว่า จะได้รับเสียงสนับสนุนจากที่ประชุมในการลงมติเรียกร้องความยุติธรรมและสันติภาพที่ยั่งยืน
ยอดผู้เสียขีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงที่ตุรกีและซีเรียเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมายังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ทะลุเกิน 21,000 รายแล้ว ในขณะที่ความช่วยเหลือชุดแรกจากสหประชาชาติส่งไปถึงพื้นที่ในซีเรียที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มกบฎแล้วแต่ความหวังเริ่มลดน้อยลงทุกทีในการค้นหาผู้รอดชีวิต
สหประชาชาติ ชี้หลังกองทัพเมียนมาทำรัฐประหารมาได้ 2 ปี สถานการณ์ในเมียนมามีแต่ทรุดลงและขณะนี้เข้าขั้นหายนะแล้ว
ชาร์ม เอล เชค 20 พ.ย.- การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 หรือคอป 27 (COP27) ปิดฉากลงแล้ว พร้อมกับข้อตกลงประวัติศาสตร์ตั้งกองทุนเยียวยาความสูญเสียและเสียหายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมนาน 2 สัปดาห์ที่เมืองชาร์ม เอล เชคของอียิปต์เสร็จสิ้นในวันนี้ ล่าช้าจากเดิมที่กำหนดเสร็จสิ้นในวันศุกร์ ผู้ร่วมประชุมที่ดูเหนื่อยล้าพากันปรบมือเมื่อข้อเสนอตั้งกองทุนเยียวยาได้รับการรับรองเมื่อเข้าสู่เช้าวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากมีการเจรจาต่อรองกันอย่างมาราธอน เดิมข้อเสนอนี้แทบไม่มีการพูดถึงในวาระการประชุม แต่เริ่มได้รับความสำคัญมากขึ้นในระหว่างการประชุม เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาเดินหน้าผลักดันอย่างเต็มที่ จนกระทั่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศร่ำรวยที่ก่อมลพิษและกังวลมาโดยตลอดว่าจะต้องรับผิดชอบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด พันธมิตรรัฐเกาะขนาดเล็กที่ประกอบด้วยประเทศหมู่เกาะที่เสี่ยงหายไปจากแผนที่โลกเพราะระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นแถลงว่า เป็นข้อตกลงประวัติศาสตร์ที่ใช้เวลาเรียกร้องนานถึง 30 ปี เนื้อหาของข้อตกลงระบุว่า กองทุนเยียวยานี้จะจัดสรรให้เฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษต่อผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเนื้อหาตามที่สหภาพยุโรปหรืออียูเรียกร้อง อียูยังต้องการให้ขยายฐานประเทศที่ต้องจ่ายเงินสดสมทบกองทุน เป็นการส่งสัญญาณว่าต้องการให้ครอบคลุมจีนและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีฐานะดีด้วย คณะกรรมการเปลี่ยนผ่านจะแก้ไขประเด็นที่ยังเป็นปัญหาและนำเสนอรายงานต่อที่ประชุมคอป 28 ที่ดูไบในปีหน้า นายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติกล่าวว่า ที่ประชุมคอปได้เดินหน้าไปสู่ความเป็นธรรมอย่างสำคัญด้วยการตั้งกองทุนเยียวยา แต่ยังไม่สามารถผลักดันเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน แถลงการณ์ปิดการประชุมครอบคลุมเรื่องความพยายามต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมายจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และพูดเรื่องพลังงานหมุนเวียนเป็นครั้งแรก พร้อมกับย้ำเรื่องที่เคยเรียกร้องให้เร่งยกเลิกการใช้พลังงานถ่านหินและการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ไม่ได้มีเป้าหมายใดไกลไปกว่าที่ประชุมคอป 26 ที่กลาสโกว์ของสกอต์แลนด์เมื่อปีก่อน.-สำนักข่าวไทย
สหประชาชาติคาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 8 พันล้านคนในวันนี้ ในขณะที่อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศสำคัญที่ทำให้จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นกลับมีอัตราการเพิ่มของประชากรที่ลดลง
นายอันโตนิโอ กูแตเรส เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ กล่าววันนี้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาหันกลับมาเดินในเส้นทางประชาธิปไตยในทันที โดยกล่าวว่า เป็นหนทางเดียวที่จะหยุดยั้ง “ฝันร้ายที่ไม่จบสิ้น” ที่กำลังรุมเร้าเมียนมาอยู่ในขณะนี้