สธ. เข้าร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 75

สวิตเซอร์แลนด์ 28 พ.ค. – กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 75 (WHA75) ภายใต้หัวข้อ “Health for Peace and Peace for Health” ชี้นโยบายประเทศไทยดูแลทั้งสุขภาพกายและจิตใจเพราะ “ความเข้มแข็งทางใจ ทำให้ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ได้”


วันนี้ (28 พฤษภาคม 2565) จากการที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต พร้อมกับคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 75 (75th World Health Assembly – WHA75) ในระหว่างวันที่ 22-28 พฤษภาคม 2565 ณ ปาเล เด นาซียง ที่ทำการสำนักงานสหประชาชาติ ประจำนครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในการพัฒนาอนุสัญญาองค์การอนามัยโลก หรือพันธกรณี/ข้อตกลงในโลกภายใต้หัวข้อ “Health for Peace and Peace for Health” มุ่งใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ ข้อมูล เทคโนโลยีและนวัตกรรม ฟื้นฟูสุขภาพและการสาธารณสุขจากโลกที่ถูกคุกคามจากความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ วิกฤติสภาพภูมิอากาศ และการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 นานาประเทศย้ำถึงความสำคัญของสุขภาพจิต โดยเฉพาะความเข้มแข็งทางจิตใจ (Resilience) เพื่อฝ่าฟันวิกฤตต่าง ๆ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยมีนโยบายสาธารณสุขที่ให้ความสำคัญกับการดูแลด้านสุขภาพประชาชนอย่างเท่าเทียม ด้วยนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage : UHC) ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่สังคมที่สงบสุข ซึ่งในช่วงแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19รัฐบาลไทยได้ให้การเข้าถึงทั้งการตรวจและการรักษา ให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนทุกคนที่อาศัยในประเทศไทย ซึ่งในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ไม่ใช่เพียงแค่สุขภาพกายเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงการดูแลทางจิตใจด้วย โดยมี “ความหวัง” เป็นองค์ประกอบสำคัญของ “การสร้างความเข้มแข็งทางใจ ให้ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ได้” ทั้งนี้การสร้างความเข้มแข็งทางใจ เป็นหลักการสำคัญของนโยบายการดูแลจิตใจประชาชนของกรมสุขภาพจิต ในช่วงสถานการณ์วิกฤตที่ผ่านมาอีกด้วย


แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการติดตามระดับความเข้มแข็งทางใจของ ประชาชนไทยต่อเนื่อง จากระบบการประเมินผ่าน Mental Health Check In หรือ www.วัดใจ.com ซึ่งเป็น Application Online และครอบคลุมประชาชนกว่าสี่หมื่นคนทั่วประเทศ พบว่า ในช่วงมกราคม ถึง พฤษภาคม 2565 ประชาชน คนไทยมีระดับความเข้มแข็งทางใจดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง มกราคม ถึง ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยพบว่า ผู้ที่มีความเข้มแข็งทางใจระดับต่ำลดลงจากร้อยละ 6.5 เป็นร้อยละ 2.3 และผู้ที่มีความเข้มแข็งทางใจในระดับสูงขึ้น โดยเพิ่มจากร้อยละ 67.2 เป็นร้อยละ 71.9 ซึ่งผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของประชาชนคนไทยในการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ โดยการสร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจของแต่ละบุคคลนั้น ได้แก่ องค์ประกอบสำคัญสามข้อคือ การมองโลกในแง่ดีมีความหวัง การมีสัมพันธภาพดีซึ่งทำให้เกิดการสนับสนุนจากคนรอบข้าง และการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อการจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ประชาชนสามารถศึกษาข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิตที่ www.dmh.go.th .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 2568

“แพทองธาร” นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2568 “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” ระบุรัฐบาลเห็นคุณค่าในตัวเด็กๆ ทุกคน ขอให้ปรับตัวเรียนรู้ ให้เข้ากับสถานการณ์

การจราจรมุ่งหน้าภาคอีสานเริ่มหนาแน่นตั้งแต่เช้า

คนแห่เดินทางกลับฉลองปีใหม่ เส้นทางมุ่งหน้าภาคอีสานเริ่มหนาแน่นตั้งแต่เช้า แต่ยังเคลื่อนตัวได้ ยังไม่เปิดช่องทางพิเศษ

จุดเทียนรำลึก 20 ปี สึนามิ

ค่ำคืนนี้ ที่อนุสรณ์สถานสึนามิบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สว่างไสวจากแสงเทียนนับพันเล่มที่ถูกจุดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่รักซึ่งจากไปในเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 2547 จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบ 20 ปีเต็ม