fbpx

วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสถึงไทยแล้ว

กรุงเทพฯ 30 ก.ค.-วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสที่บริจาคโดยสหรัฐฯ ถึงไทยแล้ว โดย “อนุทิน” พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเป็นสักขีพยานการรับมอบ วัคซีน Pfizer ถึงไทยแล้ว เมื่อเวลา 04.30 น โดยสายการบิน AeroLogic เที่ยวบิน 35530 ซึ่งมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการต่างประเทศ มาเป็นสักขีพยานในการรับมอบ จากนั้นได้เคลื่อนย้ายวัคซีน ไปยัง Zuellig Warehouse เพื่อเก็บวัคซีนต่อไป เข้าห้องเก็บวัคซีน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับมอบ 1.5 ล้านโดส จะต้องนำสู่เข้ากระบวนการตรวจสอบคุณภาพ และระหว่างนั้น ดำเนินการคู่ขนานคืออบรมการฉีดวัคซีน เนื่องจากเป็นวัคซีนแบบชนิดเข้มข้น เบื้องต้นตั้งเป้าหลังอบรมเสร็จแล้วดำเนินการฉีดให้กับบุคลากรด่านหน้าจำนวนทั้งสิ้น 700,000 คน ร่วมกับกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค และผู้สูงอายุ รวมถึงเด็กอายุ 12 ปีที่มีโรคประจำตัว […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนที่ดีจะไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหรือเสียชีวิต จริงหรือ?

30 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vistinomer (นอร์ธ มาซิโดเนีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: อาการข้างเคียงจากการใช้ยาเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับยาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์, สมุนไพร หรือแม้แต่วิตามิน อาการข้างเคียงจากการใช้ยาไม่อาจเทียบได้กับผลกระทบจากโรคระบาดที่ป้องกันได้จากวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศนอร์ธ มาซิโดเนีย โดยอ้างว่าวัคซีนที่ดีจะไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหรือทำให้เสียชีวิต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: อาการข้างเคียงจากการใช้ยาเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับยาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์, สมุนไพร หรือแม้แต่วิตามิน ที่มีโอกาสทำให้ผู้รับยาเกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งสิ้น แม้แต่ยาแก้ปวดชนิดแอสไพริน ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตสำหรับคนที่แพ้ยาชนิดนี้ การพัฒนายาแต่ละชนิดมีความซับซ้อน เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีการตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกัน การผลิตยาเพื่อรักษาอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก บางครั้งการใช้ยาต่างชนิดในเวลาเดียวกัน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา มีการประเมินว่าในแต่ละปีมีชาวออสเตรเลียประมาณ 230,000 คน ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจากอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ส่วนยาปฏิชีวนะก็มีอัตราการเกิดอาการแพ้ยาประมาณ 5% ในกลุ่มประชากรทั้งหมด แม้อาการข้างเคียงของยาและวัคซีนจะเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่ความรุนแรงก็ไม่อาจเทียบได้กับผลกระทบจากโรคระบาดที่ป้องกันได้จากวัคซีน โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกเกือบ 200 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า […]

กรมสุขภาพจิตแนะเสพสื่อเรื่องวัคซีนไม่ให้ป่วยใจ

สถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาด หลายคนอาจมีความเครียดในการวางแผนการปฏิบัติตนใช้ชีวิตประจำวัน ความกังวลใจเข้ารับวัคซีน ทางกรมสุขภาพจิตมีคำแนะนำรับมือดูแลจิตใจและการเสพสื่อในเรื่องวัคซีนไม่ให้ป่วยใจ เพื่อผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ถึงไทยพรุ่งนี้เช้า

อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยพรุ่งนี้ (30 ก.ค.) วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ถึงไทย 04.00 น. จากนั้นจัดเก็บในคลังที่ควบคุมอุณหภูมิ –70 องศาฯ

แอสตราฯ อิงวารสารการแพทย์ยันความปลอดภัยวัคซีน

สำนักข่าวไทย 29 ก.ค- แอสตราฯ เผยนำข้อมูลวารสารการแพทย์ ยันความปลอดภัยของวัคซีน โดยการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังรับวัคซีนเข็ม 2 เท่ากับภาวะปกติทั่วไป กับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceuticals) บริษัท แอสตร้าเซเนก้า กล่าวว่า ข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ The Lancet วันนี้ แสดงให้เห็นอัตราของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ(thrombocytopenia syndrome หรือ TTS) หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 2 พบผู้ที่เกิดภาวะลิ่ม TTS 2.3 ใน 1,000,000 คน และพบผู้ที่เกิดภาวะTTS 8.1 ใน 1,000,000 คน หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก1 โดยอัตราการเกิดภาวะ TTS หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2ไม่แตกต่างจากอัตราที่พบในประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน ผลการวิเคราะห์นี้ได้สนับสนุนการฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็มตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา เพื่อช่วยป้องกันโรคโควิด -19 รวมถึงไวรัสสายพันธุ์ต่างๆที่พบมากขึ้น เซอร์ เมเน กล่าวว่า การวิเคราะห์นี้ดำเนินการโดยใช้ฐานข้อมูลความปลอดภัยทั่วโลกของแอสตร้าเซนเนก้า […]

เผยแอสตรา ฯ เข็ม 2 ไม่เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน

ผลการศีกษาที่เผยแพร่ในวันนี้แสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของแอสตราเซเนกาเข็มที่ 2 แล้วไม่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการลิ่มเลือดอุดตันชนิดหายากที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้คลายความกังวลในเรื่องของผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

รัฐบาลทหารเมียนมาขอความร่วมมือนานาชาติแก้วิกฤติโควิด

รัฐบาลทหารเมียนมากำลังแสวงหาความร่วมมือกับชุมชนระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้นในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะที่เมียนมากำลังเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

ชัวร์ก่อนแชร์: ชิปในวัคซีนโควิด 19 ทำให้ต้นแขนจุดหลอดไฟติด จริงหรือ?

28 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ไม่มีไมโครชิปที่ช่วยในการจุดหลอดไฟ ปัจจุบันมีหลอดไฟหลายชนิดที่ให้แสงสว่างโดยไม่ต้องต่อสายไฟ เช่นหลอดไฟที่มีแบตเตอรี่ในตัวหรือมีสวิทช์เปิดปิดที่ขั้วหลอดไฟ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าไมโครชิปที่อยู่ในวัคซีนโควิด 19 ทำให้ต้นแขนจุดหลอดไฟติด โดยมีคลิปวิดีโอสาธิตการจุดหลอดไฟด้วยการแนบที่ต้นแขนของผู้หญิงที่อ้างว่าฉีดวัคซีนโควิด 19 มาแล้ว FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Vox Check ไม่อาจยืนยันได้ว่าผู้หญิงที่อยู่ในคลิปวิดีโอเคยฉีดวัคซีนโควิด 19 มาแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ยังไม่พบว่าส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 มีไมโครชิปที่ช่วยในการจุดหลอดไฟตามที่กล่าวอ้าง ปัจจุบันมีหลอดไฟหลายชนิดที่สามารถให้แสงสว่างโดยไม่ต้องต่อสายไฟ เช่นหลอดไฟที่มีแบตเตอรี่ในตัว หลอดไฟบางชนิดยังมีสวิทช์เปิดปิดที่ขั้วหลอดไฟ ซึ่งสามารถเปิดไฟได้เพียงแค่มือสัมผัส รวมถึงหลอดไฟที่สั่งการเปิดปิดด้วยรีโมท คอนโทรล นอกจากนี้ ในอินเทอร์เน็ตยังมีคลิปวิดีโอมากมายที่สาธิตการประดิษฐ์หลอดไฟที่ให้แสงสว่างเมื่อสัมผัสโดนผิวหนังอีกด้วย ข้อมูลอ้างอิง: https://voxukraine.org/nepravda-pry-kontakti-z-mistsem-vaktsynatsiyi-mozhe-zagoritys-lampa/ หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”LINE :: @SureAndShare หรือคลิก […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ทำให้ร่างกายรับส่ง Bluetooth ได้ จริงหรือ?

27 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ไมโครชิปมีขนาดความยาว 0.5 นิ้ว ใหญ่เกินกว่าจะผ่านรูเข็มฉีดยาได้ ส่วนประกอบที่ AstraZeneca เปิดเผย ไม่มีไมโครชิปอยู่ในวัคซีนอย่างที่กล่าวอ้าง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านทาง TikTok โดยผู้ที่อ้างว่าเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca บอกว่าในวัคซีนมีไมโครชิป เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว ทำให้ตัวเขาเชื่อมต่อสัญญาณ Bluetooth กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ และมีข้อความแสดงการเชื่อมต่อที่ระบุว่า Connecting to AstraZeneca_ChAdOx1-S FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ในความเป็นจริงแล้ว ข้อความแสดงการเชื่อมต่อสัญญาณ Bluetooth บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกสามารถตั้งชื่ออย่างไรก็ได้ ไม่ใช่สิ่งยืนยันว่าในวัคซีน AstraZeneca มีไมโครชิปที่ส่งสัญญาณ Bluetooth ได้ บริษัท AstraZeneca เปิดเผยส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 ให้สาธารณชนสามารถสืบค้นได้ ซึ่งยืนยันได้ว่าไม่มีไมโครชิปเป็นส่วนประกอบอย่างที่กล่าวอ้าง […]

ครม.อนุมัติ 13,026 ล้านบาท ให้ สปสช. ดูแลผู้ป่วยโควิด

ครม.อนุมัติ 13,026 ล้านบาท ให้ สปสช. ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และเยียวยาผู้เสียหายจากวัคซีนโควิด-19 ในโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เกาหลีใต้เริ่มฉีดวัคซีนให้พนักงานโรงงานผลิตชิป

เกาหลีใต้เริ่มฉีดวัคซีนป้องการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับพนักงานที่ทำงานในโรงงานหลักในการผลิตชิป หรือวงจรรวมของคอมพิวเตอร์และธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในวันนี้ เพื่อลดความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาการหยุดชะงักของการผลิตให้น้อยที่สุด

1 53 54 55 56 57 137
...